วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี
ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ
ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ
ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
ตอนที่ 7
พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย
ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน
ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพลฯ
ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย
ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร
ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ
ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
พระมหาอุปราชายกทัพผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ทรงรำพันถึงนางสนมว่า
เสด็จมาลำพังพระองค์เดียวเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้านัก
เมื่อทรงชมต้นไม้และดอกไม้ที่ทรงพบเห็นระหว่างทางทำให้เบิกบานพระทัยขึ้นมาบ้าง
แต่ก็ยังคิดถึงนางสนมกำนัลทั้งหลาย
ทรงเห็นต้นสลัดไดทรงดำริถึงสาเหตุที่ต้องจากนางมาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก
เห็นต้นสละเหมือนพระองค์สละนางมา
เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้เหมือนใจของพระองค์ที่ระกำเพราะคิดถึงนาง
เห็นดอกสายหยุดซึ่งกลิ่นหอมจะหมดไปเมื่อเวลาสาย
ต่างจากใจของพระองค์แม้เวลาผ่านไปกี่วันกี่คืน มีแต่ความทุกข์คิดถึงนางทุกค่ำเช้า
ไม่อาจหยุดรักนางได้
ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ
ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่กษัตริย์ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าพระมหาอุปราชายกทัพมา
กลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรี
เจ้าเมืองทราบข่าวศึกปรึกษากันแล้วเห็นว่ากำลังทหารมีน้อย
คงต้านไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่า ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชามาถึงแม่น้ำลำกระเพิน
ให้พระยาจิตตอง ทำสะพานไม้ไผ่เพื่อยกพลเดินข้ามฟาก ชาวสยามเห็นเช่นนั้นจึงมีสาร
แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ
ส่วนกองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรีเห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมด จึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วต่อไปถึงตำบลพนมทวน เกิดลมเวรัมภาพัดฉัตรหักลง ทรงตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรไม่กล้าทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้หากเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกครั้งนี้ พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็อดที่จะหวั่นพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก การรบกับพระนเรศวร ใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน สงสารพระราชบิดา ที่จะต้องสูญเสียพระโอรสพระราชบิดาทรงชราภาพมาก เกรงจะพ่ายแพ้ศึกสยาม หากพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ไม่มีใครเก็บผี(ศพ)ไปให้พระบิดา ไม่มีใครเผา พระราชบิดาไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ จะริเริ่มสงครามเพียงลำพังไม่ได้ พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย พระมหาอุปราชาทรงรำพึงถึงพระคุณของพระราชบิดาว่าใหญ่หลวงนักเกรงว่าจะไม่โอกาสกลับไปตอบแทนพระคุณ