วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี
ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
ตอนที่ 7
พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย
ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน
ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพลฯ
ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
สมเด็จพระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า พระองค์เตรียมทัพจะไปตีเขมรแต่
ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า จึงมีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500
คน ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพิน ตัดสะพานให้ขาด
จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้ พอรับสั่งเสร็จ
ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี
เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลและถวายสารให้ทรงทราบว่ากองทัพมอญลาดตระเวน
เข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญ สมเด็จพระนเรศวรโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก
ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ
ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกนอกกรุงศรีอยุธยา
ซึ่งตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น
เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา จำนวน 23 หัวเมืองใต้ เป็นทัพหน้า
ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ
โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง
แม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย
โดยตั้งค่ายแบบพยุหไกรสร(สีหนาม)
ชัยภูมิพยุหะ หมายถึง
การจัดตั้งค่ายหรือการสังเกตภูมิประเทศที่จะตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงคราม มีดังนี้
1. ครุฑนาม ตั้งค่ายบริเวณที่มีจอมปลวกและมีต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น
2. พยัคฆนาม ตั้งค่ายบริเวณแนวป่าริมทาง
3. สีหนาม
ตั้งค่ายบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่ 3 ต้นเรียงกันขึ้นบนภูเขาหรือจอมปลวก
4. สุนัขนาม ตั้งค่ายตามรายทางใกล้บ้านคน
5. มุสิกนาม ตั้งค่ายบริเวณที่เป็นดินโพรง(ดินโป่ง)
6. อัชนาม ตั้งค่ายกลางทุ่งหญ้าที่เลี้ยงสัตว์
7. นาคนาม
ตั้งค่ายใกล้ห้วย คลองน้ำไหล
8. คชนาม ตั้งค่ายบริเวณที่มีหญ้า ป่าไผ่หรือป่าหนาม