ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาความงาม

โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
เอกภาพ (The Unities)
ความเป็นสากล (universality)
ความแตกต่างระหว่าง”กวีนิพนธ์”กับ”ประวัติศาสตร์”
ประวัติของอริสโตเติล
โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม
การเรียนรู้และการอนุมาน (learning and inference)
ความรู้สึกสงสารและความกลัว (pity and fear)
katharsis (catharsis) – การระบายอารมณ์ความรู้สึก
หนังสือเล่มที่สองของ Poetics ที่หายไป
หัสนาฏกรรม
เปรียบเทียบระหว่างละครโศกนาฏกรรมกับมหากาพย์

โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม

สำหรับอริสโตเติล “การจำลอง”(mimesis-การเลียนแบบ/สำเนา) ได้อธิบายถึงกระบวนการอันหนึ่งที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ โดยรูปแบบทางศิลปะที่แตกต่างของวิธีการที่ต่างไปเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน(representation) กริยาท่าทางหรือวิธีการที่ต่างไปของการสื่อสารตัวแทนนั้นสู่บรรดาผู้รับ และระดับที่แตกต่างของพฤติกรรมทางศีลธรรมและจริยธรรมคือเรื่องราว(วัตถุประสงค์)ของการเป็นตัวแทนทางศิลปะ (For Aristotle, mimesis describes a process involving the use by different art forms of different means of representation, different manners of communicating that representation to an audience, and different levels of moral and ethical behavior as objects of the artistic representation.)

ด้วยเหตุนี้ อริสโตเติลจึงจำแนกระหว่างเรื่องราว”โศกนาฏกรรม” กับ “หัสนาฏกรรม” โดยสาระสำคัญในพื้นฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่า …
-โศกนาฏกรรมเป็นตัวแทนของ”ความดีทางศีลธรรม”(morally good) หรือ “คนที่สูงส่ง”(noble)
-ขณะที่หัสนาฏกรรมได้ถ่ายทอด”ความชั่วช้า/ต่ำทราม”(ignoble) หรือตัวละครที่มี”ความบกพร่องทางศีลธรรม”(morally defective)

แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบทุกชนิดของการเลียนแบบ(mimesis-การจำลอง) ทั้ง”โศกนาฏกรรม”และ”หัสนาฏกรรม” ดำรงอยู่ เนื่องจากแรงกระตุ้นหรือแรงผลักดันโดยพื้นฐานด้านสติปัญญาซึ่งถูกรู้สึกโดยมนุษย์ทั้งมวล



ในเรื่อง Metaphysics อริสโตเติลได้อธิบายถึงแรงผลักดันนี้ในฐานะ”ความปรารถนาที่จะรู้”ของมนุษยชาติ(humanity's "desire to know") และในบทที่ 4 ของเรื่อง Poetics เขาได้ชี้แจงถึงมันด้วยเรื่องความรู้สึกพึงพอใจโดยสาระ ซึ่งเราในฐานะมนุษย์สามารถค้นพบได้ในการจำลองแบบ(การเลียนแบบ – mimesis) ความพอใจเกี่ยวกับ”การเรียนรู้และการอนุมาน(learning and inference)

กวีนิพนธ์สำคัญกว่าประวัติศาสตร์

ยิ่งไปกว่านั้นในบทที่ 14 อริสโตเติลยังกล่าวว่า กวีนิพนธ์โศกนาฏกรรมจักต้องสร้างความพึงพอใจขึ้นมาจากความรู้สึกสงสารและความกลัว โดยผ่านการเลียนแบบ โดยการเตือนเราอีกครั้งถึงความพึงพอใจทางสติปัญญาที่ถูกทำให้เกิดขึ้นโดยการเลียนแบบโศกนาฏกรรม. ในบทที่ 9 เขายืนยันว่า poetry "is more philosophical and more significant than history" (กวีนิพนธ์ “เป็นเรื่องทางปรัชญาและมีนัยสำคัญกว่าประวัติศาสตร์”) ทั้งนี้เพราะเป้าหมายของมันคือการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เป็นสากล ขณะที่ประวัติศาสตร์เป็นการแสดงออกของสิ่งเฉพาะ(เหตุการณ์เฉพาะ)ในฐานะเรื่องราวของมัน ในการเน้นไปที่มิติทางสติปัญญาและปรัชญาเกี่ยวกับการจำลอง(เลียนแบบ) อริสโตเติลจึงมีทัศนะที่ขัดแย้งโดยตรงกับเพลโตที่มองเรื่องความเสื่อมหรือความเลวร้ายของศิลปะ ในฐานะแรงดึงดูดใจที่ด้อยค่าเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์

จุดสนใจหลักๆ ของอริสโตเติลในเรื่อง Poetics คือเรื่องละครโศกนาฏกรรม แต่เขายังได้แสดงความคิดเห็นที่สำคัญกับเรื่องของหัสนาฏกรรมและมหากาพย์ด้วย เงื่อนไขในเชิงทฤษฎีเบื้องต้นต่างๆ เกี่ยวกับธรรมชาติอันเป็นสาระสำคัญของการเลียนแบบ(mimesis-การจำลอง) จักต้องประยุกต์ใช้กับวรรณคดีทุกชนิด(โศกนาฏกรรม, หัสนาฏกรรม, มหากาพย์) และรูปแบบของการเลียนแบบทั้งหมด(ดนตรี, การร่ายรำ, จิตรกรรม, ประติมากรรม ฯลฯ)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย