สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ตัวอย่างการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
1.
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำแนกผลประโยชน์ของโครงการออกเป็น 4 ประเภท
และพยายามใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นพื้นฐานในการวัดผลประโยชน์
ผลการศึกษาว่าอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ให้ประโยชน์คุ้มค่า
2. การวิเคราห็ผลตอบแทนการลงทุนทางการศึกษานิยมคำนวณหาอัตราผลตอบแทนภายใน
ผลการศึกษาในประเทศไทยพบว่า
การลงทุนในระดับประถมศึกษาให้อัตราผลตอบแทนทางสังคมสูงสุด
และระดับอาชีวะศึกษาให้อัตราผลตอบแทนทางสังคมต่ำสุด
3. การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจของโครงการเชี่ยวหลาน
ประเมินผลประโยชน์ของโครงการจากการที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถูกลง
จากการที่ผลิตผลทางการเกษตรและการประมงเพิ่มขึ้น
ผลการวิเคราะห์พบว่าโครงการเชี่ยวหลานมีความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจสูงมาก
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การวัดผลประโยชน์ไม่ได้คำนึงถึง
(ก) ความเสี่ยงของการที่จะไม่มีน้ำในอ่างเก็บน้ำ
(ข)
การคำนวณค่าของเวลาโดยใช้อัตราค่าจ้างไม่ได้คำนึงถึงความพอใจหรือความทุกข์ส่วนเพิ่มจากการตักน้ำ
(ค) การสร้างอ่างเก็บน้ำอาจก่อให้เกิผลประทบภายนอกอื่นๆ เช่น
บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำใช้เป็นสถานที่พักผ่อนได้
หรืออาจก่อให้เกิดผลเสียคือน้ำท่วมที่นาของประชาชนบางกลุ่ม
อัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนทางการศึกษา
อัตราผลตอบแทนทางสังคมเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร
การคำนวณอัตราผลตอบแทนทางสังคมจึงคิดเฉพาะผลประโยชน์สุมธิทางเศรษฐกิจโดยตรง
(คือรายได้จากการทำงานเท่านั้น) การคำนวณดังกล่าวมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์อื่นๆ
ที่เกิดจากการศึกษา เช่น ความก้าวหน้าทางวิชาการ
การที่ระบอบการปกครองก้าวหน้าเพราะคนในสังคมมีการศึกษาสูงขึ้น เป็นต้น
โครงการอเนกประสงค์เชี่ยวหลาน
การวัดผลประโยชน์ของโครงการอเนกประสงค์เขื่อนเชี่ยวหลานนั้นมี 3 ส่วนคือ
(ก) ต้นทุนที่ประหยัดได้ถ้าสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 57 เมกะวัตต์
แทนการสร้างโรงงานพลังงานน้ำ
(ข) ผลประโยชน์สุทธิทางเกษตรเพิ่มขึ้น เพราะได้น้ำชลประทาน
(ค) ประโยชน์จากการประมงทั้งในอ่างเก็บน้ำและบริเวณใต้เขื่อน
วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ตัวอย่างการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์