ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
การดำเนินชีวิตตามหลักศาสนธรรม
หลักธรรมตามแนวอริยมรรค
อริยมรรค คือ
ข้อปฏิบัติหรือทางนำไปสู่ความดับทุกข์ (อริยมรรค = มรรค / อัฏฐังคิกมรรค /
มัชฌิมาปฏิปทา) แบ่งเป็น 2 สายคือ
- กามสุขัลลิกานุโยค คือการแสวงหาความสุขจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นความสุขในปัจจุบัน เรียกว่า พวกวัตถุนิยม
- อัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนให้ลำบาก
มรรคมีองค์ 8 คือ
1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) คือรู้อริยสัจ 4
ประการคือ
- รู้จักทุกข์
- รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์
- รู้การดับทุกข์
-
รู้ทางไปสู่การดับทุกข์
2. สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
เรียกว่าวจีสุจริต 4 ประการ
- สัจวาจา คือการพูดคำจริง
- อปิสณวาจา คือไม่พูดส่อเสียด
- อผรุสวาจา
คือสัณหวาจาคือไม่พูดคำหยาบ
- อสัมผัปปลาปะ คือ มันตวาจา คือไม่พูดเพ้อเจ้อ
4. สัมมากัมมันตะ
(การงานชอบ) คือเว้นจาก
- ฆ่าสัตว์ / ลักทรัพย์ / ประพฤติผิดในกาม
- ภรรยาคนอื่น /
หญิงที่จารีตห้าม/ หญิงอยู่ในบัญญัติศาสนา
- ชายมีภรรยาแล้ว / ชายที่อยู่ในบัญญัติศาสนา
5. สัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) เว้นจาก
- ค้าขายเครื่องประหารทำลายกัน เช่น ปืน อาวุธ
- ค้าขายมนุษย์
-
ค้าขายสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
- ค้าขายน้ำเมา หรือสิ่งเสพติดทุกชนิด
- ค้าขายยาพิษ
6.
สัมมาวายามะ (ความเพียรพยายามชอบ)
- เพียงไม่ให้บาปเกิด (สังวรปธาน
- เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
- เพียรทำบุญกุศลให้เกิดขึ้น (ภาวนาปธาน)
-
เพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว (อนุรักขนาปธาน)
7. สัมมาสติ คือการตั้งสติชอบ หรือการระลึกชอบ
-
การมีสติระลึกชอบทั้งก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด
8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นชอบ
- อารมณ์เป็นหนึ่ง ไม่หวั่นไหว
ไม่ฟุ้งซ่าน ทำใจให้สะอาด
มรรคมีองค์ 8
ย่อลงในสิกขา 3 ประการคือ
1. สัมมาทิฏฐิ
2. สัมมาสังกัปปะ
3.
สัมมาวาจา
รวมลงใน ปัญญา
4. สัมมากัมมันตะ
5. สัมมาอาชีวะ
6. สัมมาวายามะ
รวมลงใน ศีล
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ
รวมลงใน สมาธิ
ไตรสิกขา
สิกขา แปลว่า การศึกษา ฝึกฝน อบรม ส่วน ไตร แปลว่า
สาม ตรงกับภาษาสัสกฤต ว่า ไตรสิกขา มี 3 ประการคือ
1. ศีล คือ ความประพฤติดี
ทั้งกาย วาจา
2. สมาธิ คือ ความแน่วแน่ มั่นคง หนักแน่น
3. ปัญญา คือ
ความรอบรู้
มงคลชีวิต
มงคลชีวิต แปลว่า สิ่งที่ทำให้ถึงความเจริญ
ให้ถึงความสำเร็จ และให้ถึงความก้าวหน้าในครั้งพุทธกาลมีความเชื่อมงคล 3 อย่างคือ
พวกที่ 1 ทิฏฐมังคลิกะ ถือตาเป็นเกณฑ์
พวกที่ 2 สูตมังคลิกะ
ถือหูเป็นเกณฑ์
พวกที่ 3 มูตมังคลิกะ ถือใจเป็นเกณฑ์รู้เร็ว ประณีต ฯ
ปราชญ์ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี
พระองค์ตรัสมงคล 38 ประการ ดังนี้
1. ไม่คบคนพาล (อเสวนา จ พาลานํ)
-
พาล แปลว่า โง่เขลา อับปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ฯ
