สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

 สังคมศึกษา
(มัธยมศึกษาตอนปลาย)

สภาพภูมิศาสตร์กายภาพ
ลักษณะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญและการป้องกันอันตราย
วิธีใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประชาชนชุมชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน

สภาพภูมิศาสตร์กายภาพ

ทวีปแอฟริกา

1. ขนาดที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ

ทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 30.3 ล้านตรารางกิโลเมตร มีประชากร 600 ล้านคน อยู่ระหว่างละติจูดที่ 37 องศา 21 ลิปดาเหนือ ถึง 34 องศา 50 ลิปดาใต้ ลองติจูดที่ 51 องศา 24 ลิปดาตะวันออกถึง 17 องศา 32 ลิปดา

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในมหาสมุทรแอตแลนติก ช่องแคบยิบรอลตาร์ จุดเหนือสุดของทวีปอยู่ที่แหลมบอน ประเทศตูนิเซีย
ทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรอินเดีย จุดใต้สุดของทวีปอยุ่ที่แหลมอะกอลฮัส (Agulhas) ในประเทศแอฟริกาใต้
ทิศตะวันออก ติดกับทะเลแดง ในมหาสมุทรอินเดีย จุดตะวันออกสุดของทวีปอยู่ที่แหลม ฮาฟูน ประเทศโซมาเลีย
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันตกสุดของทวีปอยู่ที่แหลมเวิร์ดประเทศเซเนกัล

2. ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศทวีปแอฟริกาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1. เขตที่ราบสูง พื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปเป็นที่ราบสูง จนได้รับสมญาว่าเป็น ทวีปแห่งที่ราบสูงโดยทางซีกตะวันออกจะสูงกว่าซีกตะวันตก ลักษณะเด่นของบริเวณที่ราบสูงทางภาคตะวันออกของทวีป คือ เป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสูง และภูเขาไฟ ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียง คือ ภูเขาคิลิมันจาโร (แทนซาเนีย) และมีทะเลสาบหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบวิคตอเรีย (ทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก) ทะเลสาบแทนแกนยิกาและทะเลสาบไนอะซา

2. เขตที่ราบ ทวีปแอฟริกามีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่งทะเล
3. เขตเทือกเขา

  • เขตเทือกเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ คือ เทือกเขาแอตลาส วางตัวขนานกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นเทือกเขายุคใหม่
  • เทือกเขาทางทิศใต้ คือ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก วางตัวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย เป็นเทือกเขายุคเก่า

แม่น้ำ แม่น้ำในทวีแอฟริกาส่วนใหญ่เกิดจากที่ราบสูงตอนกลาง และทางตะวันออกของทวีป ซึ่งมีฝนตกชุก เนื่องจากพื้นที่ต่างระดับ แม่น้ำจึงกัดเซาะพื้นที่ให้เกิดเป็นแก่ง น้ำตกขวางลำน้ำ จึงเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม แต่สามารถใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้

 

แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่

  • แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบด้วยแควสำคัญ คือ ไวท์ไนว์ บลูไนล์และอัตบารา ปากแม่น้ำเป็นเดลต้า
  • แม่น้ำซาอีร์ (คองโก้) เป็นแม่น้ำสายยาวอันดับ 2 ของทวีป และเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กว้างขวาง น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
  • แม่น้ำไนเจอร์ ไหลลงสู่อ่าวกินี
  • แม่น้ำแซมเบซี ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดีย ไหลผ่านที่ราบสูงและไหลเชี่ยวมาก

3. ลักษณะภูมิอากาศ เขตอากาศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปแอฟริกา

  • ละติจูด ทวีปแอฟริกามีเส้นศูนย์สูตรผ่านเกือบกึ่งกลางทวีป และตั้งอยู่ระหว่างเส้นทรอ ปิคออฟแคนเซอร์ กับเส้นทรอปิคออฟแคปริคอร์น ทำให้มีเขตอากาศร้อนเป็นบริเวณกว้าง มีเฉพาะส่วนเหนือสุดและใต้สุดที่อยู่ในเขตอบอุ่น

2. ลมประจำ มี 2 ชนิดคือ

ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดจากมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้ฝนชุกบริเวณชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้กับชายฝั่งอ่าวกินี
ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ พัดจากตอนในของทวีมาสู่ชายฝั่ง จึงนำความแห้งแล้งมาสู่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป

3. กระแสน้ำ ได้แก่

กระแสน้ำอุ่นกินี ไหลผ่านชายฝั่งตะวันตกจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังอ่าวกินี
กระแสน้ำเย็นคานารี ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป
กระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป
กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลผ่านบริเวณช่องแคบโมซัมบิก

4. ระยะห่างจากทะเล ด้วยความกว้างใหญ่ของทวีป การมีที่สูงอยู่โดยรอบทวีปทำให้อิทธิพลของมหาสมุทรเข้าไปไม่ถึง ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากทะเลทรายของทวีปเอเชียทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป ทำให้ทวีปแอฟริกามีเขตภูมิอากาศแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง

ทวีปแอฟริกาสามรถแบ่งเขตอากาศได้เป็น 8 เขตดังนี้

  1. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ บริเวณทะเลทรายสะฮาราและทะเลทรายลิเบียทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศไนเจอร์ ชาด ลิเบีย มาลี บุร์กินาฟาโซ มอริเตเนีย คิดเป็นพื้นที่ร้อยละ 30 ของพื้นที่ในทวีปแอฟริกา และถือเป็นเขตทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ทะเลทรายที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง คือ ทะเลทรายกาลาฮารี ทางตอนใต้ของทวีป ในเขตประเทศบอตสวานาและนามิเบีย มีลักษณะอากาศร้อนและแห้งแล้งเฉลี่ยสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก มีฝนตกน้อย เฉลี่ยต่ำกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี
  2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่ บริเวณที่ราบสูงตอนในของทวีปชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัดและมีฝนตกแต่ไม่มากนักประมาณ 600 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด บางครั้งอาจถึงจุดเยือกแข็ง
  3. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ได้แก่ บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก ที่ราบสูงในแอฟริกาตะวันออก ฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ และชายฝั่งรอบอ่าวกินี มีอากาศร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส และฝนตกชุกตลอดทั้งปีมากถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
  4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ บริเวณเหนือและใต้แนวเส้นศูนย์สูตรในเขตประเทศเอธิโอเปีย ซูดาน เคนยา คองโก สาธารณรัฐคองโก แทนซาเนีย และด้านปลายลมของเกาะมาดากัสการ์ มีอุณหภูมิร้อนเกือบตลอดทั้งปี ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและมีฝนตกปริมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูหนาวมีอากาศหนาวและแห้งแล้ง
  5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศตูนิเซียแอลจีเรีย โมร็อกโก และตอนใต้ของประเทศแอฟริกาใต้ มีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมากนัก ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ในฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่นและมีฝนตก
  6. ภูมิอากาศแบบมรสุม ได้แก่ ประเทศไลบีเรีย และโกตดิวัวร์ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตกและกระแสน้ำอุ่นกินี ส่งผลให้มีฝนตกชุกประมาณ 2,500 มิลลิเมตรต่อปีและมีอากาศ ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส
  7. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่ บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป ในเขตประเทศแทนซาเนีย แซมเบีย โมซัมบิก ซิมบับเว มาลาวี สวาซิแลนด์ เลโซโท และแอฟริกาใต้ ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก และลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ในฤดูร้อนมีฝนตก
  8. ภูมิอากาศแบบภูเขา ได้แก่ ที่ราบสูงเอธิโอเปีย และที่ราบสูงเคนยา ทางตะวันออกของทวีป ลักษณะอากาศชื้นอยู่กับความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงขึ้นอากาศจะเย็นลง และมีปริมาณฝนตกน้อยลง

4. ลักษณะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม

ลักษณะเศรษฐกิจ

การเกษตรกรรม

1. การเพาะปลูกแบบยังชีพ เป็นการปลูกพืชเพื่อบริโภคภายในครอบครัว
2. การทำไร่ขนาดใหญ่ เป็นการเพาะปลูกเพื่อการค้า พืชที่ปลูก เช่น ยางพารา ปาล์ม น้ำมัน
3. การเกษตรแบบผสม คือ การเพาะปลูกแบบเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป พืชที่ปลูกคือ ข้าวโพด ข้าวสาลี สัตว์ที่เลี้ยง คือ โคเนื้อ โคนม แกะ
4. การเกษตรแบบเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีป
5. การทำไร่ปศุสัตว์ ส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยคือ การปล่อยให้สัตว์หากินใน ทุ่งหญ้าตามธรรมชาติ
6. การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน เป็นการเลี้ยงสัตว์ในพื้นทีที่เป็นทะเลทราย

การป่าไม้

พื้นที่ที่มีความสำคัญในการทำป่าไม้ คือ แอฟริกาตะวันตก แอฟริกากลาง ป่าไม้สวนใหญ่สูญเสียไปเนื่องจากการทำไร่เลื่อนลอยและการขาดการบำรุง

การล่าสัตว์และการประมง

ชนพื้นเมืองจะดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ ส่วนการประมงมีความสำคัญไม่มาก การประมงน้ำจืดจะทำตามลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ และทะเลสาบวิคตอเรีย ส่วนประมงน้ำเค็มมักจะทำบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นเบงเก-ลา ไหลผ่าน

การทำเหมืองแร่

เป็นทวีปที่มีสินแร่อยู่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ เพชร ทองคำ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

การอุตสาหกรรม

การทำอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตผลการเกษตร การอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเจริญมากนักเนื่องจากยังขาดเงินทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

ประชากร

- มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากทวีปเอเชีย
- ประชากรหนาแน่นบริเวณลุ่มแม่น้ำ และบริเวณชายฝั่งทะเล
- ประกอบด้วยเชื้อชาตินิกรอยด์และคอเคซอยด์

ประเทศไทย
ทวีปเอเซีย
ทวีปยุโรป
ทวีปอเมริกาใต้
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปแอฟริกา
ทวีปออสเตรเลียและโอเซียเนีย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย