สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
กองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1. กองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
หมายถึงเงินที่มีไว้สำหรับใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ประชาชนทั่วไปซึ่งได้รับความเสียหายต่อชีวิต
ร่างการ อนามัยหรือทรัพย์สินอันเป็นผลจากการที่สิ่งแวดล้อมเกิดเป็นพิษขึ้น
รวมตลอดจนถึงเพื่อใช้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่เสียหายซึ่งไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ
2.
ขอบเขตของกองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยเงินประเภทต่างๆ คือ
เงินที่เรียกเก็บจากการประกอบการประเภทต่างๆ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
เงินหรือทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้ เงินจากดอกผลของกองทุน
และเงินค่าปรับที่ได้จากบุคคลที่ทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
3.
ความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั้น
เนื่องจากการที่ศาลจะตัดสินให้บุคคลใดมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน
บุคคลนั้นจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าตนเองได้รับความเสียหายจริง
ซึ่งมักใช้เวลานานและค่อนข้างยากที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายจากสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นผู้ได้รับความเสียหายจึงมักไม่ได้รับเงินทดแทนหรือไม่มีทรัพย์พอในการใช้จ่ายดำเนินคดี
หรือทรัพยากรที่เสียหายก็ไม่มีผู้ใดรับผิดชอบลงทุนเพื่อฟื้นฟูสภาพให้เหมือนเดิม
4. ก่อน พ.สง 2518
การดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กระจายอยู่ตามหน่วยงานปฏิบัติต่างๆ
มิได้ประสานงานให้สอดคล้อง เพราะแต่ละหน่วยงานมีนโยบายในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน
รัฐจึงจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นเพื่อประสานงาน ศึกษาวิจัย
กำหนดแนวทางการควบคุมป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2518 ซึ่งองค์กรกลางดังกล่าวคือ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
5. จุดอ่อนของการดำเนินงานกับบุคคลที่ที่ทำความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ทางอาญาและทางแพ่งในประเทศไทยขณะนี้ เช่น
กำหมายให้สิทธิเฉพาะพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายเท่านั้นในการฟ้องร้อง
บุคคลอื่นที่มิได้เสียหายโดยตรงย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
และการฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมจะกระทำได้ต่อเมื่อเกิดความเสียหายแล้ว
ความหมายของกองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
กองทุนทดแทนความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยเงินประเภทต่างๆ
ดังต่อไปนี้ คือ
1. เงินที่เรียกเก็บจากการประกอบการประเภทต่างๆ
2. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
3. เงินหรือทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้
4. ดอกผลของกองทุนทดแทน
5. เงินค่าปรับที่ได้จากการกระทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
ความจำเป็นในการต้องจัดให้มีกองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ข้อดีของการจัดตั้งกองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมคือ
บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการทำลายสิ่งแวดล้อมมีโอกาสได้รับค่าสินไหมทดแทนได้เร็วยิ่งขึ้น
ข้อเสียของการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว
คือเป็นการเพิ่มภาระให้แก่รัฐบาลและผู้ประกอบการประเภทต่างๆ
ในอันที่จะต้องจัดหางบประมาณเพื่อสมทบให้แก่กองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
องค์กรกลางของรัฐเพื่อการแก้ไขปัญหาความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518
ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติม 2 ครั้ง
การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวในแต่ละครั้งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ คือ
ครั้งแรกเพิ่มอำนาจให้แก่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และนายกรัฐมนตรีเพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมบรรลุผลตามนโยบายและเป้าหมายที่ได้จัดวางไว้
ครั้งที่สองเพื่อโอนงานราชการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจากสำนักนายกรัฐมนตรี
ไปเป็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
จุดอ่อนของการฟ้องคดีเพื่อเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
การลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมไม่ใช่มาตรการทางกฏหมายที่ดีที่สุด
เพราะการลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้ช่วยให้สิ่งแวดล้อมที่เสียหายไปกลับคืนดีได้ดังเดิม
มาตรการทางกฏหมายที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมคือ
การกำหนดให้บุคคลที่ทำความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายสำหรับการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้กลับคืนดีดังเดิม
การก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อม
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
กองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม