ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

พุทธศาสนากำจัดทุกข์ในสังสารวัฏ

กิเลส
กรรม
วิบาก
การดับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์
วิธีการแห่งการตรัสรู้ท่านแสดงไว้ในเจตนาสูตร

วิบาก

     วิบากในปฏิจจสมุปบาทได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่าอุปปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะซึ่งมีปรากฏในวิภังคสูตรว่าก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ 6 หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าญาณ ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการนี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4 นี้เรียกว่ารูป นามและ รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านามรูป สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ 6 หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสโสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ เวทนาเป็นไฉน เวทนา 6 หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนานี้เรียกว่าเวทนา

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกรภิกษุทั้งหลายเวทนา 3 ประการนี้ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่าความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งเวทนา ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งเวทนาย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนาปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัด พรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว (อํ.ฉ.22/334/365.)

ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ(สํ. นิ.16/7-14/3.)

เมื่อสิ้นกิเลสจะได้คุณวิเสสตามสมควรเช่นบุพเพนิวาสานุสสติญาณดังที่พระพุทธองค์แสดงไว้ว่า เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น (วิ.มหาวิ. 1/3/5.)

ความดับแห่งวงจรปฏิจสมุปบาทนั้นมิใช่แต่ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะเท่านั้นแม้ในสมัยอื่นก็มีผู้คิดได้ดังคำว่า พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรา และมรณะจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะ จึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ

  • เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ เมื่ออุปาทานไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
  • เมื่อไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มีเพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ
  • เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหาจึงดับ
  • เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ
  • เมื่อผัสสะไม่มีเวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึง ไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ
  • เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สฬายตนะจึงดับ
  • เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูป ดับ สฬายตนะจึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ
  • เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูป จึงดับ
  • เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับวิญญาณจึงดับ เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ

ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอ ไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมที่ไม่ เคยได้ฟังมาก่อนว่าฝ่ายข้างดับ (สํ. นิ.16/24/6.)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย