ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประวัติเครื่องแต่งกาย

» สาเหตุที่มนุษย์มีการแต่งกายแตกต่างกัน

» การแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี

» การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย

» การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เครื่องประดับในแต่ละยุคสมัย

» การแต่งกายของชาวเขาในประเทศไทย

» การแต่งกายชาวเอเซีย

» การแต่งกายชาวตะวันออกกลางและยุโรป

» การแต่งกายของยุโรปตอนเหนือ

» แนวความคิดในการออกแบบเครืองแต่งกายจากสมัยต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของการใช้เสื้อผ้าในแต่ละยุคสมัย

คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์รู้จักทอผ้าใช้มาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3,000 ปี คือ ตั้งแต่ ยุคหินใหม่ถึงยุคโลหะ เนื่องจากหลักฐานการค้นพบเข็มเย็บผ้าทำด้วยกระดูกสัตว์ ที่บ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี หินทุบผ้าเปลือกไม้ที่จังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้ง ร่องรอยของเศษผ้าและผ้าไหมติดอยู่กับโบราณวัตถุที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่โคกกระเทียม จังหวัดลพบุรี ที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และที่อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี พัสตราภรณ์ประจำชาติไทยโดยแท้นั้น คือ ผ้านุ่ง 1 ผืน ผ้าห่ม 1 ผืน สำหรับสตรี ส่วนบุรุษใช้ผ้านุ่ง 1 ผืน และผ้าคาด 1 ผืนเท่านั้น

ในสมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย และสมัยลพบุรี การใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มได้รับแบบอย่าง มาจากอินเดียและจีน จนมาถึงสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้มีผ้าชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้น อีกมากมาย ซึ่ง ชนิดของผ้าจะเป็นเครื่องบ่งชีถึ้งฐานะของคนในสังคมได้ด้วย เพราะเจ้านายและขุนนางส่วนใหญ่ ใช้ผ้าที่สั่งมาจากต่างประเทศนำเข้ามากับเรือสำเภา

สำหรับสมัยรัตนโกสินทร์ในช่วงต้น ๆ นั้น รูปแบบของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และการแต่งกายยังคงเลียนแบบมาจากสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนยังเป็นคนที่เกิดและ มี ชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยา เมื่อมาสร้างบ้านสร้างเมืองใหม่ จึงนำรูปแบบของวัฒนธรรมประเพณีที่ คุ้นเคยกันอยู่มาปฏิบัติ

ในเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมในสมัยอยุธยา เคยมีระเบียบและข้อห้ามของสามัญชน ที่จะใช้เครื่องแต่งกายตามอย่างเจ้านายไม่ได้ แต่เนื่องจากสงครามและความวุ่นวายในการกอบกู้ อิสรภาพจากพม่าทำให้กฎเกณฑ์เหล่านั้น เลือนลางไปบ้าง

ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงโปรดให้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการแต่งกายใช้บังคับและห้ามไว้ใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า

“ธรรมเนียมแต่ก่อนสืบมา จะนุ่งผ้าสมปักทองนากและใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองต้นแขน กรองปลายแขน จะคาดรัดประคดหนามขนุนได้แต่มหาดไทย กลาโหม จตุสดมภ์ และแต่งบุตรแล หลานขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยได้

และทุกวันนีข้้าราชการผู้น้อย นุ่งห่มมิได้ทำตามธรรมเนียมแต่ก่อน ผู้น้อยก็นุ่งสมปัก ปูม ทองนาก ใส่เสื้อครุย กรองคอ กรองสังเวียน คาดรัดประคดหนามขนุน แลลูกค้าวาณิช กัน้ ร่มสีผึง้ แล้วแต่งบุตรหลานเล่า ผูกลูกประหลํ่าจำหลักประดับพลอย แลจีกุ้ดั่นประดับพลอยเพชรถมยา ราชาวดี เกินบรรดาศักดิผิดอยู่ แต่นีสื้บไปเมื่อหน้า ให้ข้าราชการและราษฎรทำตามอย่างธรรมเนียม แต่ก่อน …..”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการนิยมนุ่งแพรจีบ แบบตะวันตก ทำให้บรรดาเจ้านายฝ่ายในตื่นตัวกันมากในการตัดเสื้อแบบยุโรป สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ ซึ่งในขณะนั้น พระอัครมเหสีก็ทรงเป็นพระธุระในฉลองพระองค์มากขึ้น ได้ทรง ดัดแปลงพระที่นั่งทรงธรรมในสวนศิวาลัยเป็นโรงเย็บผ้าส่วนพระองค์ โดยโปรดให้ ม.จ.ไขศรี ปราโมช เป็นหัวหน้า มีหน้าที่ควบคุมการเย็บ ตลอดจนรับจ้างเจ้านายและผู้ที่อยู่ในพระราชฐาน ด้วย โรงเย็บผ้านั้น ดำเนินการเป็นกิจจะลักษณะ มีการจ้างครูฝรั่งมาเป็นช่างและสอนอยู่ใน โรงงานด้วย สำหรับการแต่งกายของข้าราชสำนักนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบรมราชวงศ์และขุน นางนุ่งผ้าสีม่วงน้ำเงินแก่แทนสมปักและสวมเสื้อต่าง ๆ ตามเวลา ผ้าม่วงสีน้ำเงินเข้มนีสั้่งมาจาก เมืองจีนและ ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น โดยให้ข้าราชการนุ่งห่มเป็นยศแทนสมปัก

จากประกาศเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การแต่งกายในรัชกาลที่ 1 นั้น ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดใน ระยะแรก ๆ เท่านั้น และเมื่อหลังรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา กฎเกณฑ์การใช้ผ้าระหว่างกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ไม่มีใครปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทุกคนสามารถใช้ผ้าชนิดใดก็ได้ ถ้า มีเงินพอที่จะซื้อหามาได้ และเป็นเช่นนั้น มาจนถึงทุกวันนี้

ผ้าที่นิยมใช้ในราชสำนักไทยรัตนโกสินทร์มีหลายชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผ้ากรองทอง ผ้าตาด ผ้าปูม ผ้าสมปัก ผ้าเขียนทอง ผ้าลาย ผ้ายก ผ้าหนามขนุน ผ้าอุทุมพร ผ้าม่วง ผ้าเยียรบับ ผ้ามัสหรู่ ผ้าปัสตู ผ้าลายสอง ผ้าสักหลาด ผ้ากุศราช ผ้ารัตนกัมพล ผ้าส่าน ผ้าโหมด ผ้าอัตตะลัด ผ้าสุจหนี่ ผ้าเหล่านี้มิได้ใช้เป็นแต่เพียงเครื่องแต่งกายเท่านั้น บางครั้ง ยังใช้ตกแต่งสถานที่ โดยใช้เป็นม่าน เป็นผ้าปูที่นอน ผ้าบุเก้าอี้ หรือใช้ทำฉัตรด้วย ผ้าบางชนิดนี้ เป็นผ้าสำคัญในพระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้น สูง ลักษณะการใช้สอยจะ กำหนดเฉพาะลงไปว่า ผ้าชนิดใดใช้ในกิจการใด

ดังที่กล่าวมาว่าผ้าเหล่านีส้ ่วนใหญ่เป็นผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งสิน้ น่าจะเป็น เพราะจากการที่อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญที่สุดในเอเชีย ชาติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น จีน จะส่งสินค้าไปยุโรป อินเดีย ก็จะมาที่อยุธยา ส่วนอินเดียจะเอาสินค้ามาขายและซื้อสินค้าไปขายก็มาที่อยุธยา และผู้ที่มีโอกาสได้ซื้อ ขายผ้าเหล่านีก้็คือ พระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหลายนั่นเอง จึงมีความนิยมที่ จะนำผ้าเหล่านีซึ้่งจัดเป็นผ้าที่สวยงามวิจิตรมีราคาแพงและหายากมาใช้ในราชสำนัก และใน สมัย รัตนโกสินทร์ก็สืบทอดความนิยมนีม้ าด้วย

การศึกษาเรื่องผ้าในสมัยรัตนโกสินทร์ แห่งข้อมูลที่สำคัญ คือการศึกษาจากการแต่งกาย ของตัวละคนในวรรณคดีนั้น ซึ่งมีการจัดกลุ่มผ้าออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

ผ้าทอที่ใช้โลหะประกอบในการทอ ผ้าเหล่านีมี้หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

  • ผ้ากรองทอง เป็นผ้าที่เกิดจากการนำเส้นลวดทองหรือไหมทองมาถักประกอบกันเป็น ผ้าผืน และในบางครั้งเมื่อต้องการให้มีความงามมากขึ้น ก็มีการนำปีกแมลงทับมาตัดเป็นชิ้น เล็ก ๆ คล้ายรูปใบไม้ แล้วนำมาปักลงไปบนผืนกรองทองในตำแหน่งที่จะให้เป็นลายใบไม้ ผ้าชนิดนี้นิยม ใช้ทำเสื้อครุยของพระมหากษัตริย์ สไบหรือผ้าทรงสะพักสำหรับเจ้านายสตรีชั้น สูง ผ้ากรองทองนี้ พบในวรรณคดีหลายเรื่อง เช่น พระอภัยมณี อิเหนา ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ

  • ผ้าเข้มขาบ เป็นผ้าที่ใช้ไหมทอควบกับทองแล่ง มีลักษณะเป็นริว้ตามยาว มียกดอกด้วย อาจยกดอกสีเดียวหรือหลายสี ผ้าเข้มขาบที่ลักษณะเป็นริว้ ในริว้มีลายสลับกันอีกทีหนึ่ง เรียกว่า ผ้ามัสหรู่ ผ้าชนิดนีช้าวแขกเทศนำมาจำหน่ายในสมัยอยุธยาตอนหลายและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น แต่เดิมใช้เป็นผ้าคาดเอว และใช้ตัดเสื้อผู้มีบรรดาศักดิ นอกจากนั้น ยังนิยมใช้เป็นผ้าที่ อยู่ในกลุ่มมงคลบรรณาการจากเจ้าเมืองประเทศราชด้วย

  • ผ้าตาด เป็นผ้าที่ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งทองจำนวนเท่า ๆ กัน ผ้าตาดมีหลายชนิด คือ ถ้าใช้ไหมสีทองจะเรียกว่า “ตาดทอง” สำหรับลวดลายที่ทอก็มีลวดลายลักษณะต่าง ๆ กัน ผ้าตาดนิยมใช้เป็นผ้านางในทรงสะพัก เป็นฉลองพระองค์สำหรับงานพิธีสำคัญของเจ้านายชั้น สูง ตาดปีกแมลงทับใช้เป็นทรงสะพักสำหรับเจ้านายฝ่ายใส ส่วนตาดทองแดงหรือตาดเยอรมันนั้น นิยมใช้ทำกลด (ร่ม) หรือเสื้อครุย

  • ผ้านมสาว เป็นผ้าไหมมีทองแล่งทอเป็นเส้นยืนและเส้นพุ่ง แล้วเอาลวดเงินพับให้โปร่ง แหลมคล้ายขนมเทียน ตรึงด้วยทองแล่งดูเป็นแสงแพรวพราว ผ้าชนิดนีเ้รียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผ้าตาด เงินหนามขนุน

  • ผ้าปัตหล่า เป็นผ้าทอด้วยไหมทับทองแล่งมีเนื้อบาง นิยมใช้ทำฉลองพระองค์ ปรากฏมี ฉลองพระองค์ครุยปัตหล่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเป็นฉลองพระองค์ ที่ทำด้วยตาด ฉลองพระองค์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นผ้าริ้วเขียวสลับขาว ฉลองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดมาก และในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวก็ได้สั่งผ้าชนิดนีเ้ข้ามาอีก

  • ผ้าโหมด เป็นผ้าที่ใช้กระดาษทองแล่ง ตัดให้เป็นเส้น ๆ แล้วนำมาทอสลับกับไหม มี หลายสี เรียกชื่อตาสีของไหม เช่น โหมดแดง โหมดเหลือง โหมดเขียว ผ้าโหมดนิยมใช้ทำพระมาลา ใช้ตัดเสื้อของบรรดาเจ้านายและผู้มีฐานะดี บางโอกาสใช้เป็นผ้าพระราชทานให้แก่พวกแม่ทัพ นายกองที่มีความดีความชอบ

  • ผ้าเยียรบับ หมายถึง ผ้าที่ทอด้วยทองแล่งกับไหม แต่มีไหมน้อยกว่าทองแล่ง เป็นผ้า ที่ทอยกดอกเงินหรือทอง ลักษณะการทอคือการนำแผ่นเงินกาไหล่ทองมาแผ่บาง ๆ หุ้นเส้นไหม ซึ่งเรียกว่าไหมทองนำไปทอกับไหมสี ยกเป็นลวดลาย ดอกดวงเด่นชัดด้วยทอง จัดเป็นผ้าชั้น ยอด ต่อมามีเยียรบับอย่างใหม่ เนื้อขาวกว่า และไหมทองไม่ทนเหมือนเดิม ใช้ไม่เท่าไรก็ดำ จึงเรียกว่า เยียรบับเทียม ผ้าเยียรบับมี 2 ชนิด คือ เยียรบับมีเชิง ใช้เป็นผ้านุ่ง และเยียรบับไม่มีเชิง ใช้ตัดเสื้อ และทำเครื่องใช้

ผ้าทอยก ได้แก่

  • ผ้ากุศราช หมายถึง ผ้าโบราณชนิดหนึ่งมีดอกคล้ายลายผ้า แต่มีดอกดวงเด่น เนื้อหยาบ ทนทาน เป็นผ้าฝ้ายทำด้วยด้ายอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการนำฝ้ายมาตีเกลียวเป็นเส้นด้ายเสียก่อน แล้วจึงนำมาทอยกดอกเป็นผืนผ้า ผ้ากุศลราชนิยมใช้เป็นผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าคาดพุง และบางครั้ง ใช้ห่อคัมภีร์

  • ผ้ายก คือ ผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้สูงกว่าพื้น ผ้า คำว่า ยก มาจากลักษณะการทอ เส้นด้ายที่เชิดขึ้น เรียกว่าเส้นยก และสำหรับเส้นด้ายที่จมลงเรียกว่าเส้นข่ม แล้วพุ่งกระสวยไปใน ระหว่างกลาง ถ้าจะให้เกิดลายก็เลือกยกบางเส้นและข่มบางเส้น ผ้ายกนิยมใช้เป็นผ้านุ่ง สำหรับเจ้านายฝ่ายใน จะทรงพร้อมกับเสื้อเยียรบับแขนยาวและมีทรงสะพัก สำหรับเวลาออก งานพระราชพิธี ทางฝ่ายนาฎศิลป์นิยมใช้ผ้ายกทำเครื่องแต่งกายตัวเอก เช่น ใช้นุ่งโจง สำหรับ ผู้ที่จะแสดงเป็นพระลักษณ์และพระราม

ผ้าพิมพ์ลาย ซึ่งอาจตกแต่งประกอบด้วยการเขียนสิ่งต่าง ๆ หรือปักประกอบ ได้แก่

  • ผ้าเขียนทอง เกิดจากการนำผ้าลายปกติมาเขียนเส้นทองตามขอบลาย ผ้าชนิดนี้ใ้ช้นุ่ง สำหรับพระมหากษัตริย์ ลงมาจนถึงเจ้านายชั้น พระองค์เจ้าโดยกำเนิดเท่านั้น มีข้อห้ามผู้ที่ยศต่ำ กว่านี้ใ้ช้ ถ้าใช้ถือเป็นผิด

  • ผ้ายั่นตานี คือ ผ้ามัสลินมีลายเป็นดอก เนื้อดี จัดเป็นผ้าลาย เนื้อบางชนิดหนึ่ง นิยมใช้ เป็นผ้าถุง

  • ผ้าย่ำมะหวด ผ้าชนิดนี้เ้ป็นผ้าลายที่ทำมาจากผ้าขาวเทศ ซึ่งเป็นผ้าทอในอินเดีย เป็น ลายเนื้อดี ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพื้น สีขาวดอกสีม่วง จัดเป็นของหายาก ผ้าย่ำมะหวดเป็น ผ้าลายที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกผ้าชนิดนี้ว่า ผ้าลายฉีก หรือ ลายจิตร ซึ่งมีขายตามร้านแขกแถวหาหุรัด สมัยต้นรัชกาลที่ 6 ถือว่าผ้ายํ่ามะหวดหรือผ้าลายฉีก นีเ้ป็นผ้าที่ผู้ดีและกุลสตรีสมัยก่อนใช้กันมากมีทั้งสีม่วง สีตอง และสีเหลือง จัดเป็นผ้าลายที่ เชิดหน้าชูตาของผู้นุ่งเพราะจัดว่าเป็นผ้าที่มีราคาแพง

