วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี
ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
ตอนที่ 7
พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย
ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน
ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพลฯ
ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ฝ่ายนครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาสวรรคต พระราชโอรส คือพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ ควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมือง ขุนนางต่างเห็นชอบตามพระราชดำริ จึงมีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่ห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์กำลังมีเคราะห์ถึงตาย พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า กษัตริย์อยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ กล้าหาญทำศึกไม่ต้องให้พระบิดาใช้วาน มีแต่จะห้ามปรามไม่ให้ทำศึก ถ้าพระมหา อุปราชาเกรงว่าเคราะห์ร้ายให้เอาผ้าสตรีมานุ่งจะได้หมดเคราะห์ พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการมาก จึงทูลลา พระบิดาแล้วเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วพระราชทานโอวาทในการทำสงคราม 8 ประการ
1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)
2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ
ทำนา)
3. รู้จักเอาใจทหารให้ฮึกเหิมอยู่ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)
4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)
5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)
6. รู้หลักการตั้งค่ายตามพิชัยสงคราม (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)
7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า
(หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)
8. อย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
พระมหาอุปราชาทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว
กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่ง
ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปทันที