สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
ความดันโลหิตสูง
มะเร็งปากมดลูก
โรคไข้เลือดออก
โรคเบาหวาน
โรคอุจจาระร่วง
โรคไข้เลือดออก
อาการที่พบบ่อย
ตัวร้อน หน้าแดง ปวดเมื่อยตามตัว
บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ให้ผู้ป่วยพักผ่อน ในที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
- เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่นบ่อยๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดพอหมาด ลูบเบา ๆ บริเวณหน้า ลำตัว แขน และขา แล้วพักไว้บริเวณหน้าผาก ซอกคอ รักแร้ แผ่นอก แผ่นหลังและขาหนีบ สลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อยนาน 15 นาที แล้วให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าที่หนามาก หรือห่มผ้าบาง ๆ นอนพักผ่อนระวังการเช็ดตัว ถ้าผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดแล้วให้ผู้ป่วยห่มผ้า พอหายหนาวแล้วค่อยเช็ดต่อ
- ให้รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล เวลามีไข้สูงปวดศรีษะหรือปวดเมื่อยตามตัวมาก โดยให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ห้ามรับประทานยาลดไข้ชนิดอื่น โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด หรือยาพวกไอบรูโพรเฟน เพราะอาจจะทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือตับวายได้
- ห้ามฉีดยาเข้ากล้ามและไม่รับประทานยาอื่นที่ไม่จำเป็น
***หมายเหตุ ในระยะไข้สูงของโรคไข้เลือดออก การให้ยาลดไข้ จะช่วยให้ไข้ลงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อหมด ฤทธิ์ยาแล้วไข้ก็จะสูงขึ้นอีก อาการไข้ไม่สามารถลดลงถึงระดับปกติได้ การเช็ดตัวลดไข้จะช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น
- ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) หรือน้ำผลไม้ ใส่เกลือเล็กน้อย ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนไม่สามารถดื่มได้ ให้จิบครั้งละน้อย ๆ บ่อย ๆ ไม่ควรซื้อน้ำเปล่าแต่อย่างเดียว อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย รสไม่จัด เช่น นม ไอศกรีม ข้าวต้ม เป็นต้น ควรงดเว้นอาหาร หรือเครื่องดื่ม ที่มีสีแดง ดำ หรือสีน้ำตาล
- มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจเลือดติดตามการดำเนินโรค
อาการอันตราย ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
- ผู้ป่วยซึม หรืออ่อนเพลียมาก ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
- คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา
- ปวดท้องมาก
- มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือเป็นสีดำ
- กระสับกระส่าย หงุดหงิด
- พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ
- กระหายน้ำตลอดเวลา
- ร้องกวนตลอดเวลาในเด็กเล็ก
- ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลงหรือตัวลาย ๆ
- ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเป็นเวลานาน
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
การนอน ควรนอนในมุ้งหรืในห้องติดมุ่งลวดที่ปลอดยุงลาย
การเล่น ไม่ควรเล่นในมุมมืดหรือในบริเวณที่ไม่มีลมพัดผ่าน
ห้องเรียนหรือห้องทำงาน ควรมีแสงสว่างส่องได้ทั่งถึงมีลมพัดผ่านได้สะดวกและไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น แจกันดอกไม้ควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน พลูด่างควรปลูกในดิน - กำจัดยุง ด้วยการพ่นสารเคมีในบริเวณมุมอับภายในบ้าน ตู้เสื้อผ้า
และบริเวณรอบๆ บ้าน ทุกสัปดาห์
กำจัดลูกน้ำ ภาชนะใส่น้ำภายในบ้านปิดฝาให้มิดชิดถ้าไม่สามารถปิดได้ให้ใส่ทรายอะเบทหรือใส่ปลาหางนกยุง จานรองขาตู้กับข้าว ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู ผงซักฟอกหรือน้ำต้มเดือด ๆ สัปดาห์ละครั้ง จานรองกระถางต้นไม้ ใส่ทรายลงไปเพื่อดูดซับน้ำส่วนเกิน - วัสดุที่เหลือใช้รอบ ๆ บ้าน เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์เก่า เป็นต้น ให้เผาหรือทำลายเสีย