สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1.
ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจำแนกออกได้ตามลักษณะความเป็นเจ้าของได้แก่ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของมหาชนซึ่งทุกคนมีสิทธิและสามารถใช้ร่วมกัน
เช่น อากาศ น้ำ ทะเล เป็นต้น
และทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของเอกชนซึ่งประชาชนบางพวกบางเหล่าเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้ใช้
เช่น สวนสาธารณะที่มีการเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจโดยเรียกเก็บค่าบริการ
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียกค่าสินไหมทดแทน จำแนกออกเป็น 2 ทฤษฎีที่สำคัญคือ
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสมหรือทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลและทฤษฎีเงื่อนไขหรือทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดเด็ดขาด
3. ทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลถือหลักว่า
ผู้กระทำจะจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะแต่ผลที่ตามปกติอันควรจะเกิดจากการกระทำของผู้นั้น
ไม่รวมถึงผลที่ไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเกิดความเสียหายต่อเนื่อง
4. ทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดเด็ดขาด
ถือหลักว่าถ้าไม่มีการกระทำแล้วความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นถ้ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น
ผู้กระทำผิดต้องรับผิดในผลเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
จากการกระทำของตนซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อเนื่องด้วย
ทฤษฎีว่าด้วยสิทธิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ความเสียหายต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของมหาชนที่เกิดขึ้นนั้นมักจะเกิดขึ้นกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมซึ่งบุคคลทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน
เช่น ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร อากาศ โบราณสถาน เหล่นนี้เป็นต้น
สำหรับประเทสไทยไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลที่ทำความเสียหายต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของมหาชนได้
เว้นแต่กรณีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับความเสียหายจากการทำลายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษจึงจะสามารถฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
ความเสียหายต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของเอกชนที่เกิดขึ้นนั้นส่วนมากจะเกิดจากทรัพยากรสิ่งแวดล้อมซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
เช่น อาคารบ้านเรือน ที่ดิน
สำหรับประเทศไทยความเสียหายต่อทรัพย์สินสิ่งแวดล้อมของเอกชนที่เกิดขึ้นนั้นมีกฎหมายให้อำนาจบุคคลที่ได้รับความเสียหายฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
ทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
ทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลมีหลักการสำคัญว่าผู้กระทำจะต้องรับผิดชอบเฉพาะแต่เหตุซึ่งตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่าเท่านั้น
โดยจะต้องคำนึงถึงความประมาทเลินเล่อของผู้กระทำด้วยว่าในพฤติการณ์เช่นนั้นบุคคลผู้กระทำจะทราบถึงข้อเท็จจริงหรือไม่ประการใด
ทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดเด็ดขาด
ทฤษฎีว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลมีข้อดีคือ
ผู้กระทำจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะแต่ผลเสียหายซึ่งตามปกติอันควรจะเกิดจากการกระทำของตนเองเท่านั้น
สำหรับข้อเสียของทฤษฎีนี้คือ
บางกรณีผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งเป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
ทฤษฎีความรับผิดเด็ดขาดมีข้อดีคือ
ผู้กระทำต้องรับผิดในผลการกระทำของตนเองเสมอ
หากปรากฏว่าการกระทำของบุคคลนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น
ส่วนข้อเสียของทฤษฎีนี้คือ
ผู้กระทำต้องรับผิดชอบในผลการกระทำของตนเองโดยไม่มีขอบเขตจำกัด
ซึ่งรวมตลอดถึงผลเสียหายซึ่งไม่มีบุคคลใดสามารถคาดหมายได้ด้วย
การก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อม
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
กองทุนทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม