ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
การเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรามีปัจจัยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุและมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ
1.
แรงจากภายในเปลือกโลก เรียกกระบวนการ เทคโทนิก เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ
เทคโทนิก มี 2 กระบวนการคือ
-
ไดแอสโตรฟิซึม (diastrophism) เป็นกระบวนการแตก หัก โก่ง งอ บิด ของเปลือกโลก เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกิดจากการยืดหดตัวของเปลือกโลกทั้งหมด เช่นการเลื่อนตัวของเปลือกโลก (fault) ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่อยู่แนวตั้งเรียก รอยต่อ (Joint) รอยแตกจะเหลือน้อยเมื่อลงไปในระดับลึก แรงกดที่ทำให้เปลือกโลกแตกและเลื่อนทำให้ชั้นของหินเปลือกโลกสลับกัน
- ถ้ารอยเลื่อนขนาบหุบเขาที่ 2 ข้างส่วนที่ยุบลงเป็นหุบเขาเรียกว่า กราเบน (graben)
- ถ้า ส่วนที่ยกตัวขึ้น ขนาบทั้ง 2 ข้างด้วยรอยเลื่อนส่วนที่ดันตัวสูงขึ้นเรียกฮอร์ส (horst) การโก่งตัวของเปลือกโลก(fold) การบีบอัดทำให้เปลือกโลกโก่ง พับ งอ ส่วนที่โค้งขึ้นเรียกประทุนคว่ำ (anticline) ส่วนที่โก่งเรียกประทุนหงาย (syncline)
ภาพรอยคดโค้ง ภาพรอยเลื่อน
-
วอลคานิสซึม (volcanism) เป็นกระบวนการของวัตถุละลายภายในโลกเคลื่อนที่ ทำให้เปลือกโลกสั่นเสทือน วัตถุละลายล้นไหลออกมาทับถมภายนอกเปลือกโลกเช่น หินละลายเคลื่อนที่มายังเปลือกโลกดันออกมาเกิดภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาออกมาหรือหินบะซอลต์ไหลออกมาดันตัวแข็งอยู่ใต้เปลือกโลกคล้ายกำแพงเรียก ไดค์(dike) ถ้าดันตัวออกมาเป็นบริเวณกว้างทำให้บริเวณนั้นถูกยกตัวด้วยเรียก แลคโคลิธส์ (laccoliths) หินละลายที่ดันตัวถูกยกตัวแข็งตัวอย่างช้าๆใต้เปลือกโลกทำให้หินชั้นที่สัมผัสกับหินละลายได้รับความร้อนและแรงบีบกลายเป็นหินแปร แร่ที่ อยู่ในหินละลายตกผลึกจึงพบแร่มีค่าในบริเวณที่หินละลายดันตัวขึ้นมา แผ่นดินไหวเป็นผลจากแรงภายในโลกทำให้เปลือกโลกสั่นเสทือน
การเกิดภูเขาไฟ
ภูเขาไฟ (Volcano)
เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก มีความร้อนและความ ดันสูงมาก
พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก
โดยจะมีแร่ปะทุหรือระเบิดเกิดขึ้นทำให้หินหนืดไหลออกมาสู่ผิวโลก ที่เรียกว่าลาวา
(Lava) ไหลมาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ สิ่งที่
พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟนอกจากลาวาแล้วยังมีเถ้าถ่าน ฝุ่นละออง เศษหิน ไอน้ำ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ
แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิดมากกว่าบริเวณที่อยู่ถัดเข้าไปภายในแผ่นทวีป
การเคลื่อนที่ของหินหนืด
หินหนืดหรือหินหลอมเหลวในชั้นแมนเทิลได้รับความร้อนจากแก่นโลก
เกิดการเคลื่อนที่ไหลวนอย่างช้าๆ และส่งผลดันแผ่นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ
ตามหินหนืดไปด้วยแรงดันของหินหนืด
ทำให้หินหนืดในชั้นแมนเทิลที่มีอุณหภูมิและแรงดันสูงสามารถแทรกตัวขึ้นมาตามรอยแยกระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร
หินหนืดในชั้นแมนเทิล
จึงทำหน้าที่เป็นตัวดันและพยุงให้แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรเคลื่อนที่
และขยายตัวแยกออกจากกัน ทำให้เกิดแนวหินใหม่
ผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เป็นไปอย่างช้าๆ ด้วยอัตราเร็วที่ต่ำมาก
แต่มีแรงดันอย่างมหาศาล
ทำให้ขอบอีกด้านหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าไปชนกับขอบแผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง
เช่น แผ่นออสเตรเลีย เคลื่อนที่เข้าชนแผ่นยูเรเซีย
การชนกันของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองนี้ ทำให้บางบริเวณเกิดการเปลี่ยนแปลง
คือแผ่นออสเตรเลียมุดตัวเข้าสู่ใต้แผ่นยูเรเซีย
และมุดหายไปในส่วนแมนเทิลของโลกที่มีความร้อนสูงจึงทำให้เกิดการหลอมตัวของหินเปลือกโลก
นอกจากนั้นการชนของแผ่นออสเตรเลีย
และแผ่นยูเรเซียนี้ยังส่งผลให้เปลือกโลกบางส่วนถูกดันตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง เช่น
บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
การเกิดแผ่นดินไหว
ความร้อนจากแก่นโลกนอกจากจะทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้แล้วยังทำให้เปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวได้มากกว่าผิวบน
ทั้งนี้เพราะที่ผิวโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่าแก่นโลกมาก
และบริเวณผิวโลกยังมีการเปลี่ยนแปลงอุณภูมิอยู่ตลอดเวลา
อิทธิพลนี้จะส่งผลกระทบต่อรอยแตกในชั้นหิน และรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เปลือกโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ผลกระทบการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง
ทำให้เปลือกโลกทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วส่งผล ให้อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง
เกิดการพังทลาย แผ่นดินถล่ม เกิดคลื่นขนาดใหญ่ในทะเล มนุษย์
ไม่สามารถยับยั้งการเกิดแผ่นดินไหวได้
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบการเกิดแผ่นดินไหว เรียกว่า
เครื่องวัดความไหวสะเทือนหรือไซโมกราฟ (Seismograph)
ซึ่งจะบันทึกการสั่นไหวของแผ่นดิน การวัดแผ่นดินไหว ปัจจุบันใช้มาตราริกเตอร์ คือ
กำหนดขนาด (magnitude)
ของแผ่นดินไหวโดยใช้หลักการจากผลบันทึกของเครื่องวัดความเคลื่อนไหวสะเทือนมาตรานี้มีค่าตั้งแต่
0 - 9 ริกเตอร์
แต่ถ้าเป็นมาตราเมอร์คัลลิปรับปรุงแล้วจะวัดความรุ่นแรงของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
โดยใช้มาตรา 12 ระดับ
ทวีปเลื่อน ( Continental Drift )
ทฤษฎีแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ (Plate Tectonics)
โครงสร้างทางธรณีวิทยาของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก
ระดับความรุ่นแรงของแผ่นดินไหวที่วัดด้วยมาตราเมอร์คัลลี่
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
โครงสร้างทางธรณีวิทยาภาคต่างๆของประเทศไทย