ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
» สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
» การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
» การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
» การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
» แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยอยุธยา
(พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310)
ราวสมัย พ.ศ. 1893 สมัยพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา
ชาวบ้านปลดกางเกงหรือ สนับเพลาออกบ้างแล้ว คงใช้เฉพาะขุนนางข้าราชสำนัก
แบบขัดเขมรจึงถูกปล่อยให้ยาวลงมาถึง ใต้เข่าเป็น นุ่งโจงกระเบน
เสื้อคอกลมแขนกรอมศอก สตรีนุ่งผ้าและผ้ายกห่มสไบเฉียง สวมเสื้อ
บ้างโดยมากเป็นแขนกระบอก
การแต่งกายของสมัยอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งมี 3
แบบ ดังนี้
-
การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่
-
การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบ เมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ
-
ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้น ลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อภิโชค แซ่โค้ว, 2542: 22)
การแต่งกายยุคกรุงศรีอยุธยา จึงแบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ (สมภพ
จันทรประภา, 2526: 28)
สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031
หญิง
ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย
และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม
เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู
เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า
เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก
ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง
ชาย
ผม มหาดเล็กและคนรับใช้ตัดผมสั้น
ชายยังคงเกล้าผมกลางกระหม่อมเช่นเดียวกับ หญิง
เครื่องแต่งกาย
นุ่งกางเกงยาวลงมาแค่หน้าแข้ง ปลายขาเรียวเล็กกว่าเดิม นุ่งผ้าหยักรั้ง
แบบเขมรซ้อนทับกางเกง ชายผ้ายาวเสมอเข่า ใช้ผ้าคาดเอว สวมเสื้อคอแหลม
แขนยาวจรดข้อมือ ผ่าอก สาบซ้ายทับสาบขวา มีผ้ากุ๊นตรงปลายแหลม คอ สาบหน้า
และชายเสื้อ
เครื่องประดับ
จากหลักฐานการขุดกรุใต้พระปรางค์วัดราชบูรณะพบว่า ส่วนบนของ
มงกุฎที่ครอบมวยพระเศียรของกษัตริย์ พาหุรัดหรือทองกร
เครื่องประดับศีรษะถักด้วยลวดทองคำ
การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 1)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 55)
สมัยที่ 2 พ.ศ. 2034-2171
หญิง
ผม ตัดผมสั้น หวีเสยขึ้น ไปเป็นผมปีก บ้างก็ยังไว้ผมยาวเกล้าบนศีรษะ
เลิกเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2112 เพราะต้องทำงานหนักไม่มีเวลาเกล้าผม
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมผ่าอก
ไม่นิยมสไบ ผู้หญิงชั้น สูงสวมเสื้อคอแหลม มีผ้าคล้องไหล่ 2 ข้าง
การห่มสไบมีหลายแบบ
-
พันรอบตัวเหน็บทิ้งชาย
-
ห่มแบบสไบเฉียง คือ พันรอบอก 1 รอบแล้วเฉวียงขึ้นบ่าปล่อยชายไว้ข้างหลังเพียงขาพับ
-
แบบสะพัก สองบ่า ใช้ผ้าพันรอบตัวทับกันที่อกแล้วจึงสะพักไหล่ทั้งสองปล่อยชายไปข้าง หลัง ทั้ง 2 ข้าง
-
แบบคล้องไหล่ เอาชายไว้ข้างหลังทั้งสองชาย
-
แบบคล้องคอห้อยชายไว้ข้างหน้า
-
แบบห่มคลุม
ชาย
ผม ตัดผมสั้น แสกกลาง
เครื่องแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน
ไม่สวมเสื้อ มีผ้าคล้องไหล่
การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 2)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา กุโรวาท (2535: 56)
สมัยที่ 3 พ.ศ. 2173 พ.ศ. 2275
หญิง
ผม สตรีในสำนักไว้ผมแบบหญิงพม่าและล้านนาไทย คือ
เกล้าไว้บนกระหม่อมแล้ว คล้องด้วยมาลัย ถัดลงมาปล่อยผมสยายยาว
ส่วนหญิงชาวบ้านตัดผมสั้น ตอนบนแล้วถอนไรผม รอบ ๆ ผมตอนที่ถัดลงมาไว้ยาวประบ่า
เรียกว่า ผมปีก บางคนโกนท้ายทอย คนรุ่นสาวไว้ผม
ดอกกระทุ่มไม่โกนท้ายทอยปล่อยยาวเป็นรากไทร
การแต่งกาย
หญิงในราชสำนักนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อ ผ่าอก คอแหลม (เดิมนิยม คอกลม)
แขนกระบอกยาวจรดข้อมือหญิงชาวบ้านนุ่งผ้าจีบห่มสไบ มี 3 แบบ คือ รัดอก สไบเฉียง
และห่ม ตะเบงมาน (ห่มไขว้กันแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ) เหมาะสำหรับเวลาทำงาน บุกป่า
ออกรบ
เครื่องประดับ ปักปิ่นทองที่มวยผม สวมแหวนหลายวง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ
การแต่งหน้า หญิงชาววัง ผัดหน้า ย้อมฟัน และเล็บเป็นสีดำ
ไว้เล็บยาวทางปากแดง หญิงชาวบ้าน ชอบประแป้งลายพร้อย ไม่ไว้เล็บ ไม่ทาแก้ม ปาก
ชาย
ผม ตัดสั้น ทรงมหาดไทย (คงไว้ตอนบนศีรษะรอบๆ ตัดสั้น และโกนท้ายทอย)
การแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอ
แล้วตลบไปห้อยชายไว้ทางด้านหลัง สวมเสื้อคอกลม ผ่าอกแขนยาวจรดข้อมือ ในงานพิธีสวม
เสื้อ ยาวถึงหัวเข่า ติดกระดุม ด้านหน้า 8 10 เม็ด แขนเสื้อ กว้าง และสั้น มาก
ไม่ถึงศอก นิยมสวมหมวกแบบต่าง ๆ ขุนนางจะสวม ลอมพอกยอดแหลม
ไปงานพิธีจะสวมรองเท้าแตะปลายแหลมแบบแขกมัวร์
การแต่งกายสมัยอยุธยา(สมัยที่ 3)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 58,60)
สมัยที่ 4 พ.ศ. 2275 ถึง พ.ศ. 2310
หลักฐานจากวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรีเป็นลักษณะเครื่องทรงในพระมหา
กษัตริย์และคนชั้น สูง
หญิง การแต่งผม มี 3 แบบ คือ
-
ทรงผมมวยกลางศีรษะ
-
ทรงผมปีกมีจอนผม
-
ทรงหนูนหยิกรักแครง (เกล้าพับสองแล้วเกี้ยว กระหวัดไว้ที่โคน รักแครง เกล้า ผมมวยกลมเฉียงไว้ด้านซ้ายหรือขวา)
-
ทรงผมประบ่า มักจะรวมผมปีกและผมประป่าอยู่ในทรงเดียวกันและผมปีกทำ เป็นมวยด้วย
เครื่องประดับ นิยมสวมเทริด สวมกำไลข้อมือหลายอัน
มีสร้อยข้อมือที่ใหญ่กว่าสมัยใด สร้อยตัวสวมเฉียงบ่ามีลวดลายดอกไม้
สิ่งที่ใหม่กว่าสมัยใดคือ สวมแหวนก้อยชนิดต่าง ๆ และ แหวนงูรัดต้นแขน
การแต่งหน้าแต่งตัว ทาขมิ้น ให้ตัวเหลืองดังทอง ผัดหน้าขาว ย้อมฟันดำ ย้อมนิ้ว
และเล็บด้วยดอกกรรณิการ์ให้สีแดง
การแต่งกาย ของคนชั้น
สูงนุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด สวมเสื้อริ้วทอง (ทำด้วยผ้าไหม สลับด้วยเส้นทองแดง)
ห่มสไบ ชาวบ้านท่อนบนคาดผ้าแถบหรือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือ ผ้าถุง
การห่มสไบมี 2 แบบ คือ
-
ห่มคล้องคอตลบชายไปข้างหลังทั้ง 2 ข้าง กันบนเสื้อ ริ้วทอง และใช้เจียระบาด (ผ้าคาดพุง) คาดทับเสื้อปล่อยชายลงตรงด้านหน้า
-
ห่มสไบเฉียงไม่ใส่เสื้อเมื่ออยู่กับบ้าน
ชาย ไว้ทรงมหาดไทย ทาน้ำมันหอม
การแต่งกาย
สวมเสื้อคอกลมสวมศีรษะ แขนยาวเกือบจรดศอก มีผ้าห่มคล้องคอแล้ว
ตลบชายทั้งสองไปข้างหลัง นุ่งโจงกระเบน ส่วนเจ้านายจะทรงสนับเพลาก่อน แล้วทรงภูษา
จีบโจง มีไหมถักรัดพระองค์ แล้วจึงทรงฉลองพระองค์ คาดผ้าทิพย์ทับฉลองพระองค์อีกที
การแต่งกายสมัยอยุธยา
สำหรับผู้ที่สนใจควรศึกษาลายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ อยุธยาอาภรณ์ ของสมภพ
จันทรประภา 2526 และการแต่งกายไทย : วิวัฒนาการจากอดีตสู่ ปัจจุบัน 1
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 2543 จะได้ลายละเอียดเพิ่มเติม
การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 4)
ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 62)
การแต่งกายของไทยเราจะแสดงลักษณะเด่นชัดตอนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีลงมา
เครื่องแต่งกายของคนย่อมเป็นไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ
ในปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง ว่าคนไทยเคยอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนหรืออยู่
ณ ที่นี้มานานแล้ว มีความสำคัญในการที่จะ สันนิษฐานว่า
การแต่งตัวเหมือนเผ่าไทยที่ยังอยู่ในเขตแดนจีน มีอากาศหนาวจึงสวมเสื้อหลายชั้น
ถ้าคนไทยอยู่ใน ณ ที่นั้นนานแล้ว ซึ่งจะมีอากาศร้อน เสื้อ
ผ้าก็จะมีลักษณะชนิดพันหลวม ๆ มากว่าจะเป็นแบบรัดตรึงแนบตัว
นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมาเห็นได้ว่าเครื่องแต่งกายของคนอินเดียได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง
ของเครื่องแต่งกายไทย ผ้าจีบและสไบก็คือผ้าส่าหรีดัดแปลงเป็นสองท่อน
ส่วนผ้านุ่งก็คือผ้านุ่ง ของผู้ชายอินเดีย
คนไทยมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อรับวัฒนธรรมของใคร
มาแล้วรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับสภาพวิถีชีวิตของตนเอง จนกลายเป็นไทยในที่สุด
นุ่งโจงห่มจีบ ของไทยก็ได้มาจากห่มส่าหรีของแขกก็จริงแต่ไม่ใช่แขก
เรามีการใช้คำว่าเครื่องนุ่งห่มมาก่อน เครื่องแต่งกาย เพราะใช้นุ่งและห่มจริง
คือใช้ปกคลุมท่อนล่างและบนแยกกันเป็นคนละส่วน
เครื่องนุ่งห่มของไทยตั้งแต่อดีตเป็นการใช้ประโยชน์ทั้งในด้านความเหมาะสม
การประหยัด และความคล่องตัวในการดัดแปลง เช่น
ในสมัยอยุธยาการแต่งกายของสตรีไทยตามปกติจะ
แสดงออกซึ่งความนุ่มนวลและความเป็นผู้หญิง แต่พอถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อไทยจะทำ สงครามกับพม่าเป็นเวลาที่สตรีไทยต้องออกต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับชาย
การแต่งกายของสตรีก็ เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับบทบาทใหม่ คือ แต่งกายให้รัดกุม
ไม่รุ่มร่าม สะดวกในการเคลื่อนไหว เป็นการห่มผ้าแบบ ตะเบงมาน ผมก็ตัดสั้น
เพื่อสะดวกในการรบ หนีภัย และการปลอมแปลง เป็นชาย
สำหรับเครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรับทำงานกลางแจ้ง หรือทำไร่ ทำนาของคนไทยนั้น ก็จะใช้
สีเข้ม เพื่อไม่ให้สกปรกง่าย ตัวเสื้อ ของสตรีเป็นเสื้อ ผ่าอก แขนกระบอกเพื่อกันแดด
(นฤมล ปราชญ์โยธิน, 2525: 1,7)
สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)
สมัยศรีวิชัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18)
สมัยลพบุรี (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19)
สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 24)
สมัยสุโขทัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 20)
สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310)