2. คบบัณฑิต (ปณฑิตานญจ เสวนา)
- บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา
นักปราชญ์ คือผู้รู้ทัน ฯ
3. บูชาผู้ที่ควรบูชา (ปูชา จ ปูชนียานํ)
- บูชา คือ สักการะ
เคารพ นับถือ กราบไหว้
4. การอยู่ในประเทศอันสมควร (ปฏิรูปเทสวาโส)
- ปฏิรูปะ แปลว่า
เหมาะสม/สมควร , เทสะ คือ สถานที่
5. เคยทำบุญไว้ก่อน (ปุพเพ จ กตปุญญตา)
- บุญ แปลว่า ความดี
ความสุข สิ่งที่ชำระจิตใจ
6. การตั้งตนไว้ชอบ (อตตสมมาปณิธิ)
- อัตตะ หรือ ตน
หมายถึงกายกับใจ
7. พหูสูต (พาหุสจจํ)
- พหุ แปลว่า มาก , สูต แปลว่า ผู้สดับตรับฟัง
8. มีศิลปะ (สิปปํ)
- สิปปะ หรือศิลปะ หมายถึง
วิชาชีคพหรือความฉลาด
9. มีวินัย (วินโย จ สุสิกขิโต)
- วินัย แปลว่า ข้อแนะนำ
บทฝึกหัด
10. วาจาสุภาษิต (สุภาสิตา จ ยา วาจา)
- วาจา คือ คำพูด /
สุภาษิต คือ พูดดี
11. เลี้ยงดูมารดาบิดา (มาตาปิตุอุปฏฐานํ)
- มารดา แปลว่า
ผู้รักษาบุตร ผู้เลี้ยงดูบุตร
- บิดา แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร
ผู้ให้สัตว์โลกยินดี
12.เลี้ยงดูบุตร (ปุตตสงคโห)
- บุตร แบ่งตามคุณธรรม 3 ประเภทคือ
1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา
2. อนุชาตบุตร
บุตรที่เสมอมารดาบิดา
3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา
13. เลี้ยงดูภรรยา (ทารสงคโห)
- ทาระ แปลว่า เมีย
- ภรรยา
แปลว่า ผู้ที่สามีต้องเลี้ยงดู คือ เมีย
14. การงานไม่คั่งค้าง (อนากุลา จ กมมนตา)
- กรรมหรือการงาน
แบ่งเป็น 2 คืองานทางโลก/ทางธรรม
15. ให้ทาน (ทานํ)
ทาน แปลว่า ให้ แบ่งเป็น 2 คือ
-
อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน
- ธรรมทาน
ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่นให้คำแนะนำสั่งสอน
16. ประพฤติธรรม (ธมมจริยา)
- ธรรม
คือคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก
- จริยา แปลว่า ความประพฤติ
- ธมมจารี สุขํ
เสติ แปลว่า ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข
17. การสงเคราะห์ (ญาตกานญจ สงคโห)
- ญาติ แปลว่า รู้จักกัน
คันเคยกัน
18. ทำงานไม่มีโทษ (อนวชชา จ กมมนตา)
19. งดเว้นบาป (อรตี วิรตี ปาปา)
- บาป แปลว่า ความชั่ว ความเลวร้าย
- อรตี แปลว่า งด / วิรติ แปลว่า เว้น
20. ไม่ดื่มน้ำเมา (มชชปานา จ สญญโม)
- น้ำเมามี 2 ชนิด คือ
สุรา คือ เหล้า
เมรัย คือ น้ำเหล้าที่มีดีกรีต่ำกว่าสุรา เช่น องุ่น เบี้ยร์
ฯ
21. ไม่ประมาทในธรรม (อปปมาโท จ ธมเมสุ)
-ไม่ประมาท คือ
ไม่เป็นคนขาดสติ
22. ความคารวะ (เคารพ ) (คารโว)
- คารวะ แปลว่า เคารพ อ่อนน้อม
- ให้เกียรติ คือ ยอมรับความดีของบุคคลที่เคารพ
23. ความเจียมตัว (นิวาโต)
- วาตะ แปลว่า ลม
- นิ แปลว่า ไม่มี
/นิวาตะ แปลว่า ไม่มีลม คือ ถ่อมตัว
24. สันโดษ (สนตุฏฐี)
- สันโดษ คือ ความยินดี แบ่งเป็น 3 คือ
1. ยินดีตามพอใจตามได้ (ยถาลาภสันโดษ)
2. ยินดีพอใจตามกำลัง (ยถาพลสันโดษ)
3. ยินดีพอใจตามความเหมาะสม (ยถาสารุปสันโดษ)
25. กตัญญู (กตญญุตา)
26. ฟังธรรมตามกาล (กาเลน ธมมสวนํ)
-
ธรรม คือ คำสั่งของพระพุทธเจ้า
27. อดทน (ขนติ)
- ขันติ แปลว่า อดทน ข่มใจ
28. ความว่าง่าย (โสวจสสตา)
- สุวจะ แปลว่า ความว่าง่าย หมายถึง
พูดกันรู้เรื่อง ให้เกียรติแก่คนอื่น
29. พบสมณะ (สมณานํ ทสสนํ)
- สมณะ แปลว่า นักบวช / ผู้สงบ คือ
กาย วาจา ใจสงบ
- ทัสสนะ แปลว่า เห็น หรือ พบปะ
30. สนทนาธรรม (กาเลน ธมมสากจฉา)
สนทนาธรรม แปลว่า สนทนาตามกาล
แบ่งเป็น 3 คือ
1. ปริยัตติ คือ ทฤษฎีล้วน ได้แก่ พระไตรปิฏก
2. ปฏิบัติ
คือ การดำเนินตามทฤษฎี ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
3. ปฏิเวธ คือ ผลของการปฏิบัติ
ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน
31. บำเพ็ญตบะ (ตโป)
ตบะ แปลว่า ร้อน
คือธรรมที่ร้อนสามารถเผาบาปคือความชั่วได้
32. ประพฤติพรหมจรรย์ (พรหมจริยํ)
- พรหม แปลว่า ผู้ใหญ่
ผู้ประเสริฐ ผู้เจริญ
- พระพรหม คือเทพเจ้าชั้นสูง ไม่มีเพศชาย เพศหญิง
-
จริยะ แปลว่า ความประพฤติ
33. เห็นอริยสัจ (อริยสจจานํ ทสสนํ)
- อริยสัจ แปลว่า
ความจริงอันประเสริฐ
34. นิพพาน (นิพพาน สจ ฉิกิริยาย)
- นิพพาน แปลว่า ดับ คือ
ดับกิเลส ทุกข์ โลภ โกรธ หลง
35. จิตไม่หวั่นไหว (จิตตํ ยสส น กมปติ)
-
จิตไม่หวั่นไหวเป็นมงคล
36. จิตไม่เศร้าโศก (อโสกํ)
- จิตไม่เศร้าโศกเป็นมงคล
37. จิตปราศจากธุลี (วิรชํ)
- รชะ แปลว่า กิเลสเหมือนธุลี
ทำให้จิตใจมัวหมอง
38. จิตเกษม (เขมํ)
- เขมะ แปลว่า เกษม ปลอดภัย หมดอันตราย
ธรรมสำหรับพัฒนาตน
1. ธรรมอันทำให้งาม 2 อย่างคือ
- ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้น ทนได้
- โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยม ความมีอัธยาศัยดีงาม
2. ธรรมมีอุปการะมาก มี 2 อย่างคือ
- สติคือ ความระลึกได้
ไม่ปล่อยจิตเลื่อนลอยตามอารมณ์
- สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวเอง
3. ธรรมคุ้มครองโลก
- หิริ คือ ความละอายแก่ใจ
- โอตตัปปะ
คือความเกรงกลัวต่อบาป
4. รากเหง้า คือต้นตอหรือเหตุผลคุณความดี (กุศลมูล)
- อโลภะ คือ
ความไม่โลกอยากได้ของคนอื่น
- อโทสะ คือ ไม่คิดประทุษร้ายคนอื่น
- อโมหะ
คือ ความไม่โง่เขลาเบาปัญญา
5. สัปปุริสธรรม 7 ประการ
1. ธัมมัญญุตา คือ รู้หลักและรู้จักเหตุผล
2. อัตถัญญุตา คือ รู้ความมุ่งหมาย และรู้จักผล
3. อัตตัญญุตา คือ รู้จักตน
4. มัตตัญญุตา คือ รู้จักประมาณ คือความพอดี
5. กาลัญญุตา คือ รู้จักกาล
/รู้กาลเวลาอันเหมาะสม
6. ปริสัญญุตา คือ รู้จักชุมาชน คือรู้จักถิ่น /ชุมชน
7. ปุคคลัญญุตา คือ รู้จักบุคคล
ธรรมสำหรับพัฒนาครอบครัว
เหตุที่ทำให้ตระกูลเสื่อม 4 ประการ
- ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
- ไม่บูรณะซ่อมแซมพัสดุที่เก่าหรือชำรุด
- ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
- ตั้งสติหรือบุรุษทุศีล ให้เป็นแม่เรือน
พ่อเรือน
สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
-
สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
- จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
-
ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
สุขของคฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน)
- อัตถิสุข สุขเกิดจากการมีทรัพย์
- โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
- อนณสุข สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้
-
อนวัชชสุข สุขเกิดแต่การประกอบงานที่ปราศจากโทษ
บรรดาสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุขมีค่ามากที่สุด
ฆราวาสธรรม 4
- สัจจะ คือ ความจริง หรือความซื่อสัตย์ต่อกัน
- ทมะ คือ รู้จักข่มจิตของตน /ควบคุมจิตใจ
- ขันติ คือ ความอดทน
มีจิตใจเข้มแข็ง
- จาคะ คือ ความเสียสละ / มีน้ำใจ
อบายมุข 6
อบายมุข แปลว่า ช่องทางแห่งความเสื่อม /พินาศ/ย่อยยับ
- ติดสุราและของมึนเมา
- ติดเที่ยวกลางคืน
- ติดเที่ยวดูการละเล่น
-
ติดการพนัน
- คบคนชั่ว
- เกียจคร้านการทำงาน
ธรรมสำหรับพัฒนางาน
อิทธิบาท
คือ ธรรมที่ให้ถึงความสำเร็จ
- ฉันทะ คือ ความพอใจในกิจการงานที่ทำ
- วิริยะ คือ ความเพียร /ขยัน /หมั่นเพียร
- จิตตะ คือ ความคิดฝักใฝ่
-
วิมังสา คือ การสอบสวนตรวจตรา
จักร 4
จักรธรรม คือ ธรรมประดุจล้อนำไปสู่จุดหมาย
-
ปฏิรูปเทสวาสะ คือ อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
- สัปปุริสูปัสสยะ คือ
สมาคมกับสัตบุรุษ (ผู้รู้)
- อัตตสัมมาปณิธิ คือ ตั้งตนไว้ชอบ
-
ปุพเพกตปุญญตา คือ ทำความดีเพื่ออนาคต
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
ธรรมที่ให้ประโยชน์ในปัจจุบัน หรือเรียกว่า หัวใจเศรษฐี /หลักเศรษฐี ได้แก่
- อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
- อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
- กัลยาณมิตตตา มีเพื่อนดีเป็นมิตร
- สมชีวิตา เลี้ยงชีพตามเหมาะสม
พละ
คือ ธรรมก่อให้เกิดกำลัง /ประสบความสำเร็จ
- สัทธา คือ ความเชื่อ
- วิริยะ คือ ความเพียร
- สติ คือ
ความระลึกได้
- สมาธิ คือ ความตั้งมั่น
- ปัญญา คือ ความรอบรู้
พรหมวิหาร 4
- เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาให้เป็นสุข
- กรุณา
คือ ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์
- มุทิตา คือ ความยินดี เมื่อผู้อื่นได้ดี
- อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง
สังคหวัตถุ
คือ หลักการสงเคราะห์/เครื่องยึดเหนี่ยว
- ทาน
คือ การให้ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน
- ปิยวาจา คือ วาจาเป็นที่รัก
- อัตถจริยา คือ บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์
- สมานัตตา คือ วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย
คารวธรรม คือ ธรรมที่ควรเคารพ /เอื้อเฟื้อด้วยดี
- พุทธคารวตา
คือ เคารพในพระพุทธ
- ธัมมคารวตา คือ เคารพในพระธรรม
- สังฆคารวตา คือ
เคารพในพระสงฆ์
- สิกขาคารวตา คือ เคารพในการศึกษา
- อัปปมาทคารวตา คือ
เคารพในความไม่ประมาท
- ปฏิสันถารคารวตา คือ เคารพในการปฏิสันถาร
» กำเนิดชีวิตตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์
» การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม
» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาคริสต์
» สาระความรู้ทางแนวชีวิตตามศาสนาคริสต์
» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาอิสลาม
» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาเต๋าและขงจื้อ
» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต
» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต
» การมองความจริงของชีวิตด้วยศาสนธรรม