ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ระดับความรุ่นแรงของแผ่นดินไหวที่วัดด้วยมาตราเมอร์คัลลี่
ระดับ ผลของแรงสั่นสะเทือน
-
คนรับความรู้สึกไม่ได้
-
คนนั่งอยู่นิ่ง ๆ จะรู้สึก
-
ของที่แขวนอยู่จะแกว่ง คนที่อยู่ในอาคารสูงจะรู้สึก ถึงแรงสั่นสะเทือนเหมือนมีรถบรรทุกขนาดเล็กแล่นผ่านในระยะใกล้ ๆ
-
ประตูหน้าต่างจะสั่น รถยนต์จะสั่น แรงสั่นเทียบได้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่แล่นผ่านในระยะใกล้ ๆ
-
ของเหลวในภาชนะจะสั่นจนหก คนที่นอนหลับในอาคารจะรู้สึกตัวจนตื่น ประตูจะปิดเปิดไปมา
-
ทุกคนจะรู้สึกในแรงสั่นสะเทือนจน
-
ตกใจและไม่สามารถเดินได้มั่นคง
-
ระฆังใบเล็กจะแกว่งเกิดเสียงดังเองได้
-
คนยังเดินทรงตัวอยู่ได้ ของที่วางไว้จะตกจากชั้นวาง ระฆังใบใหญ่จะแกว่งจนเกิดเสียงดังเอง คนที่ขับรถอยู่จะควบคุมรถลำบาก
-
อาคารบ้านเรือนที่สร้างไม่แข็งแรงจะพังทลายกิ่งไม้จะหัก บนแผ่นดินจะมีรอยแยกให้เห็น
-
คนจะแตกตื่นไปทั่ว เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำอาจเสียหาย มีแผ่นดินแยกจากกันให้เห็นอย่างชัดเจน
-
ตึกใหญ่ ๆ จะพังทลาย มีการเลื่อนไหลของแผ่นดิน น้ำจะกระฉอกออกจากแม่น้ำลำธารและทะเลสาบ
-
รางรถไฟจะบิดงอ
-
วัตถุที่ติดอยู่กับพื้นดินทุกอย่างจะ
-
พังทะลายยย่อยยับ แทบไม่มีอะไรคงรูปอยู่
แรงจากนอกเปลือกโลก เรียกว่า แรงกราเดชั่น(gradational)
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพลังงานดวงอาทิตย์ กระทำผ่านตัวการต่างๆ น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง
ปฎิกริยาทางเคมี แมคคานิคส์
และการกระทำของสิ่งมีชีวิตมักจะปรับให้ผิวโลกมีระดับราบเรียบเสมอกัน
คือทำลายบริเวณที่สูงและทับถมบริเวณที่ต่ำ
- การทำลายเรียก
ดีกราเดชั่น(degradation)คือการลดระดับแผ่นดิน
- การทับถม เรียกว่า อะกราเดชั่น
(aggradation) เป็นการทับถมเพิ่มระดับ
ตัวกระทำที่อยู่กับที่อุณหภูมิ ความชื้น แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2
กลุ่ม
การกระทำทางกายภาพ(physical weathering)
- อุณหภูมิ
ทำให้หินที่มีแร่ธาตุต่างชนิดกันเกิดการยืดหดไม่เหมือนกัน
ทำให้เนื้อหินแตกแยกจากกันและเนื้อหินดูดรับความชื้นขยายตัวไปบีบอัดส่วนที่รับความชื้นน้อย
พอฤดูแล้งจะคายความชื้นออกมาทำให้หินแตกแยกเนื้อหินเริ่มผุผัง
- ในเขตหนาวมีน้ำแทรกเมื่อน้ำแข็งตัวจะเกิดแรงดันหรือการดูดซับน้ำ
จะทำให้เกลือแร่ที่ละลายมากลับน้ำแทรกตามรอยต่อของหิน
น้ำระเหยทำให้เกลือแร่ตกผลึกมีแรงดันทำให้ขยายรอยต่อรอยแยกของหิน
- รากของพืชจะชอนไชไปตามซอกหินดันให้หินแตกยกจากกัน
โดยปฏิกิริยาเคมี( chemical weathering)
การผุพังยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น
เมื่อฝนตกบริเวณภูเขา
น้ำฝนจะละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดคาร์บอนิก
เมื่อกรดนี้ไหลซึมตามรอยร้าวของหิน
โดยเฉพาะหินปูนก็จะละลายหรือทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตในหินปูน
ได้สารละลายแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต เมื่อสารละลายนี้ซึมลงทางเพดานถ้ำแล้ว
น้ำระเหยไปหมด จะเหลือตะกอนปูนเกาะสะสมอยู่ นาน ๆ ไป
ตะกอนปูนจะแข็งตัวเกิดหินย้อยที่เพดานถ้ำ แต่ถ้าสารละลายนี้หยดลงบนพื้นถ้ำ
แล้วน้ำระเหยไปจนเหลือตะกอนปูนเกาะสะสมอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ
ก็จะแข็งตัวเกิดเป็นหินงอก
- ออกซิเดชั่น (oxidation) แร่ธาตุทำปฏิกิริยากับออกซิเจน
เกิดออกไซด์ทำให้แร่สึกกร่อน
- ไฮโดรไลชิส (hydrolysis)
น้ำแทรกซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อหินจะชุ่มฉ่ำตลอดเวลา
ทำให้หินผุพังได้ง่ายเช่นหินแกรนิตเมื่ออุ้มน้ำทำให้แตกเป็นกาบ เม็ด
-
คาร์บอเนชั่น (carbonation) คาร์บอนไดออกไซต์รวมกับน้ำ เกิดเป็นกรดคาร์บอนนิก
กัดกร่อนหินปูน หินอ่อนเกิดโพรง ถ้ำ ธารน้ำใต้ดิน
-
รากพืชมีสารเคมีเป็นน้ำย่อยสลายแร่ธาตุ
ตัวกระทำที่เกิดจากน้ำ การกร่อน พังทลาย (Weathering and mass wasting)
โดยกระแสน้ำ ถือว่าเป็นกระบวนการจัดระดับ
การไหลของกระแสน้ำในแม่น้ำลำธารเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บริเวณริมฝั่งหรือตลิ่งถูกกัดเซาะให้พังทลายไป
กระแสน้ำสามารถทำให้เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงได้
โดยกระแสน้ำจะกัดเซาะริมฝั่งน้ำให้พังทลายลงและพัดพาเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ
ที่หลุดออกมานี้ให้เคลื่อนที่ไป เราเรียก
กระบวนการที่ทำให้สารเปลือกโลกหลุดไปนี้ว่า การกร่อน
ตะกอนจะถูกกระแสน้ำพัดพาไปทับถม
ตัวกระทำที่สำคัญ
แม่น้ำ น้ำที่ไหลผ่านร่องน้ำเกิดเป็นร่องลึก ทำให้เกิดการสึกกร่อน
(erosion) การพาเคลื่อนที่ (transportation) และการตกตะกอนทับถม (deposition)
การกระทำขึ้นอยู่กับระยะของแม่น้ำกับความลาดชันของพื้นที่
- แม่น้ำบนที่สูง น้ำจะกัดเซาะเกิดน้ำตก น้ำโจน และแก่ง แคนยอน
น้ำที่ไหลผ่านหินที่มีความทนทานต่างกัน ท้องน้ำมีความชันและราบเรียบไม่เท่ากัน
ต้นน้ำ หินที่มีความแข็งทนต่อการสึกกร่อน ทำให้เกิดแก่งและน้ำโจน
ถ้าน้ำไหลเชี่ยวและมีความต่างระดับมากเกิดน้ำตก
หากน้ำไหลแรงกัดเซาะท้องน้ำและฝั่งแม่น้ำพร้อมๆกัน
ถ้าเป็นเขตแห้งแล้งกัดเซาะท้องน้ำมากกว่าชายฝั่ง ทำให้เกิดหุบเขาแคบๆคล้ายตัว V
เรียกหุบเขารูปตัว V หรือโตรกเขา (แคนยอน) canyon
-
น้ำที่ไหลผ่านท้องน้ำพัดพาเอากรวด ทรายหยาบๆครูดหมุนไหลวนอยู่ในแอ่ง บนหน้าหิน กรวด
ทรายจะเป็นตัวครูด ถูขัด สี ทำให้เกิดแอ่งลึก กว้างมากขึ้น เรียก รูรูปหม้อหรือ
กุมภลักษณ์ (Pothole) จะเกิดกับหินปูน หรือหินทราย หินดินดาน มักจะพบบริเวณน้ำตก
ธารน้ำ
- การกัดกร่อนที่เกิดจากน้ำฝนไหลแผ่กว้าง เรียกการกัดกร่อนเป็นแผ่น
หากไหลอย่างรุนแรงเกิดการกัดกร่อนเป็นร่องเรียก gully erosion
-
การสะสมตัวเนื่องจากน้ำ น้ำจะพัดพาตะกอนมาทิ้งทับถมเป็นดินตะกอนรูปพัด (alluvial
fan)
ตะกอนน้ำพารูปพัด (alluvial fan)
- หากไหลผ่านพื้นที่ที่มีความต่างระดับลาดชันน้อย มักเรียกว่า แม่น้ำวัยแก่ (Old
age) จะเกิด การกัดเซาะด้านข้าง ไหลโค้งตะวัด
ทำให้แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินทิ้งร่องเก่าเกิดทะเลสาบรูปแอกหรือที่เรียกว่า กุด (oxbow
lake)
ภาพ แสดงขั้นตอนการเกิด ทะเลสาบรูปแอก กุด(oxbow lake)
-
น้ำฝนที่ตกลงมาไหลกัดเซาะพื้นที่บริเวณที่มีหินฐานผ่านกระบวนการต่างๆจนผุเน่าเปื่อย
ป่าไม้ปกคลุมถูกทำลายลงเกิดการกัดเซาะสึกกร่อนแนวดิ่งผิวบนยังคงอยู่เป็นเกิดภูมิประเทศที่เรียกว่า
เสาดิน เช่น ฮ่อมจ๊อม จ.น่าน แพะเมืองผี จ.แพร่
ในสภาพภูมิประเทศบางแห่ง เช่น บริเวณที่ราบสูง ทะเลทราย ภูเขาสูง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากกระแสลมที่พัดผ่านบริเวณเหล่านี้อยู่เป็นประจำนั้น กระแสลมก็จะทำใหเปลือกโลกเกิดการกร่อนได้อีกทางหนึ่งด้วย
โดยแรงดึงดูดของโลก
โลกมีแรงโน้มถ่วงซึ่งพยายามดึงดูดสิ่งต่างๆ ให้ตกสู่ที่ต่ำหรือตกสู่พื้นโลกตลอดเวลาดังนั้นส่วนต่าง ๆ ของเปลือกโลกจึงถูกโลกดึงดูดอยู่ตลอดเวลา แรงดึงดูดของโลกจึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ช่วยทำให้เปลือกโลกเกิดการกร่อนขึ้น
โดยการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง
บริเวณที่มีอากาศหนาวจัดก็จะมีหิมะสะสมตัวกันมากขึ้นจนกลายเป็นมวลน้ำแข็งขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากซึ่งเรียกกันว่า ธารน้ำแข็ง แรงดึงดูดของโลกจะพยายามดึงธารน้ำแข็งให้เคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำ เมื่อธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ ทำให้เกิดการบดการกระแทกและการขัดสีกับหินที่ธารน้ำแข็งเคลื่อนที่ผ่านไป จึงทำให้เปลือกเกิดการกร่อนได้
โดยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
การเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกร่อน
โดยการทำให้หินขยายตัวและหดตัว ถ้าการขยายตัวของเนื้อหินชั้นในกับผิวนอกไม่เท่ากัน
อาจทำให้หินเกิดการแตกร้าวได้ โดยเฉพาะที่ผิวนอกของหินมักจะแตกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ในบริเวณที่มีอากาศหนาวจัดในบางช่วงเวลาน้ำมีขังอยู่ในรอยแตกในโพรงของก้อนหินจะแข็งตัวและออกแรงดันหิน
จนทำให้เกิดการแตกร้าวได้
ทวีปเลื่อน ( Continental Drift )
ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ (Plate Tectonics)
โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ระดับความรุ่นแรงของแผ่นดินไหวที่วัดด้วยมาตราเมอร์คัลลี่
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
โครงสร้างทางธรณีวิทยาภาคต่างๆของประเทศไทย