ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ธงชาติไทย
คณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย สำนักนายกรัฐมนตรี
ธงช้างกลับหัว
จากธงช้างกลับหัวที่อุทัยธานี สู่ธงแถบสีต้นแบบธงไตรรงค์
ธงราชการ (รัชกาลที่ ๖)
ธงค้าขาย (รัชกาลที่ ๖)
พุทธศักราช ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมองธงชาติซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ไกล จะมีลักษณะไม่ตางจากธงราชการเท่าไร และรูปช้างที่อยู่กลางธงก็ไม่งดงาม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศเพิ่มเติมแลแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๔ ข้อ ๑๙ ให้แก้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง กลางเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หน้าหันเข้าข้างเสา สำหรับเป็นธงราชการ
ข้อ ๒๐ ธงค้าขายรูปสี่เหลี่ยมพื้นแดง มีขนาดกว้าง ๑ ส่วน ยาว ๑.๑/๒ ส่วน มีแถบขาว ๒ ผืน กว้าง ๑/๖ ของส่วนกว้างของธง ทาบภายในติดตามยาว ห่างจากขอบล่างแลบนของธง ๑/๖ ของส่วนกว้างของธง
ส่วนสาเหตุที่ธงช้างเผือกที่ชักในเรือราษฎรนั้นต้องเปลี่ยนแปลงเป็น ธงค้าขาย เนื่องด้วยเกิดเหตุการณ์ชาวบ้านที่จังหวัดอุทัยธานี ชักธงช้างเผือกกลับหัวขึ้นรับเสด็จ อันถือว่าไม่เป็นมงคล เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวบ้าน รับเสด็จด้วยการนาผ้าสีแดงสลับขาวมาผูกเป็นแถบสีแทนธงช้างเผือกที่หาได้ยาก เพราะต้องนาเข้าจากตางประเทศ ในประกาศเพิ่มเติมแลแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ จึงได้กล่าวเรื่องการแก้ไขธงเรือราษฎร โดยเปลี่ยนเป็น ธงค้าขาย นั่นเอง สำหรับธงทหารเรือ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
ธงแรกของแผ่นดินไทย
ธงช้างเผือก
ธงช้าง
ธงช้างเผือกทรงเครื่อง
ธงชาติสยาม
ธงช้างกลับหัว
ต้นกำเนิดธงไตรรงค์
ธงไทยในสมรภูมิ
เครื่องหมายแห่งไตรรงค์
พระราชบัญญัติธง
การใช้ธงชาติ
การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต
การชักธงชาติ
กรณีที่ทางราชการประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสา
การชักธงชาติและวันพระราชทานธงชาติไทย
การประดับธงชาติ
โอกาสและวันพิธีสำคัญ
การทำความเคารพธงชาติ
การดูแลรักษาธงชาติ
การพับธงชาติ
การทำลายธงชาติ
ธงชาติไทยในโลกสากล