วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
สมบัติของวรรณคดีไทย
วรรณคดีวิจักษ์ ม.3
ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย
เนื้อหาของวรรณคดีไทย
เห็นแก่ลูก
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6
ทรงใช้พระนามแฝงว่า พระขรรค์เพชร
ลักษณะคำประพันธ์
บทละครพูดขนาดสั้น
นายล้ำ(ทิพเดชะ) เพื่อนเก่าของพระยาภักดีนฤนาถต้องโทษถูกจำคุกเป็นเวลาสิบปี
เมื่อพ้นโทษก็ไปค้าขายฝิ่นกับจีนกิมจีนเง็กที่พิษณุโลก
ในที่สุดก็ถูกจับกุมส่วนนายล้ำหมอความช่วยให้พ้นคดี นายล้ำหมดตัว
จึงคิดมาบอกความจริงกับลูกว่าตนคือพ่อของแม่ลออ
เพื่อหวังพึ่งพิงลูกซึ่งกำลังจะแต่งงานกับนายทองคำลูกเจ้าคุณรณชิต ซึ่งมีฐานะดี
นายล้ำจึงมาหาพระยาภักดีเพื่อขอพบแม่ลออซึ่งแม่นวลภรรยานายล้ำ
มาฝากฝังให้พระยาภักดีในฐานะคนที่เคยรักกัน ดูแลก่อนที่นางจะเสียชีวิต
พระยาภักดีเตือนนายล้ำไม่ให้บอกความจริงแก่แม่ลออเพราะเกรงว่า
จะทำให้แม่ลออต้องอับอายและถูกสังคมรังเกียจ นายล้ำไม่เชื่อ
พระยาภักดีจึงยื่นข้อเสนอให้เงินหนึ่งร้อยชั่ง นายล้ำก็ไม่รับ
พระยาภักดีโกรธหยิบแส้หางม้าเพื่อจะฟาดนายล้ำ พอดีแม่ลออกลับมา
และเข้ามาทักทายนายล้ำ และคุยถึงพ่อของเธอที่พระยาภักดีบอกว่าตายไปแล้ว ว่าเป็นคนดี
ใครบอกว่าเป็นคนไม่ดีจะไม่ยอมเชื่อเด็ดขาด นายล้ำเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
จึงเปลี่ยนจาก ความเห็นแก่ตัว เป็น ความเห็นแก่ลูก จึงไม่บอกความจริง
และได้มอบแหวนของแม่นวลฝากพระยาภักดีให้แก่แม่ลออเป็นของรับไหว้และพระยาภักดีได้มอบรูปถ่ายแม่ลออ
ให้นายล้ำ นายล้ำก็ลาจากไปอย่างเงียบๆ
เห็นแก่ลูก
พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร
พระบรมราโชวาท
อิศรญาณภาษิต
บทพากย์เอราวัณ