วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

สมบัติของวรรณคดีไทย
วรรณคดีวิจักษ์ ม.3

ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย

ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย

1. การเล่นเสียง คือการสรรคำให้มีเสียงสัมผัสกัน เช่น การสัมผัสสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ยกตัวอย่างเช่น โคลงอักษรสามหมู่ ของพระศรีมโหสถ ดังนี้

จิบจับเจาเจ่าเจ้า รังมา
จอกจาบจั่นจรรจา จ่าจ้า
เค้าค้อยค่อยคอยหา เห็นโทษ
ซอนซ่อนซ้อนสริ้วหน้า นิ่งเร้าเอาขวัญ

สัมผัสสระ

- สัมผัสใน เจา-เจ้า-เจ้า,จั่น-จรร,จ่า-จ้า,ค้อย-ค่อย-คอย,ซอน-ซ่อน-ซ้อน,เร้า-เอา
- สัมผัสนอก มา-จา-หา,จ้า-หน้า

สัมผัสอักษร

- สัมผัสใน เจา-เจ้า-เจ้า,จั่น-จรร,จ่า-จ้า,ค้อย-ค่อย-คอย,ซอน-ซ่อน-ซ้อน

สัมผัสวรรณยุกต์

- สัมผัสใน เจา-เจ้า-เจ้า,จั่น-จรร,จ่า-จ้า,ค้อย-ค่อย-คอย,ซอน-ซ่อน-ซ้อน

2. การเล่นคำ คือ การใช้คำพ้องรูปพ้องเสียง การซ้ำคำ การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์เพื่อให้เกิดความหมายพิเศษและแปลกออกไป

การเล่นคำพ้อง

“ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรถถ้อยอร่อยจิต” (เล่นคำว่า “พูด”)
“จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี” (เล่นคำว่า “จาก”)

การซ้ำคำ

“คุณ แม่หนาหนักเพี้ยง พสุธา
คุณ บิดรดุจอา กาศกว้าง
คุณ พี่พ่างศิขรา เมรุมาศ
คุณ พระอาจารย์อ้าง อาจสู้สาคร ” (ซ้ำคำว่า “คุณ”)

การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ คือ คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะทราบคำตอบดีอยู่แล้ว เช่น

“ กระนี้หรือพระบิดามิน่าหนี ทั้งท่วงทีไม่สุภาพทำหยาบหยาม”
“ยักขิณีผีสางหรืออย่างไร มาพาไปไม่เกรงข่มเหงกู”

 

3. การใช้ภาพพจน์ คือ การใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างภาพในใจ (จินตภาพ) แก่ผู้อ่านโดยการใช้โวหารกล่าวอย่างไม่ตรงไปตรงมา

  • อุปมา คือ การเปรียบเทียบสองสิ่งที่ต่างกัน แต่มีลักษณะเด่นเหมือนกัน โดยมักใช้คำเชื่อม เช่น ดุจ ดัง ดั่ง เหมือน ราวกับ คล้าย เฉก เช่น เพี้ยง ฯลฯ
    “สัตว์ในน้ำจำแพ้แก่ผีเสื้อ เปรียบเหมือนเนื้อเห็นพยัคฆ์ให้ชักหลัง”
    “สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา ดั่งเพชรรัตน์รูจี”
  • อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบสองสิ่งที่ต่างกัน แต่มีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน โดยเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งหนึ่งโดยตรง หรือเปรียบโดยใช้คำว่า “คือ” “เป็น”
    “ขอลาแก้วแววตาไปธานี อย่าราคีขุ่นข้องให้หมองมัว”
    “ความรู้คู่เปรียบด้วย กำลัง กายแฮ (อุปมา)
    สุจริตคือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง (อุปลักษณ์)
    ปัญญาประดุจดัง อาวุธ (อุปมา)
    สติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม” (อุปมา)
  • บุคคลวัต หรือ บุคลาธิษฐาน คือการกล่าวถึงสิ่งที่มิใช่มนุษย์ราวกับเป็นมนุษย์ โดยการใช้คำที่แสดงกิริยาอาการ การกระทำ ความรู้สึกนึกคิดแบบมนุษย์
    “โทสะอาจจะโดดโลดข้ารั้ว ไม่เกรงกลัวบัญญัติเลย”
    “สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย อ่อนเอียงเพียงปลาย
    ประนอมประนมชมชัย” ( ภูเขาสัตภัณฑ์น้อมไหว้)
    “กระต่ายตัวหนึ่งยิ้มเยาะเต่าว่า เท้าสั้น เดินก็ช้า”
  • สัทพจน์ คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น โครมๆ เปรี้ยงๆ แปร๊นๆ โฮกๆ ฯลฯ
    “ดูงูขู่ฟูดฟู่ พรูพรู”
    “ถ้วยชามกลิ้งฉิ่งฉ่างเสียงกร่างโกรง นาวาโคลงโคลนเลอะตลอดแคม”
    “บ้างก่งคอคูคูกุกกูไป ฝูงเขาไฟฟุบแฝงที่แฝกฟาง”
  • อธิพจน์ คือ การกล่าวที่เกินความจริง เช่น
    “เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนั่นใน
    พิภพเพียงทำลาย”
    “เรียมร่ำน้ำเนตรถ้วม ถึงพรหม
    พาเทพเจ้าจ่อมจม ชีพม้วย
    พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงนา
    หากอกนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง”
    “อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย