ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาการศึกษา

พุทธปรัชญา

 (Buddhism)

พุทธปรัชญาการศึกษา มาจากคำว่า Buddhishic Philosophy of Education ซึ่งได้แนวคิดมาจากพระพุทธศาสนา (Buddhism) จากพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธจ้า และปรัชญาการศึกษาอื่นๆ การศึกษาในพุทธปรัชญา คือ การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความจริง เข้าใจความหมายของชีวิต ทั้งดำรงชีวิตให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความจริง

พุทธปรัชญา ได้นำหลักเหตุและผลไปวิเคราะห์และอธิบายความจริงและความเป็นไปของสิ่งทั้งหลายในโลก ได้ชี้แนะให้ทราบว่าอะไรคือความเป็นเลิศ หรือความดีที่พึ่งปรารถนาในชีวิต และจะศึกษาปฏิบัติให้เป็นผลได้อย่างไร

พุทธปรัชญา หมายถึง ความรู้อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วหรือพุทธธรรม

ความเป็นมาของพุทธปรัชญา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้หล่อหลอมเป็นวิถีดำเนินชีวิตของคนไทย จึงเห็นควรให้พุทธปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาการศึกษาที่มีพื้นฐานอยู่บนความเป็นไทย ผู้รู้ที่สนับสนุนให้พิจารณาปรัชญาการศึกษาไทยบนพื้นฐานของพุทธปรัชญา เช่น ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ท่านพุทธทาสภิกขุ พระเทพเวที พระราชวรมุนี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และเอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นต้น พระพุทธเจ้าชี้ให้เห็นถึงความจริงหรือสัจธรรมในหลักไตรลักษณ์ ซึ่งได้แก่

  • อนิจจัง คือ ความเป็นของไม่เที่ยง
  • ทุกขัง คือ ความเป็นทุกข์
  • อนัตตา คือ ความเป็นของไม่ใช่ตน

โลกและชีวิตเป็นอนิจจังไม่มีอะไรแน่นอน มนุษย์จึงไม่ควรติดอยู่กับวัตถุหรือมุ่งแสวงหาแต่ความสุขทางวัตถุ เพราะชีวิตแท้จริงแล้วเป็นทุกข์ เพราะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ อันเป็นของไม่เที่ยง คือ ขันธ์ 5 ได้แก่

  1. รูป คือ ร่างกาย รวมทั้งคุณสมบัติและพฤติกรรมทั้งปวง
  2. เวทนา คือ อารมณ์ทุกข์และสุขของมนุษย์
  3. สัญญา คือ การเรียนรู้ ความจำ
  4. สังขาร คือ องค์ประกอบทางจิตที่คอยปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว ได้แก่ เจตคติ ค่านิยม ความตั้งใจ ความสนใจ ซึ้งประกอบกันขึ้นเป็นแรงขับให้มีการกระทำ
  5. วิญญาณ คือ การรับรู้เกิดจากประสาทสัมผัสโดยตรง

มนุษย์เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตนที่แท้จริงที่เห็นว่าเป็นตัวตนอยู่นี้ก็เพราะว่าองค์ประกอบทั้ง 5 มารวมกันอยู่ในกระแสแห่งการเกิดดับ ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิจสมุปบาท คือ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในกฎเหตุและผลหรือเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์

พุทธปรัชญาการศึกษา คือ การพัฒนาขันธ์ 5 เพื่อให้ความโง่เขลาของผู้เรียนลดน้อยลงและหมดไปในที่สุด และให้อยู่ในสังคมอย่างเป็นคนเก่ง คนดี และคนมีความสุขในโลกปัจจุบันและอนาคต

ความมุ่งหมายของการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาของศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี มี 4 ประการ

ความมุ่งหมายเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
การศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนาโลภ โกรธ หลง ให้ลดลงและพัฒนาความรู้ ความจำ นิสัย และอื่นๆ ในทางที่เหมาะสม

ความมุ่งหมายเกี่ยวกับสังคม
การศึกษาต้องช่วยพัฒนาสังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข เนื่องจากวังคมไทยเป็นสังคมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาซึ่งถ้าเข้าใจพุทธปรัชญาในไตรลักษณ์ อิทธิบาท 4 แล้วก็จะเข้าใจสังคมได้ดีขึ้นและไม่ตกใจไปกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม

อิทธิบาท 4 คือ สิ่งซึ่งมีคุณธรรมให้บรรลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ประกอบด้วย

  1. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
  2. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
  3. จิตตะ ความเอาใจใส่ ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
  4. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ความมุ่งหมายเกี่ยวกับลักษณะของการเรียนรู้
การศึกษาพัฒนาวิธีคิด และการใช้เหตุผลในตัวผู้เรียนเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างผู้มีปัญญา

ความมุ่งหมายเกี่ยวกับความร่มเย็นของชีวิตมนุษย์ทั่วไป
การศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดความร่มเย็นแก่ชีวิตในสังคม

นโยบายการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาของศาสตราจารย์สาโรช บัว

  1. การจัดการศึกษาเพื่อนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นนโยบายประชาธิปไตย เพราะพุทธปรัชญาเป็นปรัชญาประชาธิปไตย เช่นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า บุคคลแต่ละคนไม่เหมือนกันเปรียบเสมือนดอกบัว 4 เหล่า
  2. การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการแบ่งปัน
  3. การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

วิธีสอนแม่บทสำหรับโรงเรียน ต้องใช้วิธีการแห่งปัญญา คือ สอนตามหลักอริยสัจ สี่ ซึ่งตรงกับวิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์

อริยสัจสี่

  • ทุกข์ คือ ความทุกข์ของมนุษย์เองที่เกิดขึ้นในชีวิต
  • สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรืออยาก ที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง
  • นิโรธ คือ ความดับทุกข์
  • มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์มี 8 ประการ คือ
    1. สัมมาทิฐิ คือ การคิดชอบ ความเห็นชอบ
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ การทำใจชอบ ดำริชอบ
    3. สัมมาวาจา คือ กล่าวชอบ
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ
    5. สัมมาอาชีวะ คือ อาชีพในทางที่ชอบ
    6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ
    7. สัมมาสติ คือ ตั้งสติชอบ
    8. สัมมาสมาธิ คือ ความเพ่งอารมณ์ชอบ

ขั้นของอริยสัจสี่

1. ขั้นทุกข์ ชีวิตนี้เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
2. ขั้นสมุทัย สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
3. ขั้นนิโรธ การดับทุกข์
4. ขั้นมรรค หนทางดับทุกข์

ขั้นของวิธีการแห่งปัญญา (วิทยาศาสตร์)

1. การกำหนดปัญหา
2. การตั้งสมมุติฐาน
3. การทดลองและเก็บข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

พุทธปัญญาการศึกษาตามแนวคิดของท่านพุทธทาสภิกขุ

จุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ

  1. เพื่อดับทุกข์ทั้งปวงให้หมดสิ้น คือทุกข์ที่เกิดจากกิเลสเพราะการศึกษาในพุทธศาสนา หมายถึง การสามารถทำให้บุคคลเอาชนะโลกนี้ทั้งหมด (ไม่ต้องการลาภยศทางวัตถุใดๆ) เอาชนะโลกอื่นทั้งหมด (ไม่ต้องการไปเกิดในชาติอื่น) และทำให้อยู่เหนือโลกทั้งปวง (ดับกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่เกิดในโลกไหนอีกต่อไป)
  2. เพื่อส่งเสริมศีลธรรมทุกขั้นตอนแห่งวิวัฒนาการของมนุษย์ คือ สร้างความถูกต้องเพื่อความก้าวหน้าทั้งทางวัตถุและจิตใจ ต้องชี้ให้เห็นถึงความสุข 2 อย่างคือ ความสุขทางกาย ซึ่งยิ่งเสพยิ่งต้องการมากและทำความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น กับความสุขทางจิต ซึ่งยิ่งแสวงหาเท่าไรยิ่งทำความร่มเย็นให้มากเท่านั้น
  3. เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม คือขจัดความเห็นแก่ตัวและร่วมมือกันเสริมสร้างสันติสุขในชุมชนและในโลก โดยให้จุดมุ่งหมายทั้ง 3 ข้อนี้ ไปใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียน พร้อมทั้งยึดหลักพุทธศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา ทัตถศึกษา

หน้าที่ของการศึกษาและหน้าที่ครู มี 2 ประการ คือ

  1. หน้าที่ในการถ่ายทอดศิลปวิทยา ได้แก่ วิชาชีพตลอดจนมรดกทางวัฒนธรรม ทางวิชาการ ซึ้งหมายถึงถ่ายทอดให้นักเรียนได้รู้จริง มีความใฝ่รู้ที่จะค้นคว้าให้รู้มากขึ้น มีการเพิ่มพูนหรือทำให้งามขึ้นและนำไปประกอบอาชีพได้ หรือสร้างความเป็นเลิศทั้งด้านสติปัญญาและเลิศในประโยชน์ของสังคมประเทศชาติ
  2. หน้าที่ในการชี้แนะให้รู้จักการดำเนินชีวิตที่ดีงามถูกต้อง และการฝึกฝนพัฒนาตนให้สมบูรณ์ เช่น การทำให้คนมีแรงจูงใจที่ถูกต้อง (ฉันทะ) ในการศึกษา การสร้างจิตสำนึกในการศึกษาโรงเรียนวิถีพุทธ

วิถีพุทธ หมายถึง แนวทางดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบชาวพุทธ โดยมีหลักธรรมที่เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นวิถีชีวิตแบบพุทธ นั่นคือ มรรคมีองค์แปด สรุปลงในไตรสิกขาได้

สัมมาทิฐิ – ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ – ความดำริชอบ
สัมมาวาจา – วาจาชอบ
สัมมากัมมันตะ – การกระทำชอบ
สัมมาอาชีวะ – เลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ – พยายามชอบ สั
มมาสติ – ระลึกชอบ สั
มมาสมาธิ - ตั้งจิตชอบ

โรงเรียนวิถีพุทธ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยภาวนา 4 คือ พัฒนาการทางกาย สังคม จิต และปัญญา

โรงเรียนจัดพัฒนาผู้เรียนตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการส่งเสริมให้เกิดปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ คือ

1. การอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีสื่อที่ดี
2. เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตรที่ดี
3. มีกระบวนการคิด วิเคราะห์ พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี
4. ความสามารถที่จะนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องตามหลักธรรม

โยนิโสมนสิการ

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยุตฺโต) ให้ความหมายว่า การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย คือการพิจารณาความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยหรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบซึ้งจะมีเกิดอวิชชาปละตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี

สาระสำคัญของพุทธปรัชญาการศึกษา

ความมุ่งหมายของการศึกษา

  1. เพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้เรียนให้สมบูรณ์
  2. เพื่อให้เข้าใจอุดมการณ์สังคมที่ผู้เรียนในฐานะเป็นพลเมืองดี
  3. เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดของผู้เรียนไปสู่การคิดที่ถูกต้อง
  4. เพื่อพัฒนาศีลธรรมและจริยธรรมของผู้เรียนให้มีความสัมพันธ์อย่างสงบระหว่างสมาชิกของสังคมและโลก
  5. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะและเจตคติในกลุ่มสาระตามหลักสูตร และระดับชั้นเรียนตามความต้องการของแต่ละบุคคล และความแตกต่างระหว่างบุคคล

สถานศึกษา สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามพุทธปรัชญาการศึกษา เชื่อว่าผู้เรียนทุกคนพร้อมที่จะเป็นคนเก่ง คนดี และคนมีความสุขทุกช่วงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นสถานศึกษาต้องมีจุดมุ่งหมายดังนี้

  1. เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนทุกคนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขในทุกช่วงชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  2. จัดสิ่งแวดล้อมและอาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อและสอดคล้องต่อการพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้เรียนทุกคน
  3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแบ่งปัน และการมีส่วนร่วมภายในสถานศึกษาและในสังคมภายนอกสถานศึกษา
  4. ส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะ และเจตคติกลุ่มสาระต่างๆ ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
  5. ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

 

หลักสูตร

จุดมุ่งหมายที่สำคัญของหลักสูตร คือ การพัฒนาขันธ์ 5 คือ

  1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีร่างกาย สุขภาพ พลานามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ สมส่วนคล่องแคล่วว่องไว มีพัฒนาการทางด้านร่างกายตามวัยและได้มาตรฐานสากล
  2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนในด้านความรู้สึกโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีพัฒนาการไปตามลำดับขั้น
  3. เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีสติปัญญา ความรู้ และความสามารถ และการเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตนเอง สังคมและโลก และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขในปัจจุบันและอนาคต
  4. เพื่อพัฒนาแรงขับและคุณสมบัติทางจิตใจของผู้เรียน ได้แก่ อารมณ์ เจตคติ คุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม
  5. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีจิตสำนึกทั้งในทางกาย ทางวาจา และทางใจ (การคิด)

เนื้อหาของหลักสูตร

  1. มีเนื้อหาวิชาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาด้านร่างกาย ได้แก่ วิชาคหกรรมศาสตร์ วิชาพลานามัย วิชาสุขศึกษา เป็นต้น
  2. ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างและฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรง เช่นวิชาพลศึกษา การกีฬา นันทนาการ เป็นต้น
  3. ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาความรู้สึกนึกคิด ได้แก่ วรรณคดี ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ธรรมชาติวิทยา ชีววิทยา และนิเวศวิทยา เป็นต้น
  4. ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาความคิดและการใช้สมอง ได้แก่ วิชาวรรณคดี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
  5. ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาอารมณ์ เจตคติ คุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น 6. ควรมีเนื้อหาด้านการพัฒนาจิตสำนึกและการใช้เหตุผลทั้งทางกาย ทางวาจา และทางจิตใจ ได้แก่ วิชาศีลธรรม จริยธรรม และสุนทรียภาพ สังคมศึกษา สังคมวิทยา สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติศึกษา เป็นต้น

การเรียนการสอน

วิธีการสอนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและสภาพของผู้เรียน ดังนั้นจะยึดหลักปฏิบัติตามอริยสัจสี่ และมรรคแปด ดังนี้

  1. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข
  2. ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยวิธีการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งวิธีการเรียนเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
  3. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
  4. จัดสภาพภายในห้องเรียนและบริเวณสถานศึกษาและสภาพแวดล้อมภายนอกให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และการเรียนด้วยตัวเอง ส่งเสริมการมีวินัยในตนเองและการมีสมาธิของผู้เรียนแต่ละคนและการเรียนเป็นกลุ่มในบางครั้งตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเป็นคนดีในหมู่คณะ รู้จักแบ่งปัน และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมซึ้งส่งผลต่อการเป็นพลเมืองดีของชาติ รู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ และการมีส่วนร่วมในสังคมประชาธิปไตยต่อไป
  5. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล และต้องส่งเสริมเด็กเรียนเก่งให้เจริญงอกงามทั้งความรู้สึกและสติปัญญา
  6. คิดหาวิธีสอน และกิจกรรมและประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน และสอดคล้องกับสื่อและเนื้อหา ความรู้และทักษะของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

ผู้สอน - ครู

  1. เป็นผู้ให้วิทยาการ (สิปปทายก) ได้แก่ การให้ความรู้ทางวิชาการและการประกอบอาชีพแก่ผู้เรียน รวมถึงต้องหมั่นค้นคว้าและหาความรู้
  2. มีหน้าที่ชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง (กัลยาณมิตร) คือสอนให้รู้จักคิด มองความหมายของสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้อง รู้ตักแสดงออกอย่างมีเหตุผล มีความรับผิดชอบและรู้จักดำเนินชีวิตที่ดี

ผู้เรียน

  1. เป็นผู้ที่มีความเคารพและศรัทธาต่อครู
  2. เป็นผู้รับฟังคำแนะนำของครู
  3. เป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีวุฒิภาวะ รู้จักใช้เหตุผลและคุณธรรมในการตัดสินใจ

การวัดและประเมินผล

  1. โดยวัดผลจากการกระทำของนักเรียน ด้วยการสังเกตพฤติกรรม
  2. ด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของนักเรียน


ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม
ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม
ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม
พุทธปรัชญา
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย