สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
1. สถาบันหมายถึงกฎระเบียบ ประเพณี
หรือวิธีถือปฏิบัติกันอย่างเป็นระบบเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์สถาบันเป็นการศึกษาว่าวงจรชีวิตของสถาบันต่างๆ
ถูกกำหนดด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง
ความเข้าใจนี้นอกจากจะสามารถใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมแล้ว
ยังสามารถที่จะใช้ในการวางวิธีการปฏิบัติในการแก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรในสังคมด้วย
2.
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบันหมายถึงการศึกษาเหตุผลและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการทำให้เกิด
การเติบโต และการเสื่อมสลายของสถาบันต่างๆ
โดยเฉพาะสถาบันสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ
3. แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบันแบ่งออกเป็น 2 แนวใหญ่ๆ คือ
แนวคิดที่ว่าสถาบันเป็นหน่วยตัดสินใจซึ่งมีจุดประสงค์และเป้าหมายของสถาบันนั้น
ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกในกลุ่มนั้น ส่วนอีกแนวคิดหนึ่ง
มองเห็นสถาบันเป็นผลซึ่งเกิดขึ้นจากความต้องการของสมาชิกแต่ละคน
4. การจัดสรรทรัพยากรในสังคมนั้น
กระทำโดยสถาบันที่เป็นตลาดและที่ไม่ใช่ตลาด
ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายซึ่งระบบตลาดยังไม่ขยายใหญ่โต
สถาบันต่างๆมีบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรมากกว่าบทบาทบทของระบบตลาด
ความหมายของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
สถาบันคือ กฎระเบียบหรือแบบแผนประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นระบบ
เศรษฐศาสตร์จะอธิบาย วัฏจักรชีวิตของสถาบันต่างๆ ด้วยการศึกษาว่า
ปัจจัยทางเศรษฐกิจจะมีผลกระทบอย่างไรในการผลักดันให้เกิดสถาบันหนึ่งๆ ขึ้น
ตลอดจนสถาบันนั้นจะเสื่อมไปด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง
แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบันมี 2 แนวคือ
1. แนวคิดที่ว่าสถาบันเป็นส่วนประกอบของสมาชิกในสังคม
สถาบันเกิดขึ้นมาจากการแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุดของสมาชิกในสังคม
ดังนั้นเมื่อผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคมเปลี่ยนแปลงไป สถาบันจะเปลี่ยนไปด้วย
2. แนวคิดที่ว่าสถาบันเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม เช่น
ครอบครัวกำหนดบทบาทของสมาชิกในครอบครัวเป็นต้น
การจัดสรรทรัพยากรของสถาบันต่างๆ ทั้งที่เป็นตลาดและที่ไม่ใช่ตลาด
การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่มีมาตรฐานแน่นอน
คือมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ เช่น ยาสีฟัน ผงซักฟอก เป็นต้น
เราไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องคุณภาพ เมื่อเราเชื่อมั่นคุณภาพ ครั้งต่อๆไป
เราก็จะซื้อสินค้าตรานั้น ยี่ห้อนั้นอีก แต่การซื้อผัก ผลไม้สดซึ่งคุณภาพไม่คงที่
ผู้ขายมักจะมีความรู้ในสินค้าดีกว่าผู้ซื้อ
การเป็นลูกค้าประจำทำให้ผู้ขายใช้ความรู้นั้นเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าด้วย
เพราะหวังว่าลูกค้านั้นจะกลับมาอีก
กำไรที่คาดว่าจะด้ในอนาคตถ้ามีสูงกว่ากำไรที่ผู้ขายจะสามารถได้จากผู้ซื้อไปในวันนั้นวันเดียวอาจจะต่ำกว่าที่เขาคาดว่าจะได้จากเราในอนาคต
ดังนั้นจึงเกิดระบบเจ้าประจำและลูกค้าประจำขึ้น
เพื่อจัดสรรความรู้ในสินค้าและลดค่าโสหุ้ยที่เกิดขึ้นจากการเจรจาต่อรอง
สถาบันเปรียบเทียบ
การชักนำให้เกิดสถาบัน