เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
ประโยชน์ของถั่วเหลือง
พฤกษศาสตร์ของถั่วเหลือง
ระยะการพัฒนาของถั่วเหลือง
สภาพดิน-อากาศที่เหมาะต่อการปลูกถั่วเหลือง
การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย
พันธุ์ที่ใช้ปลูก
วิธีการปลูก
การดูแลรักษา
โรคถั่วเหลือง
แมลงศัตรูถั่วเหลือง
การเก็บเกี่ยวและนวดถั่วเหลือง
พันธุ์ที่ใช้ปลูก
แต่ก่อนนั้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกเรียกว่าพันธุ์พื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่ปลูกในแต่ละท้องถิ่นเป็นเวลานาน
หรือเป็นพันธุ์ที่คัดเลือกขึ้นในท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น พันธุ์แม่ริม
พันธุ์สันป่าตองต่อมาทางกรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตร)
ได้ทำการผสมและคัดเลือกพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาคือ สจ.1, สจ.2, , สจ.4 และ สจ.5
พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบันคือ สจ.4 และสจ.5
เป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคราสนิมได้ดี นอกจากพันธุ์เหล่านี้แล้วพันธุ์ที่เผยแพร่ใหม่
ๆ คือพันธุ์นครสวรรค์ 1, สุโขทัย 1 และเชียงใหม่ 60
ตัวอย่าง พันธุ์ถั่วเหลือง และลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ที่นิยมปลูก สามารถแบ่งตามอายุเก็บเกี่ยวได้เป็น 3 กลุ่ม
และมีลักษณะทางการเกษตรโดยเฉลี่ยดังนี้
- พันธุ์อายุสั้น อายุเก็บเกี่ยว 75-85 วัน ลำต้นไม่ทอดยอดความสูง 30-50 ซม.
ใบกว้าง มีขนสีน้ำตาลที่ลำต้น ใบและฝักดอกสีม่วง ฝักสีน้ำตาล
เปลือกหุ้มเมล็ดสีเหลือง ขั้วเมล็ดสีน้ำตาล มี 2 พันธุ์
- นครสวรรค์ 1 ผลผลิต 245 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 18-19 กรัม มีน้ำมัน 21 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 39 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานปานกลางต่อโรคใบจัดนูน อ่อนแอต่อโรคราน้ำค้าง เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน
- เชียงใหม่ 2 ผลผลิต 235 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 15-16 กรัม มีน้ำมัน 19 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 35 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้างและใบจุดนูน เหมาะสำหรับปลูกทุกภาคของประเทศ - พันธุ์อายุปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 86-112 วัน ส่วนใหญ่ ลำต้นไม่ทอดยอด
ความสูง 60-80 ซม. ใบกว้าง มีขนสีน้ำตาลที่ลำต้น ใบและฝัก ดอกสีม่วง
ฝักสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้มเปลือกหุ้มเมล็ดสีเหลือง
ขั้วเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลดำ มี 9 พันธุ์
-- เชียงใหม่ 60 ดอกสีขาว ผลผลิต 300 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 15-17 กรัม มีน้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 44 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบจุดนูนและไวรัสใบด่าง และทนทานต่อโรคราสนิมเหมาะสำหรับปลูกทุกภาคของประเทศ
-- สจ.5 ดอกสีม่วง ผลผลิต 275 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 13-15 กรัม มีน้ำมัน 19 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 42 เปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อโรคราสนิม เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-- สจ.4 ดอกสีม่วง ผลผลิต 280 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 13-15 กรัม มีน้ำมัน 18 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 39 เ ปอร์เซ็นต์ ทนทานต่อโรคราสนิม เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-- สุโขทัย 1 ลำต้นกิ่งทอดยอด ใบแคบ มีขนสีขาวที่ลำต้น ใบและฝัก ฝักสีเทาดำ ผลผลิต 245 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 14-16 กรัม มีน้ำมัน 21 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 39 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบจุดนูนและไวรัสใบแดง เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน
-- สุโขทัย 2 ลำต้นกิ่งทอดยอด ใบแคบ ขั้วเมล็ดสีดำผลผลิต 320 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 14-16 กรัม มีน้ำมัน 22 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบจุดนูน ไวรัสใบด่าง และราน้ำค้าง เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง
-- เชียงใหม่ 3 ลำต้นทอดยอด มีขนสีขาวที่ลำต้น ใบและฝัก ฝักสีเทาดำ ขั้วเมล็ดสีน้ำตาลดำ ผลผลิต 330 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 12-13 กรัม มีน้ำมัน 22 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 39 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบจุดนูน ราน้ำค้างและไวรัสใบด่าง ทนทานต่อโรคราสนิม เหมาะสำหรับปลูกทุกภาคของประเทศ
-- สุโขทัย 3 ดอกสีขาว เปลือกหุ้มเมล็ด และขั้วเมล็ดสีดำ ผลผลิต 300 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 12-14 กรัม มีน้ำมัน 24 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 43 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานปานกลางต่อโรคใบจุดนูนเหมาะสำหรับปลูกทุกภาคของประเทศ
-- เชียงใหม่ 4 ลำต้นกิ่งทอดยอด มีขนสีขาวที่ลำต้น ใบและฝัก ฝักสีเทาดำ ผลผลิต 325 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 11-12 กรัม มีน้ำมัน 21 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบจุดนูนและราน้ำค้าง ทนทานต่อโรคราสนิม เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-- มข.35 เป็นพันธุ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดอกสีขาว ขั้วเมล็ดสีดำ ผลผลิต 305 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 16-17 กรัม มีน้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 47 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานต่อโรคใบจุดนูน และราน้ำค้าง เหมาะสำหรับปลูกในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน - พันธุ์อายุค่อนข้างยาว อายุเก็บเกี่ยว 115-120 วัน มี 1 พันธุ์ คือจักรพันธ์ 1 เป็นพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลำต้นกิ่งทอดยอด ความสูง 70 ซม. ใบกว้าง มีขนสีน้ำตาลที่ลำต้น ใบและฝัก ดอกสีม่วง ฝักสีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดสีเหลือง ขั้วเมล็ดสีน้ำตาลผลผลิต 285 กก./ไร่ น้ำหนัก 100 เมล็ด 11-12 กรัม มีน้ำมัน 22 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 41 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานปานกลางต่อโรคใบจุดนูนเหมาะสำหรับปลูกในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