ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค)
บทบาททางด้านการเมืองการปกครอง
บทบาททางด้านการต่างประเทศ
งานทางด้านวิทยาการสมัยใหม่
งานด้านการก่อสร้าง
งานทางด้านศาสนา
งานทางด้านวรรณคดี
เกร็ดประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ความเป็นมาของตระกูล บุนนาค
บทบาททางด้านการเมืองการปกครอง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระองค์ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ต่อไปภายหน้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
จะเป็นผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ในหมู่เสนาบดี
ดังจะเห็นได้จากพระบรมราชโองการตอนหนึ่งที่มีต่อพระยาศรีสุริยวงศ์ก่อนที่พระองค์จะสวรรคตว่า
...ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่ ก็เห็นแต่ท่านฟ้าใหญ่ ท่านฟ้าน้อย 2
พระองค์ ...การต่อไปภายหน้า เห็นแต่เอง (คือ พระยาศรีสุริยวงศ์)
ที่จะรับราชการเป็นอธิบดีผู้ใหญ่ต่อไป
การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง
ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรใกล้จะสวรรคต
พระยาศรีสุริยวงศ์ได้มีส่วนเสนอความเห็นต่อเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม
(ดิศ) ผู้เป็นบิดาว่า
ควรจะสนับสนุนให้เจ้าฟ้ามงกุฎได้ขึ้นครองราชย์และมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ต่อไป
เพราะเป็นพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระบรมราชินี บ้านเมืองจึงจะเป็นปกติต่อไป
ซึ่งเจ้าพระยาพระคลังก็เห็นด้วย จึงกล่าวได้ว่า
พระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการอัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎมาทรงเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
4
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังที่ไทยทำสนธิสัญญากับนานาประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมอบอำนาจให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทั้งทางด้านการเมือง
การทหาร และการปกครองประเทศ เมื่อรัชกาลที่ 4
ทรงต้องการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยตามแบบอย่างชาวยุโรป
ก็ได้ส่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
และพระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ออกไปดูการต่างประเทศ ณ สิงคโปร์ใน พ.ศ. 2404
เพื่อดูแบอย่างการบริหารและการปกครองของอังกฤษนำมาปรับปรุงบ้านเมือง
จึงนัยได้ว่า
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้มีอำนาจอย่างกว้างขวางตลอดสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเมื่อรัชกาลที่ 4 จะเสด็จสวรรคต ก็ทรงฝากฝังและให้ท่านเป็นผู้พิจารณาว่า
ควรจะมอบสมบัติให้แก่ผู้ใด
และเมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้สนับสนุนให้เจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ซึ่งยังทรงพระเยาว์ได้เป็นกษัตริย์
จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สมเร็จราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
5 จะทรงมีพระชนมายุบรรลุนิติภาวะ
นอกจากนี้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ยังเป็นแรงสำคัญในการสนับสนุนให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ
พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล อำนาจอันยิ่งใหญ่ที่มีอยู่นี้
ถ้าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะคิดทรยศต่อราชบัลลังก์
โดยยกตนเองเป็นกษัตริย์ก็ย่อมจะทำได้
แต่ท่านหาได้มีความทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูงเกินศักดิ์ไม่
หากแต่มีความจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นอย่างยิ่ง
คติประจำใจที่ท่านยึดถือไว้คือคำโบราณที่ว่า คำพระ คำพระมหากษัตริย์ คำบิดามารดา
ใครลบล้างก็เป็นอกตัญญู
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อยู่ในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินระหว่าง พ.ศ.
2411-2416
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชและทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่
2 ใน พ.ศ. 2416 แล้ว
ก็โปรดเลื่อนบรรดาศักดิ์เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
มีสร้อยสมญาภิไธยตามจารึกในสุพรรณบัตรว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
สมันตพงศ์พิสุทธิ มหาบุรุษยรัตโนดม บรมราชุตมรรคมหาเสนาบดี มหาสุริยมัณฑลีมุรธาธร
จักรรัตนสหจรสุรศรขรรค์ วรลัญจธานินทร์ ปริมินทรมหาราชวรานุกูล
สรรพกิจจานุกิจมูลประสาท ปรมามาตยกูลประยูรวงศ์วิวัฒน์ สกลรัชวรณาจักโรประสดัมภ์
วรยุติธรรมอาชวาธยาศัยศรีรัตนตรัยคุณาภรณ์ภูษิต อเนกบุยฤทธิประธิสรรค์
มหันตวรเดชานุภาพบพิตร หลังจากนั้นก็พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
แต่คนทั่วไปยังคงเรียกท่านว่า ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นหัวหน้าเสนาบดี
มีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ช่วยทำนุบำรุงบ้านเมือง
อย่างไรก็ดีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังคงมีอำนาจและอิทธิพลยิ่งใหญ่ในประเทศสยาม
ท่านได้ถือตรามหาสุริยมณฑล
ได้บังคับบัญชาข้าราชการแผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักรอย่างเป็นที่ปรึกษาที่สำคัญยิ่งในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะสั่งประหารชีวิตนักโทษขั้นอุกฤษฏ์ได้