ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
» สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน
» การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย
» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย
» การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย
» การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป
» แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ
การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี
การแต่งกายสมัยสุโขทัย
(ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 20)
เมื่อครั้งที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้น
เป็นราชธานี แห่งอาณาจักร สุโขทัย เมื่อ พ.ศ.1762
ได้มีหัวเมืองต่างๆที่มีคนไทยปกครองก็หันมายอมรับเอากรุงสุโขทัยเป็น ศูนย์กลางอำนาจ
ทำให้มีอาณาเขตแผ่กว้างออกไป มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้านทั้ง
ศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการ(โอม รัชเวทย์, 2543:44)
การแต่งกายของชาวสุโขทัยอาจเทียบเคียง ได้จากภาพเขียนลายเส้นบนแผ่นศิลาจากวัดศรีชุม
ภาพลายเส้นบนรอยพระพุทธบาทที่ทำด้วย สำริด รูปหล่อสำริดและตุ๊กตาสังคโลก
(คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, 2543: 102-103) ที่แสดง ให้เห็นทั้งทรงผม เสื้อ ผ้าห่ม
เครื่องประดับและเครื่องหอม
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ผม ผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะ มีพวงดอกไม้หรือพวงมาลัยสวมรอบมวย หรือไว้ผมแสก
กลาง รวบผมไว้ท้ายทอย มีเกี้ยวหรือห่วงกลมคล้องตรงที่รวบ
เครื่องประดับ กรองคอ รัดแขน กำไลมือและกำไลเท้า
เครื่องปักผมเป็นเข็มเงิน เข็ม ทอง ใส่แหวน รัดเกล้า
เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้า
การแต่งกายของหญิง สมัยสุโขทัย
ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร (2511: 70, 72, 75)
ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย
ผม มุ่นผม หรือปล่อยผมเมื่อยามพักผ่อนอยู่บ้าน
เครื่องประดับ กษัตริย์จะสวมเทริด กำไล เพชร พลอยสี
เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงครึ่งน่อง แล้วนุ่งผ้าถกเขมร
หรือหยักรั้งทับกางเกงอีกที ต่อมาประยุกต์เป็นนุ่งสั้น และทิ้งหางเหน็บ
เรียกว่ากระเบนเหน็บ หรือนุ่งแบบโรยเชิง สวมเสื้อ คอ กลมหรือไม่สวม
การแต่งกายสมัยสุโขทัย (ชาย)
ภาพเขียนเลียนแบบจาก กรมศิลปากร (2511: 79, 81)
สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)
สมัยศรีวิชัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18)
สมัยลพบุรี (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16-19)
สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 24)
สมัยสุโขทัย (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 20)
สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310)