ผ้าขนสัตว์ ที่นิยมใช้ในราชสำนักคือ ผ้ากัมพล หรือรัตนกัมพล เป็นผ้าที่ทำขึ้น จาก ขนสัตว์ นิยมกันว่าชนิดที่เป็นสีแดงเป็นชนิดที่ดีที่สุด ผ้ารัตกัมพล หมายถึง ผ้าขนสัตว์สีแดง ผ้าชนิดนีผ้ ลิตในยุโรปโดยทำเลียนแบบผ้าส่านซึ่งเป็นผ้าจากเปอร์เซีย ผ้ารัตนกัมพลนีนิ้ยม ใช้ เป็นผ้าคาดเอวเหมือนผ้าคัดประคดในประเทศอินเดียนิยมใช้เป็นผ้าคาดเอวสำหรับเครื่องแต่งกาย ใน งานพิธีเช่นเดียวกับชุดพระราชทานของไทยในปัจจุบัน ผ้าชนิดนีถื้อเป็นเครื่องสำหรับราชาภิเษกของ พระเจ้าแผ่นดินอย่างหนึ่งในจำนวนของ 5 อย่าง คือ พระมหามงกุฎ พระขรรค์ พระภูษา รัตน กัมพล พระเศวตฉัตร และเกือกทองประดับแก้ว

ผ้าไหม ได้แก่ ผ้าแพร คือ ผ้าที่ทอจากเส้นไหมเล็กละเอียด ซึ่งเริ่มมีใช้ตั้งแต่ในสมัยสุโขทัยและถือเป็น ของสูงสำหรับกษัตริย์ ผ้าแพรมีหลายชนิดแบ่งตามเนื้อผ้าและลักษณะใช้สอย คือ

  • ผ้าแพรเปลือกกระเทียม ในสมัยอยุธยา จีนส่งเข้ามาขายเป็นพับ ๆ ส่วนใหญ่จะเป็น สีขาว นิยมซื้อมาย้อมสีแล้วจับกลีบเป็นสไบ

  • ผ้าแพร่ย่นหนังไก่ เป็นแพรน้ำหนักเบา ใช้เป็นแพรห่มคลุม มีหลายสี แต่เป็นประเภท สีคล้ำและสีอ่อน ไม่มีสีสดใส

  • แพรเลี่ยน และแพรต่วน เป็นแพรเนื้อมันและเรียบ

  • แพรปังลิ้น ส่งมาขายจากเมืองจีน นิยมใช้ทำกันเป็นผ้าห่ม และแพรเพลาะ เวลา นำมาใช้มักย้อมด้วยนำ้ชะลูดและลูกซัดให้มีกลิ่นหอม ผู้ชายนิยมใช้ตัดกางเกงนุ่งลำลองอยู่กับบ้าน

  • แพรแส เป็นของมีราคาและมีหลายสี สดใส แพรแสเป็นแพรเนื้อละเอียด ไม่หนามาก เหมือนแพรปังลิ้น บางครั้งก็เรียกว่าแพรสี โดยเฉพาะสีนวล ซึ่งเป็นสีอ่อนสดใส

ผ้าม่วง เป็นผ้าแพรชนิดหนึ่งซึ่งทอจากเส้นไหม ที่เรียกว่าผ้าม่วงเป็นเพราะแต่เดิมคงจะ มีแต่สีม่วงมาก่อน ชื่อสีนี้จึงติดมา แม้ในระยะหลังจะมีสีอื่นอีก ก็ยังคงเรียกผ้าม่วงที่ขึ้น ชื่อ คือ ผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้ ซึ่งคงเป็นผ้าม่วงที่ส่งมากจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ส่วนผ้าม่วงไหมพื้น เมือง ชนิดดีที่มีราคาแพงกว่าผ้าม่วงที่สั่งเข้ามากจากต่างประเทศ คือ ผ้าหางกระรอก ซึ่งเป็นผ้าไหม พื้น เมือง ทอกันมากที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครศรีราชสีมา ผ้าม่วงหางกระรอกนี้ใ้ช้นุ่งกันน้อย เพราะราคาแพง และใช้ไม่ทนเท่าผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้ สีสันก็ฉูดฉาด มักจะเก็บไว้นุ่งเมื่อออกงาน มากกว่านุ่งทำงาน ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้นุ่งผ้าม่วงแทนผ้าสมปักเวลาที่เข้าเฝ้า ซึ่ง ผ้าม่วง สีน้ำเงินแก่นั้น ไม่ได้ทำในประเทศไทย แต่ให้ช่างสั่งทำมาจากเมืองจีนเฉพาะใช้ในไทย เท่านั้น จีนไม่นุ่งเลย

ผ้าสมปัก เป็นผ้าทอด้วยไหมเพลาะกลาง มีขนาดกว้างยาวกว่าผ้านุ่งที่เคยนุ่งกันมาใน สมัยก่อน ผ้าเป็นสีเป็นลายต่าง ๆ ขุนนางใช้นุ่งเข้าเฝ้า พวกขุนนางนุ่งผ้าสมปักมาตั้งแต่ครั้งกรุง ศรีอยุธยา เป็นผ้านุ่งแสดงยศเหล่าเช่นเดียวกับเครื่องแบบในปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังมีสมปักปูม เขมร มาจากเมืองเขมรที่เขมรใช้นุ่งห่มทั้งไพร่และผู้ดีทั่วไป แต่ไทยนำมาใช้เป็นผ้าบอกยศ ผ้า สมปักปูมสำหรับขุนนางผู้ใหญ่นุ่งเข้าเฝ้า ส่วนผ้าปักริ้วหรือสมปักกลายเป็นผ้าสามัญสำหรับขุนนาง ชั้น เจ้ากรม ปลัดกรมนุ่ง ผ้าสมปักเป็นของหายาก ถ้าเป็นชนิดที่ทำด้วยไหมจะสงวนเวลาเข้าเฝ้าก็ ไม่ได้นุ่งมาจากบ้าน มานุ่งกันในพระบรมมหาราชวัง เมื่อออกจากเฝ้าก็ผลัดเก็บเอาผืนที่นุ่งมา จากบ้านมานุ่งดังเดิม ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ยกเลิกนุ่งสมปักตามธรรมเนียมแต่เดิม เพราะทรง เป็นว่าเป็นการเอาอย่างเขมร ไม่งดงามเป็นอย่างไทย โปรดให้นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงินแทน

ผ้าชนิดต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นผ้าต่างประเทศที่ข้าราชสำนักและขุนนางใช้เป็นเครื่องแต่งกาย ซึ่งจะบ่งบอกถึงสถานภาพและตำแหน่งของผู้สวมใส่ คนทั่วไปไม่ได้รับอนุญาตให้สวมใส่ผ้า เหล่านั้น ผ้าที่คนทั่วไปนิยมใส่คือผ้าพิมพ์คุณภาพต่ำ ทอด้วยฝ้ายระดับปานกลาง ซึ่งนำเข้ามา จากอินเดีย

นอกจากนั้น ก็เป็นผ้าทอพื้น เมืองของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งมีกลุ่มชนชาติในประเทศไทยปัจจุบันกลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่พูดภาษาตระกูลไท ซึ่งมีภาษาไทยกลางเป็นภาษาแบบมาตรฐาน ผ้าที่ทอขึ้น เพื่อใช้ นุ่งห่ม มักจะมีการกำหนดขนาดหน้ากว้างของผ้าให้พอดีกับการใช้เพื่อจะได้ไม่ต้องตัดริมผ้า

ลวดลายผ้าไทในประเทศไทยที่เป็นที่นิยมมาก ได้แก่ ลายขอ ลายดอกกูด ลายนาค ช้าง นก ม้า และลายแบบเรขาคณิต ซึ่งเรียกชื่อเป็นลายดอกไม้ต่าง ๆ เช่น ลายดอกแก้ว และลายดอกจัน ลวดลายผ้าไทจะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของแต่ละถิ่นได้เป็นอย่างดี (อภิชาต แซ่โค้ว, 2542 : 74-86)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย