สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์สวัสดิการในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
1. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
คือการประเมินผลประโยชน์สุทธิทางสังคมจากโครงการลงทุน ซึ่งเป็นโครงการขนาดเล็ก
เหตุผลสำคัญที่ต้องใช้เครื่องมือดังกล่าว
เกิดจากความจำเป็นในการตัดสินใจเลือกโครงการลงทุน เพราะทรัพยากรมีจำกัด
และกำไรตลาดที่ได้รับจากโครงการลงทุนไม่สามารถสะท้อนกำไรของสังคมได้
2.
นักวิชาการฝรั่งเศสเป็นบุคคลแรกที่เสนอแนะวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
แต่พัฒนา การของวิธีการวิเคราะห์เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาหลัง ค.ศ. 1936
และพัฒนาการของการนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
มาอธิบายการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์เพิ่งจะเกิดขึ้นในทศวรรษ 1950
3. ปรัชญาพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์คือ
ปรัชญาอรรถประโยชน์นิยม
ส่วนพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์สวัสดิการที่อยู่เบื้องหลังการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์คือ
หลักประสิทธิภาพสูงสุด
นิยามและเหตุผลที่ต้องใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
1. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์คือ การประเมินผลประโยชน์และต้นทุนสังคม
อันเกิดจากโครงการลงทุนที่มีขนาดเล็ก
2. เหตุผลที่ต้องมีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์มีดังนี้ ประการแรก
การที่รัฐบาลต้องเลือกลงทุนเฉพาะโครงการที่คุ้มทุน เนื่องจากปัญหาทรัพยากรมีจำกัด
ประการที่สอง
การลงทุนในหลายๆกรณีมีปัญหาว่าราคาตลาดไม่สามารถสะท้อนต้นทุนหรือผลประโยชน์ที่แท้จริงของสังคมได้
เช่น ปัญหาผลกระทบภายนอก ปัญหาการผลิตสินค้ามหาชน
ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของตลาดเงินทุน การกระจายรายได้ในระบบเศรษฐกิจไม่เหมาะสม
เป็นต้น
ประวัติโดยย่อของวิธีวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
สาเหตุที่ทำให้เกิดการคิดวิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ คือ
รัฐบาลมีความจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกลงทุนโครงการด้านสาธารณูปโภค เช่น สะพาน
การป้องกันน้ำท่วม
ดังนั้นจึงเกิดความพยายามที่จะหาวิธีการวิเคราะห์โครงการที่มีเหตุผลทางวิชาการขึ้น
พื้นฐานทางสวัสดิการของการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
1.
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานในการวัดประโยชน์สุทธิของโครงการที่มีต่อสังคม
คือ แนวคิดเกี่ยวกับส่วนเกินผู้บริโภค และต้นทุนส่วนเพิ่มของสังคม
หลักการสำคัญของทฤษฎีนี้ คือการเลือกโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพที่สุด
2. หลักการที่ใช้ทดสอบคือ หลักการชดเชยซึ่งคิดโดย คาลดอร์-ฮิคส์
หลักการชดเชยอาศัยหลักเกณฑ์ความเหนือกว่าที่เป็นไปได้แบบพาเรโต้
เป็นเครื่องมือในการทดสอบว่าโครงการลงทุนใดจะทำให้สังคมได้รับสวัสดิการสูงขึ้นกว่าเดิม
วิธีการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ตัวอย่างการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์