ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ธงชาติไทย
คณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย สำนักนายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติธง
พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙
สัดส่วนธงชาติไทยตามพระราชบัญญัติธง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้มีการตราพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๗๙ ขึ้น โดยยังคงใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติเช่นเดิม แต่อธิบายลักษณะธงให้เข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้
พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒
ธงชาติ หรือ ธงไตรรงค์
ธงราชนาวี
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๕๒๒ มีใจความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธงชาติและธงราชนาวี ดังนี้
มาตรา ๕ ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย ได้แก่
(๑) ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบ ตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์
(๒) ธงราชนาวี มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว ๔ ใน ๖ ส่วน ของความกว้างของผืนธง โดยให้ขอบของดวงกลมจดขอบแถบสีแดงของผืนธง ภายในดวงกลมมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าหาเสาธงหรือคันธง
จากข้อกำหนดในพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งธงชาติหรือธงไตรรงค์ และธงราชนาวี เป็นธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย จึงเป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนควรรู้ว่าธงชาติไทยมีความเป็นมาอย่างไร เพื่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในทุกครั้งที่ได้เห็นธงชาติไทย สัญลักษณ์ที่แสดงถึงเอกราชและประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศไทย
ธงแรกของแผ่นดินไทย
ธงช้างเผือก
ธงช้าง
ธงช้างเผือกทรงเครื่อง
ธงชาติสยาม
ธงช้างกลับหัว
ต้นกำเนิดธงไตรรงค์
ธงไทยในสมรภูมิ
เครื่องหมายแห่งไตรรงค์
พระราชบัญญัติธง
การใช้ธงชาติ
การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต
การชักธงชาติ
กรณีที่ทางราชการประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสา
การชักธงชาติและวันพระราชทานธงชาติไทย
การประดับธงชาติ
โอกาสและวันพิธีสำคัญ
การทำความเคารพธงชาติ
การดูแลรักษาธงชาติ
การพับธงชาติ
การทำลายธงชาติ
ธงชาติไทยในโลกสากล