สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การชักนำให้เกิดสถาบัน
1.
การชักนำให้เกิดสถาบันใดสถาบันหนึ่งทำได้โดยการทำให้ผลตอบแทนจากการมีสถาบันนั้นมีมากกว่าค่าโสหุ้ยของสถาบัน
ซึ่งอาจทำได้โดยการแทรกแซงของรัฐบาลโดยตรงหรือการสนับสนุนโดยทางอ้อม
2.
รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการชักนำให้เกิดสถาบันบางชนิดซึ่งจะนำมาแก้ปัญหาบางอย่างในสังคม
รัฐบาลอาจจะเข้ามาแทรกแซงโดยตรงคือจัดตั้งสถาบันขึ้นมาเอง
หรือโดยอ้อมคือการปรับให้ผลประโยชน์ของสถาบันที่ต้องการมีมากกว่าค่าโสหุ้ย
3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจจะแก้ไขโดยการสร้างสถาบันบางอย่างขึ้นมา
การสร้างสถาบันนั้นอาจจะทำได้โดยการชักนำจากรัฐบาล
วิธีการชักนำให้เกิดสถาบัน
สถาบันจะเกิดขึ้นได้เมื่ออุปสงค์ของสถาบันมีมากพอที่จะครอบคลุมค่าโสหุ้ยของสถาบัน
การรวมตัวของเกษตรกรในการซื้อปัจจัยการผลิต และขายผลผลิตนั้น
ประกอบด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างรวมกันอยู่
ประโยชน์ที่ได้รับจากการซื้อปัจจัยในราคาถูก
และขายผลผลิตในราคาที่สูงขึ้นนั้นล้วนจัดเป็นส่วนหนึ่งของอุปสงค์ของสหกรณ์
แต่ขณะเดียวกันยิ่งมีกิจกรรมหลายอย่าง การบริหารงานก็จะยิ่งยุ่งยากขึ้น
จำนวนรายการยิ่งมีมากเท่าใด ค่าบริหารก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น
และความสามารถของผู้บริหารก็จะต้องสูงขึ้นด้วย การหาข่าวสารข้อมูล
ตลอดจนการติดตามให้สมาชิกมีความร่วมมือกันก็ทำได้ยากลพบากขึ้น
ฉะนั้นถ้าขาดผู้บริหารที่มีความสามารถ
การให้เงินสนันสนุนจัดตั้งเพังอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สถาบันนั้นๆ
ดำเนินสืบต่อไปได้ และที่สำคัญคือ
ระบบพ่อค้าคนกลางอันเป็นสถาบันที่มีอยู่เดิมนั้นสามารถให้ประโยชน์ต่อเกษตรกรมากกว่าระบบสหกรณ์
เพราะมีความคล่องตัวในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาต่างๆ
ทั้งทางด้านปัจจัยการผลิตและด้านผลผลิตที่คล่องตัวกว่าระบบสหกรณ์
การพัฒนาระบบสหกรณืจึงมีทางเป็นไปได้ต่อเมื่อสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่าระบบพ่อค้าคนกลางโดยมีค่าโสหุ้ยที่ต่ำกว่าเท่านั้น
บทบาทของรัฐบาลในการชักนำให้เกิดสถาบัน
1.
ในบางครั้งการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายรายได้ที่มีอยู่ในสังคมมิได้มีประสิทธิภาพ
เพราะสถาบันที่ทำหน้าที่นั้นไม่เหมาะสมหรือไม่มีอยู่
รัฐบาลอาจจะต้องทำหน้าที่ชักนำให้สถาบันเหล่านนั้นทำหน้าที่อย่างถูกต้อง
หรือเกิดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้นๆ
การชักนำนั้นรัฐบาลจะต้องศึกษาก่อนว่าสถาบันแบบใดจึงจะก่อให้เกิดสวัสดิการที่ดีที่สุดภายใต้ข้อจำกัดนี้
2. การชักนำให้เกิดสถาบันนั้นมีมีปัญหาอยู่ 3 ประการ คือ
ก. อะไรคือบทบาทที่เหมาะสมที่ต้องการ
ข. ค่าโสหุ้ยของการศึกษาและการชักนำซึ่งเกิดขึ้นในรัฐบาลเอง
ค. ผลกระทบของสถาบันที่จะสร้างขึ้นมานี้ต่อราคาสินค้าอื่น
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบันเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
แนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมี
การใช้สารเคมีอาจทำให้น้ำเป็นพิษ
และเมื่อน้ำนั้นไหลไปสู่ที่อื่นผู้ที่ใช้น้ำก็จะได้รับอันตราย
การควบคุมป้องกันอันตรายดังกล่าวอาจทำได้หลายวิธี คือ
1. ควบคุมชนิดของสารเคมีที่ใช้โดยให้ใช้ชนิดที่มีโทษน้อย
2. ควบคุมวิธีและปริมาณการใช้ของสารเคมี โดยการให้การศึกษาที่ถูกต้อง เช่น
ผู้ใช้สารเคมีจะต้องมีประกาศนียบัตรการอบรมการใช้สารเคมีต่างๆทั้งนี้ผู้ขายสารเคมีควรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม
3.
ให้ผู้ได้รับความเสียหายสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้
สถาบันเปรียบเทียบ
การชักนำให้เกิดสถาบัน