สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์

วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์

1. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนในการวิเคราะห์ CBA มีอยู่อย่างน้อย 3 เกณฑ์ เกณฑ์ที่นิยมใช้มากที่สุดคือเกณฑ์มูลค่าปัจจุบันสุทธิสูงสุด

2. ถึงแม้ว่าโครงการลงทุนจะผลิตสินค้าหรือปัจจัยการผลิตที่มีการซื้อขายในตลาด แต่ถ้าโครงการลงทุนนั้นมีผลต่อราคาสินค้าและราคาปัจจัยการผลิต การประเมินผลประโยชน์และต้นทุนของโครงการจะต้องคิดถึงผลกระทบดังกล่าวด้วย

3. เมื่อราคาทรัพยากรในโครงการถูกบิดเบือน ต้องหาวิธีตีราคาใหม่ โดยใช้ราคาเงา

4. ในบางกรณีโครงการลงทุนก่อให้เกิดต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่ไม่มีตัวตนหรือวัดเป็นเงินไม่ได้ หรือโครงการลงทุนอาจก่อให้เกิดผลทางอ้อมต่อต้ตทุนและผลประโยชน์ในส่วนอื่นๆ ของระบบเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ CBA จะต้องอาศัยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เป็นแนวทางในการตีราคาต้นทุนหรือผลประโยชน์เหล่านั้น

5. การเลือกอัตราการคิดลดของสังคมเพื่อใช้ในการหาผลรวมของผลประโยชน์สุทธิของโครงการลงทุนต้องคำนึงถึงปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจริงในระบบเศรษฐกิจ นั่นคือความไม่สมบูรณ์หรือความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดเงินทุน

6. การคำนวณผลประโยชน์สุทธิของโครงการลงทุนต้องพิจารณาปัจจัยที่เกิดจากความเสี่ยงด้วย

เกณฑ์การตัดสินใจลงทุน

หลักเกณฑ์ที่นักเศรษฐศาสตร์นิยมใช้มากที่สุดในการเลือกโครงการลงทุน มีหลายหลักเกณฑ์ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เพราะว่าหลักเกณฑ์การตัดสินใจลงทุนอื่นๆ มีข้อบกพร่องมาก เช่น หลักอัตราส่วนผลตอบแทนภายในคำนวณยาก และมักจะให้ค่าเกินกว่าหนึ่งค่า ส่วนหลักอัตราส่วนระหว่างผลประโยชน์กับต้นทุนก็มีข้อเสียที่ว่าหลักเกณฑ์นี้ มิได้คำนึงถึงขนาดของโครงการลงทุน และค่าที่ได้จะไหวตัวต่อวิธีการวัดต้นทุนและผลประโยชน์มาก ส่วนหลักเกณฑ์มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิจะให้ค่า "กำไรทางสังคม" ที่ชัดเจนเพียงค่าเดียว จึงง่ายต่อการตัดสินใจลงทุน นอกจากนั้นถึงแม้ตลาดเงินทุน นอกจากนั้นถึงแม้ตลาดเงินทุนจะไม่สมบูรณ์ เกณฑ์ NPV จะให้ค่าที่ถูกต้องเสมอ

แต่ ตามหลักเกณฑ์ NPV ก็มีจุดอ่อนเช่น ถ้ามีโครงการอิสระหลายๆ โครงการซึ่งมีขนาดไม่เท่ากัน และรัฐบาลมีงบประมาณจำกัดไม่อาจเลือกลงทุนในทุกๆโครงการได้ ในกรณีนี้การเลือกโครงการลงทุนโดยอาศัยหลัก NPV อาจทำให้รัฐตัดสินใจลงทุนเพียงโครงการเดียว แต่ถ้าใช้หลักเกณฑ์ B/C ก่อนอาจลงทุนได้หลายโครงการ และสังคมจะได้ประโยชน์สุทธิสูง

การประเมินค่าสินค้าที่มีตลาด : กรณีราคาตลาดไม่ถูกบิดเบือน

ถ้าโครงการลงทุนทำให้สินค้าที่ผลิตโดยโครงการมีราคาลดลง ให้คำนวณหาพื้นที่ใต้เส้นอุปสงค์ที่อยู่ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อปริมาณใหม่และปริมาณเก่า
ส่วนการคำนวณต้นทุนของโครงการ เมื่อโครงการลงทุนทำให้ราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น ก็ให้หาพื้นที่ใต้เส้นต้นทุนปัจจัยส่วนเพิ่ม (Marginal Factor Cost=MFC) ที่อยู่ระหว่างปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิตปริมาณเดิม และปริมาณใหม่เมื่อราคาปัจจัยการผลิตเปลี่ยนแปลงไป

การประเมินค่าสินค้าที่มีตลาด : กรณีราคาตลาดถูกบิดเบือน

1. ตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้ราคาตลาดถูกบิดเบือน เช่น ภาษีการจำกัดปริมาณการส่งออกหรือการนำเข้า การควบคุมราคาสินค้า การจ่ายเงินอุดหนุนการผลิต

2. เมื่อตลาด ๆ หนึ่งถูกบิดเบือน วิธีการประเมินราคาปัจจัยการผลิตในตลาดดังกล่าวยึดแนวคิดดังต่อไปนี้ โครงการลงทุนต้องใช้ปัจจัยการผลิตจำนวนหนึ่ง ราคาเงาของปัจจัยนั้นจะเท่ากับค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาอุปทานของปัจจัย และราคาอุปสงค์ของปัจจัย ตัวถ่วงน้ำหนักคือ ปริมาณอุปทานปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อนำมาใช้ในโครงการนี้ และปริมาณอุปสงค์ต่อปัจจัยการผลิตที่ผู้ใช้อื่นๆ นอกโครงการลดปริมาณการใช้ลงเพื่อให้โครงการได้นำไปใช้

การประเมินค่าสินค้าที่ไม่มีตลาด

ค่าของเวลาเดินทางประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ

(1) เวลาดังกล่าวสามารถใช้ทำงานได้ ทำให้ได้รับรายได้สูงขึ้น ค่าของเวลาหนึ่งชั่วโมงก็คืออัตราค่าจ้างนั่นเอง
(2) ถ้าการทำงานก่อให้เกิดความสุขส่วนเพิ่ม (นอกจากได้เงิน) หรือก่อให้เกิดความทุกข์ส่วนเพิ่ม ค่าของเวลาเดินทางที่ประหยัดได้ส่วนนี้ก็คือมูลค่าของความสุขส่วนเพิ่มนั่นเอง
(3) ระหว่างการเดินทางก็อาจเกิดความสุขหรือความทุกข์ได้ ฉะนั้นค่าของเวลาเดินทางที่ประหยัดได้จะต้องรวมหรือหักค่าความสุขส่วนเพิ่มหรือความทุกข์ส่วนเพิ่มส่วนนี้ด้วย

การประเมินค่าของชีวิตสามารถประเมินจากค่าเงินชดเชยที่บุคคลยินดีจ่ายเพื่อรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หารด้วยโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

การประเมินค่าของสินค้าที่ไม่มีตลาดรองรับดังกล่าวข้างต้นยังมีข้อบกพร่องอีกมาก สูตรที่วัดข้างต้นเป็นเพียงความพยายามส่วนหนึ่งของนักเศรษฐศาสตร์ที่จะวัดมูลค่าของสินค้าที่ไม่มีตลาดจากมูลค่าของเงินจำนวนสูงสุดที่ได้รับประโยชน์ยินดีจ่ายเพื่อให้มีโครงการลงทุนเกิดขึ้น

การประเมินค่าผลประโยชน์และต้นทุนทางอ้อม

วิธีประเมินค่าใช้จ่ายหลักการเดียวกันกับการประเมินค่าสินค้าที่ไม่มีตลาด กล่าวคือให้ประเมินผลกระทบทางบวกจากมูลค่าของเงินจำนวนสูงสุดที่ผู้ได้รับประโยชน์ยินดีจ่ายเพื่อให้มีโครงการลงทุนเกิดขึ้น ส่วนการประเมินผลกระทบทางลบให้คิดจากจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้เสียหายต้องได้รับชดเชย

อัตราการคิดลดของสังคม

อัตราคิดลดทางสังคมจะสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ตลาดเงินทุนมีปัญหาอย่างไร หากตลาดเงินทุนขาดประสิทธิภาพเพราะปัญหาการสืบทอดมรดก ก็เป็นไปได้ว่าอัตราคิดลดทางสังคมจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตลาดได้

ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน

ต้นทุนของโครงการลงทุนของเอกชนไม่ต้องคิดค่าเสี่ยงเป็นกรณีพิเศษ ส่วนต้นทุนของโครงการลงทุนของรัฐจะต้องหักค่าความเสี่ยงออก ฉะนั้น ถ้าอัตราผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุนในโครงการ เอกชน เท่ากับ r อัตราผลตอบแทนจากการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนในโครงการของรัฐที่มีความเสี่ยงจะเท่ากับ r ลบด้วยอัตราการเสี่ยง วิธีคำนวณอัตราการเสี่ยง

พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์สวัสดิการในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ตัวอย่างการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย