ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ธงชาติไทย

คณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย สำนักนายกรัฐมนตรี

ธงช้างเผือกทรงเครื่อง

พระราชบัญญัติธงฉบับแรก ที่มาแห่งธงช้างเผือกทรงเครื่อง

ธงเรือรบหลวง (รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๑๐)

ธงเรือราษฎร หรือ ธงชาติสยาม (รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๑๐)

พุทธศักราช ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔) ขึ้น เป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรกของประเทศไทย โดยในพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธงชาติสยาม และธงที่ชักในเรือหลวงดังนี้

ข้อ ๘ ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่มุมธงข้างบนมีจักร สำหรับชักท้ายเรือพระที่นั่ง แลเรือรบหลวง

ข้อ ๑๓ ธงชาติสยาม เป็นรูปช้างเผือกเปล่าพื้นแดง ใช้ในเรือกาปั่นแลเรือทั้งหลายของพ่อค้า เรือกาปั่นแลเรือตาง ๆ ของไปรเวตทั่วไปในชาวสยาม

เมื่อ “ธงเรือหลวง” อยู่ในกรมทหารเรือ

ธงเรือหลวง (รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๑๖ และ ร.ศ. ๑๑๘)

ธงเรือราษฎร หรือ ธงชาติ (รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๑๖ และ ร.ศ. ๑๑๘)

พุทธศักราช ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำรัสให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติธงฉบับแรก (ร.ศ.๑๑๐) และพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ เสียใหม่ เรียกพระราชบัญญัติธงฉบับนี้ว่า “พระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๑๘” โดยในพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีข้อกำหนดเกี่ยวกับธงเรือหลวงและธงชาติ ดังนี้

ที่ ๘ ธงเรือหลวง สีแดงกลางมีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น น่าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชัก ที่ในเรือหลวงทั้งปวง กับทั้งใช้ชักที่ป้อม แลที่พักทหารบรรดาที่ขึ้นอยู่ในกรมทหารเรือทั้งสิ้น

ที่ ๑๔ ธงชาติ พื้นสีแดงกลางเป็นรูปช้างเผือกน่าเข้าข้างเสา สำหรับใช้ชักในเรือทั้งหลายของพ่อค้า แลของสามัญชนทั่วไป บรรดาที่เป็นชาติชาวสยาม

“ธงทหารเรือ” ความภาคภูมิใจของทหารเรือ

ธงราชการ (รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๒๙)

ธงทหารเรือ (รัชกาลที่ ๕ ร.ศ. ๑๒๙)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ธงแรกของแผ่นดินไทย
ธงช้างเผือก
ธงช้าง
ธงช้างเผือกทรงเครื่อง
ธงชาติสยาม
ธงช้างกลับหัว
ต้นกำเนิดธงไตรรงค์
ธงไทยในสมรภูมิ
เครื่องหมายแห่งไตรรงค์
พระราชบัญญัติธง
การใช้ธงชาติ
การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต
การชักธงชาติ
กรณีที่ทางราชการประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสา
การชักธงชาติและวันพระราชทานธงชาติไทย
การประดับธงชาติ
โอกาสและวันพิธีสำคัญ
การทำความเคารพธงชาติ การดูแลรักษาธงชาติ
การพับธงชาติ
การทำลายธงชาติ
ธงชาติไทยในโลกสากล