ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
เอกภาพ (The Unities)
ความเป็นสากล (universality)
ความแตกต่างระหว่างกวีนิพนธ์กับประวัติศาสตร์
ประวัติของอริสโตเติล
โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม
การเรียนรู้และการอนุมาน (learning and inference)
ความรู้สึกสงสารและความกลัว (pity and fear)
katharsis (catharsis) การระบายอารมณ์ความรู้สึก
หนังสือเล่มที่สองของ Poetics ที่หายไป
หัสนาฏกรรม
เปรียบเทียบระหว่างละครโศกนาฏกรรมกับมหากาพย์
โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
แม้ Plato และ Aristotle จะมีแนวคิดทางปรัชญาแตกต่างกัน
แต่ความต่างนั้นไม่ควรจะถูกแสดงให้เกินเลยไป เพราะทั้ง Plato และ Artistotle
เชื่อว่า ในแก่นสารของเหตุผลอันไม่เปลี่ยนแปลง หรือแบบ (Forms),
ได้ให้รูปร่างสรรพสิ่งที่เรารู้จัก
ทั้งคู่เชื่อว่าไม่มีสิ่งใดสามารถถูกทำความเข้าใจได้โดยปราศจากความเข้าใจรูปทรงของมัน
(nothing can be understood without grasping its form.) คำว่า "information"
(ข้อมูล-ความรู้) สืบทอดมาจากปรัชญาของพวกเขา กล่าวตามตัวอักษร
มันหมายถึงการจับเอารูปทรงของบางสิ่งเข้ามาในใจ (taking the form of something into
one's mind), และปล่อยให้รูปทรงนั้นก่อรูปร่างในจิตใจ
Aristotle ต่างจาก
Plato ในสิ่งที่เขาเรียกว่าการแบ่งแยกเกี่ยวกับแบบต่างๆ(the separation of the
forms.) Plato ยืนยันว่าแบบ (Forms) คือสัจจะที่แท้จริง(true reality),
และโลกคือปรากฏการณ์ที่จำลองมาจากแบบเหล่านั้น. ส่วน Aristotle ถือว่าแบบ (Forms)
ไม่เคยแยกออกจากสิ่งต่างๆ ในวิธีการนี้. ข้อยกเว้นหนึ่งสำหรับเรื่องดังกล่าวคือ
สิ่งที่เคลื่อนไหวที่ไม่ถูกเคลื่อนไหว(unmoved
Mover-ความเคลื่อนไหวในความนิ่งสงบ) ซึ่งคือแบบอันบริสุทธิ์
คือสิ่งซึ่งสรรพสิ่งพยายามดิ้นรนอย่างหนัก
สรรพสิ่งที่เราคุ้นเคยซึ่งถูกสร้างขึ้นจากสสารได้รับการก่อรูปให้เป็นนั่นเป็นนี่
ไม่มีรูปแบบใดที่ปราศจากเนื้อหา และไม่มีเนื้อหาใดที่ปราศจากรูปทรง
รูปทรงอันเป็นแก่นของสรรพสิ่งได้กำหนดนิยามว่ามันคืออะไร
และตระเตรียมพลังขับเคลื่อนสำหรับการดำรงอยู่และการพัฒนาของสิ่งนั้น
ทุกสิ่งพยายามดิ้นรนที่จะงอกงามไปสู่(grow into) รูปแบบของมัน
และรูปแบบได้กำหนดนิยามให้สิ่งนั้นสามารถเป็นไปตามศักยภาพ ยกตัวอย่างเช่น
ผลของต้นโอ๊กมีแบบของต้นโอ๊กอยู่ ซึ่งการที่มันมีรูปทรงนั้น
แน่นอนมิได้มาจากการจ้องมองไปที่มัน แต่มันเป็นไปภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ต่างๆ
ที่ถูกต้อง ต้นโอ๊กคือสิ่งที่ผลต้นโอ๊กจะกลายเป็น
อริสโตเติล: ศิลปะเลียนแบบอะไร
Aristotle
ได้ใช้เวลากับเรื่องของศิลปะและเปลี่ยนแปลงมันอย่างจริงจังกว่า Plato.
ไม่ต้องประหลาดใจว่า เขาค่อนข้างเป็นมิตรกับความลุ่มหลงต่างๆ มากกว่า Plato ด้วย
แม้ว่าเขาจักตระหนักว่า ความดีทางศีลธรรม
คืออุปนิสัยอันหลากหลายที่ถูกควบคุมด้วยเหตุผล เหนืออารมณ์ความรู้สึกหรือกิเลส
คล้ายคลึงกับ Plato, Aristotle คิดว่าศิลปะเกี่ยวข้องกับการเลียนแบบ[imitation]
(mimesis-การสำเนาหรือคัดลอก), แม้ว่าในประเด็นนี้เช่นเดียวกับอีกหลายคน
เขามีความยืดหยุ่นและยินยอมให้สำหรับข้อยกเว้นต่างๆ เขายังคิดมากกว่า Plato
ในเรื่องเกี่ยวกับคำถามที่ว่า ศิลปะเลียนแบบอะไร(what art imitated).
ยกตัวอย่างเช่น เขากล่าวว่า โศกนาฏกรรมคือการเลียนแบบชนิดหนึ่ง ซึ่งมิใช่ตัวบุคคล
แต่เป็นท่าทีและชีวิต, ทั้งความสุขและความทุกข์โศก(Poetics 1451b) ด้วยเหตุนี้
เขาจึงเอนเอียงไปสู่ทฤษฎีศิลปะในฐานะการเลียนแบบโลกอุดมคติ (art as imitation of
the ideal) ซึ่งเป็นหลักการที่ Plato ได้พัฒนาขึ้น แต่ไม่เคยทำ
Poetics
Aristotle
การระบายอารมณ์ความรู้สึก (Catharsis - katharsis)
แนวคิดต่อไปนี้ที่เชื่อมโยงกับศิลปะได้รับการพัฒนาขึ้นในงาน Poetics ของ Aristotle.
สำหรับละครกรีกเป็นสิ่งที่ค่อนข้างหลีกเลี่ยงกัน ดังที่ Plato ทำ,
เนื่องจากการที่ละครได้ไปปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ (กิเลส) แต่ Aristotle
กลับโอบกอดคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ไว้. หนึ่งในแก่นสารทางสุนทรียศาสตร์ของเขาก็คือ
ทฤษฎีเกี่ยวกับ catharsis (การระบายถ่ายท้อง การปลดเปลื้องอารมณ์) หรือ
การชำระล้างอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ (ผ่านความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ
และความกลัว)(through pity and fear) ซึ่งถูกทำให้บรรลุโดยละครโศกนาฏกรรม
อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้พัฒนาทฤษฎีไปไกล (เพียงปรากฏในข้อความไม่กี่บรรทัดในเรื่อง
Poetics) แต่กลับมีอิทธิพลอย่างมาก. ดูเหมือน Aristotle มีความเชื่อว่า
การระบายถ่ายเททางอารมณ์ความรู้สึกนี้(emotional katharsis) เป็นสิ่งที่ดี
และด้วยเหตุดังนั้น จึงดูประหนึ่งว่าเขาได้โอบรัดแง่มุมหนึ่งของศิลปะไว้ ขณะที่
Plato ปฏิเสธ