วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
สมบัติของวรรณคดีไทย
วรรณคดีวิจักษ์ ม.3
ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย
อิศรญาณภาษิต
ผู้ประพันธ์ หม่อมเจ้าอิศรญาณ (ไม่ทราบพระนามเดิม)
เป็นโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ พระองค์ทรงผนวชที่วัดบวรนิเวศ
มีพระนามฉายาว่า อิสสรญาโณ
มีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
อิศรญาณภาษิตมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เพลงยาวเจ้าอิศรญาณ หรือ
ภาษิตอิศรญาณ
ลักษณะคำประพันธ์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภท กลอนเพลงยาว
ซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่จะขึ้นบทแรกด้วยวรรครับ และจบด้วยคำว่า เอย
อิศรญาณภาษิตมีเนื้อหาที่เป็นคำสั่งสอนแบบเตือนสติ
และแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติให้เป็นที่พอใจของผู้อื่น
โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจมากกว่า
สอนว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากภัยแก่ตน
ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จสมหวัง
บางตอนก็เน้นเรื่องการเห็นคุณค่าและความสำคัญของผู้อื่น
โดยไม่สบประมาทหรือดูแคลนกัน ทั้งนี้ การสอนบางครั้งอาจเป็นการบอกตรงๆ
หรือบางครั้งก็สอนโดยคำประชดประชันเหน็บแนมซึ่งอาจเป็นเพราะชาวบ้านพากันกล่าวว่าพระจริตของหม่อมเจ้าอิศรญาณไม่ค่อยปกตินัก
คาดว่าหากเป็นสมัยนี้ คงจะเห็นว่าท่านเพี้ยนๆ ไม่ใช่เสียสติ
ครั้งหนึ่งทรงทำอะไรวิปริตไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรัสประภาษว่า
"บ้า" คนอื่นๆ ก็พลอยเห็นตามนั้นไปด้วย หม่อมเจ้าอิศรญาณ น้อยพระทัย
จึงทรงแต่งเรื่องนี้ขึ้นเป็นภาษิต ในตอนหนึ่งมีทำนองเปรียบเปรยกระทบเรื่องนี้ว่า
เจ้าว่างามก็ต้องงามไปตามเจ้า ก็ใครเล่าจะไม่งามตามเสด็จ
บทนี้สอนว่าการคล้อยตามคนใหญ่คนโต ไม่ว่านายจะทำอะไรลูกน้องก็เห็นดีเห็นงาม
ตามไปหมด เป็นเรื่องที่เห็นได้ทุกยุคทุกสมัย
ไม่ว่าประเทศไหนหรือระบอบการปกครองแบบไหน
ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาศัย
เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ
หากนักเรียนกำลังทะเลาะอยู่กับใคร ลองอ่านตอนนี้ดูบ้างอาจจะใจเย็นลงได้ เป็นบท
ที่ว่าด้วยการรักษาน้ำใจกันในฐานะเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน
เกิดเป็นคนเชิงดูให้รู้เท่า ใจของเราไม่สอนใจใครจะสอน
อยากใช้เขาเราต้องก้มประณมกร ใครเลยห่อนจะว่าตัวเป็นวัวมอ
บทนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันตัวเองและรู้ทันผู้อื่น
จะใช้ใครทำงานก็ต้องขอไหว้วานอย่างสุภาพเขาจึงจะยินดีร่วมมือด้วย
อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว จงฟังหูไว้หูคอยดูไป
เชื่อน้ำใจดีกว่าอย่าเชื่อยุ
บทนี้สอนให้หนักแน่นอย่าหูเบา
ถ้ารู้จริงนิ่งไว้อย่าไขรู้ เต็มที่ครู่เดียวเท่านั้นเขาสรรเสริญ
ไม่ควรก้ำเกินหน้าก็อย่าเกิน อย่าเพลิดเพลินคนชังนักคนรักน้อย
บทนี้สอนในเชิงว่า อย่าโอ้อวดข่มคนอื่น เพราะจะไม่มีใครชอบ
ล้องูเห่าเล่นก็ได้ใจกล้ากล้า แต่ว่าอย่ายักเยื้องเข้าเบื้องหาง
ต้องว่องไวในทำนองคล่องท่าทาง ตบหัวผางเดียวม้วนจึงควรล้อ
บทนี้เสนอแนะวิธี ล้องูเห่าเล่น
สำหรับผู้ที่เชื่อมั่นว่าตนเองเก่งคิดจะลองดีใคร ให้ถึงที่สุด
หากเชื่อมือว่าตนสามารถเอาชนะคนเก่งได้ คือต้องรู้จุดอ่อนของคนเก่งที่เราจะไป
ลองดีเขาว่าจะปราบให้ลงได้ด้วยวิธีใด ถ้าไม่รู้แต่ไปลองดี
อาจจะถูกตีกลับมาตายได้ง่ายๆ
เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา
ใครทำตึงแล้วก็หย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง
บทนี้สอนให้เรารู้เท่าทันความเขลาและความบกพร่องของมนุษย์
เพื่อจะได้ฝ่าฟันอุปสรรค ให้ลุล่วงไปได้
แต่ในเวลาเดียวกันก็ให้เราเรียนรู้ที่จะประนีประนอมอยู่ร่วมกับคนเหล่านั้น
อย่างไม่เดือดร้อนจนเกินไป
อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย น้ำตาลย้อยมากเมื่อไรได้หนักหนา
อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน
บทนี้เตือนให้เราไม่ลืมที่จะย้อนกลับมาทบทวนพิจารณาตัวเองด้วยความรอบคอบ
ไม่ใช่แต่จะคอยเพ่งมองแต่ความดีหรือไม่ดีของคนอื่นฝ่ายเดียว
เห็นแก่ลูก
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร
พระบรมราโชวาท
อิศรญาณภาษิต
บทพากย์เอราวัณ