สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

 สังคมศึกษา
(มัธยมศึกษาตอนปลาย)

สภาพภูมิศาสตร์กายภาพ
ลักษณะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญและการป้องกันอันตราย
วิธีใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประชาชนชุมชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน

สภาพภูมิศาสตร์กายภาพ

ทวีปยุโรป

1. ขนาดที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานทั้งในด้านลักษณะภูมิประเทศทีมีราบลุ่ม เทือกเขาที่ไม่ตั้งกั้นทางลม มีแม่น้ำหลายสาย ลักษณะภูมิอากาศที่อบอุ่น ชุ่มชื่น มีทรัพยากรธรรมชาติ คือ เหล็กและถ่านหิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จึงส่งผลให้ทวีปยุโรปมีประชากรตั้งถิ่นฐานหนาแน่นที่สุดในโลก อีกทั้งเป็นทวีปที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่ คือ อารยธรรมกรีกและโรมัน

ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 36 องศา 1 ลิปดาเหนือถึง 71 องศา 10 ลิปดาเหนือและระหว่างลองติจูด 9 องศาตะวันตก ถึง 66 องศาตะวันออก จากพิกัดภูมิศาสตร์จะสังเกตได้ว่า ทวีปยุโรปมีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในซีกโลกเหนือและอยู่เหนือเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์มีเส้นสำคัญที่ลากผ่านคือ เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลและเส้นลองติจูดที่ 0 องศา มีเนื้อที่ประมาณ 9.9 ล้านตารางกิโลเมตร จึงเป็นทวีปที่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดเล็กรองจากทวีปออสเตรเลีย

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติกและขั้วโลกเหนือ จุดเหนือสุดอยู่ที่แหลมนอร์ท (North Cape) ในประเทนอร์เวย์
ทิศใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดใต้สุดอยู่ที่เกาะครีต ประเทศกรีช
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือเขาอูราล เทือกเขาคอเคซัสและทะเลแคสเปียนเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันตกสุดของทวีปอยู่ที่แหลมโรคาประเทศโปรตุเกส

2. ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 4 เขต ได้แก่

  1. เขตเทือกเขาตอนเหนือ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ภูมิประเทศส่วนมากประกอบด้วยเทือกเขาสูงและที่ราบชายฝั่งทะเล เทือกเขาที่สำคัญในบริเวณนี้ได้แก่ เทือกเขาเซอรอนและเทือกเขาแกรมเปียน เนื่องจากทวีปยุโรปเคยถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งมาก่อน บริเวณชายฝั่งทะเลถูกธารน้ำแข็งกัดเซาะและทับถับ ทำให้เกิดชายฝั่งเว้าแหว่งและอ่าวน้ำลึกที่เรียกว่า ฟยอร์ด พบมากในประเทศนอร์เวย์และแคว้นสกอตแลนด์
  2. เขตที่ราบสูงตอนกลาง ประกอบด้วยที่ราบสูงสำคัญ ได้แก่ ราบสูงแบล็กฟอเรสต์ตอนใต้ของเยอรมันนี ที่ราบสูงโบฮีเมีย เขตติดต่อระหว่างเยอรมันนีและสาธารณรัฐเช็คที่ราบเมเซตา ภาคกลางของคาบสมุทรไดบีเรีย ในเขตประเทศสเปนและโปรตุเกส ที่ราบสูงมัสชีพของตรัล ตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส
  3. เขตที่ราบตอนกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงเทือกเขาอูราลในรัสเซีย ตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนใต้ของสหราชอาณาจักรเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมารก์ ภาคเหนือของเยอรมันนีโปแลนด์และบางส่วนของรัสเซียเป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของทวีปในบริเวณนี้มีแม่น้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเชน แม่น้ำลัวร์ และแม่น้ำเอลเบ
  4. เขตเทือกเขาตอนใต้ ประกอบด้วยเทือกเขาสูง เทือกเขาที่สำคัญในบริเวณนี้ได้แก่ เทือกเขาแอลป์ ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ทอดตัวยาวตั้งแต่ตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ผ่านสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมันนี ออสเตรีย เซอร์เบีย ไปจนถึงทางเหนือของอิตาลี บริเวณยอดเขามีธารน้ำแข็งปกคลุมเกือบตอลดทั้งปี บางช่วงเป็นหุบเขาลึก ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์ คือ มองต์บลังก์ สูง 4,807 เมตร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยยอดเขาคอเคซัส ทางตอนใต้ของรัสเซียมียอดเขาเอลบรูส สูง 5,642 เมตร ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป

แม่น้ำ แม่น้ำที่สำคัญในทวีปยุโรป มีดังนี้

  1. แม่น้ำโวลกา เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดในทวีป มีต้นน้ำอยู่บริเวณตอนกลางของสหพันธรัสเซียไหลลงสู่ทะเลแคสเปียน
  2. แม่น้ำดานูบ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาทางภาคใต้ของเยอรมัน ไหลผ่านประเทศออสเตรีย ฮังการี ยูโกสลาเวีย พรมแดนระหว่างประเทศบัลแกเรียกับประเทศโรมาเนีย แล้วไหลลงสู่ทะเลดำ แม่น้ำดานูบเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านหลายประเทศ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติแต่ในด้านความสำคัญของการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมนั้นมีไม่มากเท่ากับแม่น้ำไรน์ เนื่องจากแม่น้ำดานูบไหลออกสู่ทะเลดำซึ่งเป็นทะเลภายใน
  3. แม่น้ำไรน์ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอลป์ทางตอนใต้ของสวิสเซอร์แลนด์ ไหลขึ้นไปทางเหนือระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและเยอรมันไปยังเนเธอร์แลนด์ แล้วไหลลงทะเลเหนือ แม่น้ำไรน์เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญมาก มีปริมาณน้ำไหลสม่ำเสมอ ไหลผ่านที่ราบและไหลผ่านหลายประเทศจึงถือว่าเป็นแม่น้ำนานาชาติ และยังเป็นเส้นทางขนส่งวัตถุดิบและสินค้าที่สำคัญ คือ ถ่านหิน แร่เหล็ก และแป้งสาลี โดยเฉพาะการขนส่งถ่านหินซึ่งมีปริมาณมากในย่านอุตสาหกรรม ถ่านหินของเยอรมัน แม่น้ำสายนี้จึงได้รับสมญานามว่า “แม่น้ำถ่านหิน” การขนส่งสินค้าผ่านทางแม่น้ำไรน์นี้ จะออกสู่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นที่ต้องของเมืองท่ารอตเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของทวีป

3. ลักษณะภูมิอากาศ เขตอากาศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาคอากาศของทวีปยุโรป

  1. ละติจูด ทวีปยุโรปมีที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 36 องศา 1 ลิปดาเหนือ ถึง 71 องศา 10 ลิปดาเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น มีเพียงตอนบนของทวีปที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเย็นและ ไม่มีส่วนใดของทวีปที่อยู่ในเขตอากาศร้อน
  2. ลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านทวีปยุโรป คือ ลมตะวันตก ซึ่งพัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่ทวีปทางด้านตะวันตก มีผลทำให้บริเวณฝั่งตะวันตกของทวีปมีปริมาณฝนค่อนข้างมาก อุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าลึกเข้ามาภายในทางด้านตะวันออกของทวีปซึ่งติดกับทวีปเอเชียนั้น ปริมาณฝนจะลดลงและจะมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูฝนมากขึ้นด้วย
  3. ความใกล้ไกลทะเล ทวีปยุโรปมีชายฝั่งทะเลยาวและเว้าแหว่ง ประกอบกับการมีพื้นที่ติดทะเลถึง 3 ด้าน ทำให้ได้รับอิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทรอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง ดังนั้นจึงไม่มีพื้นที่ใดในทวีปยุโรปที่มีภูมิอากาศแห้งแล้ง
  4. ทิศทางของเทือกเขา เทือกเขาส่วนใหญ่ในทวีป วางตัวในแนวทิศตะวันออกตะวันตก ทำให้ไม่กั้นขวางทางลมตะวันตกที่พัดเข้าสู่ทวีป
  5. กระแสน้ำในมหาสมุทร บริเวณชายฝั่งมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหลผ่านทางตะวันตกและตะวัตกเฉียงเหนือของทวีป ทำให้น่านน้ำบริเวณเกาะบริเตนใหญ่และประเทศนอร์เวย์ไม่เป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว จึงแตกต่างจากบริเวณทะเลบอลติกที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง ทำให้ประเทศสวีเดน ต้องเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งสินค้าจากทางเรือไปเป็นการขนส่งโดยใช้เส้นทางรถไฟจากสวีเดนไปยังนอร์เวย์แล้วจึงนำสินค้าลงเรือที่เมืองท่าประเทศนอร์เวย์

เขตภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 7 เขต ได้แก่

  1. ภูมิอากาศแบบทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเขตประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส ภาคใต้ของสเปน แอลเบเนีย กรีซ บัลแกเรีย และเซอร์เบีย ฤดูร้อนมีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 23 องศาเซสเซียส ในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นและมีฝนตกอุณหภูมิเฉลี่ย 8 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี
  2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่ บริเวณภาคกลางของคาบสมุทรไอบีเรีย ตอนเหนือของทะเลดำและทะเลแคสเปียน ในเขตประเทศฮังการี ยูเครน โรมาเนีย และตอนใต้ของรัสเซีย มีฝนตกน้อยมาก เฉลี่ยปีละ 250-500 มิลลิเมตรต่อปี
  3. ภูมิอากาศภาคแบบพื้นสมุทร ได้แก่ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก เบลเยี่ยม และตอนเหนือของเยอรมนี มีฝนตกชุดตลอดทั้งปีเฉลี่ย 750-1,500 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 1-7 องศาเซลเซียส เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือ
  4. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดานูบในฮังการีตอนเหนือของเซอร์เบียและโรมาเนีย มีอากาศอบอุ่นฝนตกตลอดทั้งปีเฉลี่ย 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี เนื่องจากได้รับอิทธิพลความชื้นจากทะเล
  5. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ได้แก่ ยุโรปตะวันออก และยุโรปกลาง รัสเซีย สาธารณรัฐเซ็ก สโลวักและโปแลนด์ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวและแห้งแล้ง ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นและมีฝนตก อุณหภูมิเฉลี่ย 19-20 องศาเซลเซียส ปริมาณฝน 500-750 มิลลิเมตรต่อปี
  6. ภูมิอากาศแบบไทกา ได้แก่ ตอนเหนือของฟินแลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็นและยาวนาน อุณหภูมิเฉลี่ย 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนอากาศอบอุ่นอุณหภูมิเฉลี่ย 17 องศาเซลเซียส มีปริมาณฝนตกน้อยและส่วนมากเป็นหิมะเฉลี่ย 600 มิลลิเมตรต่อปี
  7. ภูมิอากาศแบบขั้วโลกหรือภูมิอากาศแบบทุนดรา ได้แก่ ทางเหนือของทวีปที่มีชาวฝั่งติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัดและยาวนานปีละ 10-11 เดือน ฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นและสั้นเพียง 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกน้อยมากและส่วนมากเป็นหิมะ

4. ลักษณะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม

ลักษณะเศรษฐกิจ
ทวีปยุโรปมีความเจริญทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยมีเขตเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ดังนี้

การทำเกษตรกรรม

  1. เขตปลูกข้าวสาลี ได้แก่ บริเวณที่ราบภาคกลาง โดยเฉพาะบริเวณประเทศฮังการี โรมาเนีย ยูเครน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวสาลีแหล่งใหญ่
  2. เขตทำไร่ปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะพบในบริเวณเขตอากาศแห้งแล้ง ไม่ค่อยเหมาะกับการเพาะปลูกแต่มีหญ้าที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลแคสเปียน และที่ราบสูงของทวีป สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ โคเนื้อ แกะ แพะ ส่วนการเลี้ยงโคนม จะพบบริเวณเขตอากาศชื้นภาคพื้นสมุทร เนื่องจากมีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์มากกว่า
  3. เขตเกษตรกรรมแบบผสม ได้แก่ เขตที่มีการเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการปลูกพืช เช่น การปลูกข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ การเลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม ซึ่งพบมากบริเวณภาคตะวันตก และภาคกลางของทวีป
  4. เขตเกษตรแบบเมดิเตอร์เรเนียน พบบริเวณเขตชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น อิตาลี กรีซ พืชสำคัญ ได้แก่ ส้ม องุ่น มะกอก
  5. เขตเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน มีการเลี้ยงสัตว์แบบที่มีการย้ายถิ่นที่อยู่เพื่อหาแหล่งอาหารแหล่งใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่า บริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน คือ บริเวณที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก หรือเขตอากาศแบบทุนดรา

การป่าไม้

แหล่งป่าไม้ที่สำคัญของทวีป คือ เขตภูมิอากาศแบบไทกา บริเวณคาบสมุทร สแกนดิเนเวีย ซึ่งจะมีป่าสนเป็นบริเวณกว้าง

การประมง

จากลักษณะภูมิประเทศของทวีปยุโรปที่มีชายฝั่งทะเลยาวและเว้าแหว่ง และติดทะเลทั้ง 3 ด้าน ประกอบกับการมีกระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือไหล่ผ่านทำให้ในฤดูหนาวน้ำไม่เป็นน้ำแข็ง จึงกลายเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของทวีป มีชื่อว่า “ดอกเกอร์แบงก์ (Dogger Bank)

การเหมืองแร่

ทวีปยุโรปมีทรัพยากรที่มีความสำคัญมากต่อการทำอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็กและถ่าน หิน

  • แร่ถ่าน – หิน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการถลุงเหล็ก โดยมีแหล่งถ่านหินที่สำคัญ เช่น ภาคเหนือของฝรั่งเศสและภาคกลางของเบลเยี่ยม เยอรมัน เป็นต้น
  • แร่เหล็ก – เมื่อผ่านการถลุงแล้วจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า โดยมีแหล่งแร่เหล็กที่สำคัญ เช่น ประเทศสวีเดน ฝรั่งเศส

น้ำมันปิโตรเลียมมี 2 แหล่งที่สำคัญ คือ ทะเลเหนือ และทะเลดำ

การอุตสาหกรรม

ทวีปยุโรปเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ประเทศที่มีชื่อเสียงมาก คือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สวีเดน โดยบริเวณนี้จะมีแร่เหล็กและถ่านหินซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการทำอุตสาหกรรม



สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม

ประชากร

  • มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก และหนาแน่นมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
  • มีการกระจายประชากรทั่วทั้งทวีป เนื่องจากความเหมาะสมในด้านสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทรัพยากร
  • บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น คือ บริเวณที่ราบภาคตะวันตกและภาคกลางของทวีปส่วนบริเวณที่มีประชากรเบาบาง คือ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย และเขตยุโรปตะวันออก

ประวัติศาสตร์ แบ่งได้ 3 สมัยคือ

  • สมัยโบราณ หรือ อารยธรรมสมัยคลาสสิค มีกรีกและโรมันเป็นศูนย์กลางความเจริญ โดยตั้งมั่นอยู่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรปในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    กรีก - ชนชาติกรีกได้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไว้หลายประการ ได้แก่

    - การปกครอง ชาวกรีกได้ให้สิทธิราษฎรในการลงคะแนนเสียงเลือกเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครอง
    - ศิลปวัฒนธรรม ชาวกรีกมีความสามารถในด้านวรรณคดี การละคร และ สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง คือ วิหารพาเธนอน นอกจากนี้ยังมีการ แข่งขันกีฬาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ กีฬาโอลิมปิก
    - ปรัชญาความคิด นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียง คือ อริสโตเติล และเพลโต

    โรมัน ชนชาติดรมันได้รับความเจริญต่าง ๆ จากกรีก สิ่งที่ชาวโรมันได้ถ่ายทอดให้กับชนรุ่นหลังคือ ประมวลกฎหมาย และภาษาละติน
  • ในช่วงนี้ยุโรปมีศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จนทำให้การพัฒนาด้านต่าง ๆ ต้องหยุดชะงัก ยุคนี้จึงได้ชื่อว่าเป็น “ยุคมืด” หลังจากผ่านพ้นช่วงสงครามจึงเป็นช่วงของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเริ่มให้ความสำคัญกับมนุษย์มากขึ้น เรียกยุคนี้ว่า Renaissance
  • ยุคนี้เป็นยุคแห่งการแสวงหาอาณานิคม ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของชาติตะวันตกแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์สำคัญ คือ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์และการปฏิวัติอุตสาหกรรม
ประเทศไทย
ทวีปเอเซีย
ทวีปยุโรป
ทวีปอเมริกาใต้
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปแอฟริกา
ทวีปออสเตรเลียและโอเซียเนีย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย