วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
สมบัติของวรรณคดีไทย
วรรณคดีวิจักษ์ ม.3
ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย
บทพากย์เอราวัณ
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์ฉบัง 16
ใช้สำหรับเป็นคำพากย์หรือบทพากย์ในการแสดง หนังใหญ่และโขน
บทพากย์ที่รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ ตอนนางลอย นาคบาศ
เอราวัณ
บทพากย์เอราวัณนี้บรรยายลักษณะของช้างเอราวัณไว้อย่างพิสดารช้างนี้เป็นช้างทรง
ของพระอินทร์ ช้างเอราวัณในตอนนี้เป็นช้างเอราวัณที่พวกฝ่ายอินทรชิต คือ การุณราช
แปลงมาเป็นช้างเอราวัณลอยมาบนท้องฟ้า และเหล่ายักษ์แปลงตัวเป็นเทวดา
ทำให้ฝ่ายทัพพระราม ยกเว้น หนุมาน
เผลอตัวชมความงามด้วยเข้าใจว่าเป็นเหล่าเทวดาจริงๆ
อินทรชิต แปลงองค์เหมือนพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ช้างแปลงนี้ดูแข็งแรงและมีฤทธิ์ยิ่งผิวของช้างเอราวัณเป็นสีขาวเผือกผ่องสะอาดราวสีของสังข์และตัวใหญ่โต
มีสามสิบสามเศียร แต่ละเศียรมี 7 งา ดุจเพชรสวยงามมาก ในแต่ละงา มีสระบัว 7 สระ
แต่ละสระมีกอบัว 7 กอ กอบัวแต่ละกอมีดอกบัว 7 ดอก ในแต่ละดอกที่แบ่งบานนี้มีกลีบ 7
กลีบ กลีบแต่ละกลีบจะมีเทพธิดา 7 องค์ แต่ละองค์ล้วนรูปโฉมงดงามมาก เทพธิดา
แต่ละองค์จะมีบริวารองค์ละ 7 คน ทั้งหมดนี้ล้วนนิมิตทั้งสิ้น
นางเหล่านี้ฟ้อนระบำร่างรำชม้อยชม้ายตาดั่งนางฟ้านางสวรรค์
เศียรช้างแต่ละเศียรจะมีวิมานอยู่
วิมานนี้ดุจดั่งประสาทเวชยันต์ของพระอินทร์เครื่องประดับซองหางล้วนเป็นแก้วนพรัตน์พลอยสีแดงเข้ม
กระวิน (ห่วงที่เกี่ยวสำหรับโยงสัปคับช้างเป็นสร้อยถักด้วยทอง)
เครื่องแต่งหัวช้างเป็นตาข่ายเพชรรัตน์ส่วนที่เป็นตระพองคลุมด้วยผ้าทิพ
ที่หูช้างห้อยพู่ทุกหู โลทันสารถี แปลงเป็นควาญช้างขับท้าย ช้างทรง บรรดาจตุรงคเสนา
(ทหาร 4 เหล่า) ล้วนแปลงกายเป็นเทวดา ทัพหน้าเป็นอารักษ์เทวาผู้รักษาป่า
ทัพหลังครุฑ กินนร นาค ปีกซ้ายเป็น ฤๅษี วิทยาธร ปีกขวาคนธรรพ์ จัดทัพ
ตามตำราพิชัยสงครามแต่ละผู้ล้วนถืออาวุธทั้งหอก ศร พระขรรค์ คทากันถ้วนทั่ว
ความรู้ประกอบเรื่อง
อินทรชิต
เป็นโอรสองค์โตของนางมณโฑกับทศกัณฐ์ เดิมชื่อ รณพักตร์
เป็นพี่นางสีดาและไพนาสุริยวงศ์ มีชายาชื่อนางสุวรรณกันยุมา มีโอรส 2 องค์ คือ
ยามลิวัน และ กันยุเวก เมื่อเมื่ออายุ 14 ปี ไปเรียนวิชากับฤๅษีโคบุตร
รู้พระเวทชื่อ มหากาลอัคคี คือ ถ้าบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามได้แก่ พระอิศวร
พระนารายณ์ และพระพรหมครบ 7 ปี จะมีฤทธิ์ยิ่ง เมื่อครบ 7 ปี พระอิศวรประทาน
ศรพรหมาสตร์ และพระเวทให้แปลงเป็นพระอินทร์ได้ พระพรหมประทาน ศรนาคบาศ
และให้พรว่าตายก็ให้ตายกลางอากาศ หากศีรษะตกพื้นโลกจะลุกไหม้ ด้วยไฟกัลป์
ต้องนำพานแก้วของพระพรหมมารับ พระนารายประทานศรวิษณุปาณัม
ทศกัณฐ์ใช้ให้ไปปราบพระอินทร์ พระอินทร์แพ้ทิ้งจักรแก้วไว้ จึงนำมาถวายทศกัณฐ์
ทศกัณฐ์จึงตั้งชื่อ ให้ใหม่ว่า อินทรชิต แปลว่า ผู้พิชิตพระอินทร์
ในการทำศึกลงกา เมื่อกุมภกรรณตายแล้ว อินทรชิตเป็นแม่ทัพออกทำสงคราม
หลายครั้ง ครั้งแรกรบกับพระลักษมณ์ไม่แพ้ไม่ชนะกัน ครั้งที่สองทำพิธีชุบศรนาคบาศ
ถูก ชามพูวราช ทำลายพิธีออกรบกับพระลักษมณ์และพลวานรสลบทั้งกองทัพ
ครั้งที่สามทำพิธีชุบศรพรหมมาสตร์ แต่ไม่สำเร็จ
ทศกัณฐ์ส่งคนไปแจ้งเรื่องกำปั่นถูกฆ่าตายจึงทำลายพิธี
อินทรชิตแปลงร่างเป็นพระอินทร์ไปในสนามรบ พระลักษมณ์มองเพลิน จึงแผลงศรพรหมาสตร์
ล้มสลบ หนุมานขึ้นหักคอช้างเอราวัณก็ถูกตีด้วยคันศรสลบไป
ครั้งที่สี่ทำพิธีกุมภนิยาเพื่อชุบตัวเป็นกายสิทธิ์
ก่อนหลบไปทำพิธีทศกัณฐ์ให้สุขาจารแปลงเป็นสีดา อินทรชิตพาไปตัดหัว
ให้พระลักษมณ์ดูกลางสนามรบ เพื่อลวงว่าสีดาตายแล้ว ให้พระรามยกทัพกลับ
จากนั้นหลบไปทำพิธีกุมภนิยา พระลักษมณ์ตามไปทำลายพิธี และทำลายศรวิษณุปาณัม
ศรนาคบาศ และศรพรหมาสตร์ อินทรชิตหนีเข้าเมือง ครั้งที่ห้ารบกันพระลักษมณ์
อินทรชิตรู้ตัวว่าไม่รอดแน่ ขอให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดา ทศกัณฐ์ไม่ยอมประทาน ศรสุรกานต์
ให้ออกไปรบ อินทรชิตลาลูกเมีย แล้วออกรบ ถูกพระลักษมณ์ฆ่าด้วยศรพรหมาสตร์ องคต
พี่ชายร่วมมารดาเดียวกัน ไปขอพานแว่นฟ้าจากพระพรหมมารองรับไม่ให้ศีรษะตกพื้น
เพราะจะทำให้เกิดไฟไหม้โลก
เห็นแก่ลูก
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร
พระบรมราโชวาท
อิศรญาณภาษิต
บทพากย์เอราวัณ