สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1. บุคคลผู้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมนั้น
อาจมีผลต้องรับผิดทางแพ่งหรือทางอาญาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือควบคู่กันไป
2. อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทางอาญานั้น
พนักงานอัยการและผู้เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
ส่วนอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในทางแพ่งนั้น
อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
3. บทบัญญัติมาตรา 420
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อาจจะนำมาใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหายประเภทต่างๆ
ได้เกือบทั้งหมด ซึ่งรวมความถึงความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมด้วย
4. หลักเกณฑ์สำคัญที่จะก่อให้เกิดความรับผิดซานละเมิด ได้แก่
การกระทำของบุคคล (รวมถึงนิติบุคคล)
โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น
ซึ่งจะเป็นผลจากการกระทำของบุคคลนั้น
อำนาจในการฟ้องคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
นายวินัยเดินทางมาพบว่าฟาร์มเลี้ยงสุกรปล่อยน้ำเสียและของเสียต่างๆลงสู่ลำห้วยจนน้ำเกิดการเน่าเหม็น
และชาวบ้านบริเวณนั้นไม่สามารถใช้ประโยชน์จากลำน้ำในห้วยได้เหมือนเช่นเคย
นายวินัยไม่สามารถฟ้องคดีเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้เพราะกรณีไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดมาโต้แย้งสิทธิของนายวินัยแต่อย่างใด
(คือนายวินัยไม่ได้เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง)
กฎหมายที่จะนำมาฟ้องคดีเพื่อการเรียกร้องค่าเสียหาย
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องมีหลักเกณฑ์ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดตามกฏหมายดังต่อไปนี้
คือ
1. มีการกระทำของบุคคล
2. การกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
3. การกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
4. การกระทำนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น
5. ความเสียหายนั้นเป็นผลจากการกระทำของบุคคลนั้น
การก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อม
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
กองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม