ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ธงชาติไทย

คณะกรรมการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย สำนักนายกรัฐมนตรี

เครื่องหมายแห่งไตรรงค์

ความหมายเตือนใจให้ระลึกถึง ชาติ ศาสน์ กษัตริย์

การเปลี่ยนแปลงจากธงแดงขาวห้าริ้วเป็นธงไตรรงค์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งได้ทรงออกแบบธงไตรรงค์ ได้พระราชนิพนธ์ “เครื่องหมายแห่งไตรรงค์” เพื่อสื่อความหมายของสีทั้งสามที่อยู่ในธงชาติไว้ด้วย ดังนี้

  • ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย
    แห่งสีทั้งสามงามถนัด.
  • ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์
    และพระธรรมคุ้มจิตไทยง
  • แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้
    เพื่อรักษะชาติศาสนา.
  • น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา
    ธ โปรดเป็นของส่วนองค์.
  • จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์ จึงเป็นสีธง
    ที่รักแห่งเราชาวไทย.
  • ทหารอวตารนำไป ยงยุทธ์วิชัย
    วิชิตก็ชูเกียรติสยามฯ

(จากหนังสือดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ พ.ศ. ๒๔๖๑)

จากบทพระราชนิพนธ์เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักออกแบบธงชั้นยอด ที่สามารถออกแบบธงให้มีความหมายรวมถึงสถาบันหลักของแผ่นดิน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสัญลักษณ์บนผืนธงชาติได้อย่างงดงาม ขณะเดียวกันก็ไม่ทรงทิ้งรูปแบบธงเดิมที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของธง ทรงรักษาและให้ปรากฏอยู่บนธงราชนาวี ธงชาติอีกแบบหนึ่งซึ่งแสดงความเป็นชาติไทยที่ใช้ชักในเรือหลวง ซึ่งพระองค์ถือได้ว่าเป็นผู้ให้กำเนิดธงราชนาวีอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับธงไตรรงค์ จึงนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคนที่ต้องตระหนักไว้เสมอและตลอดไป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

ธงแรกของแผ่นดินไทย
ธงช้างเผือก
ธงช้าง
ธงช้างเผือกทรงเครื่อง
ธงชาติสยาม
ธงช้างกลับหัว
ต้นกำเนิดธงไตรรงค์
ธงไทยในสมรภูมิ
เครื่องหมายแห่งไตรรงค์
พระราชบัญญัติธง
การใช้ธงชาติ
การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต
การชักธงชาติ
กรณีที่ทางราชการประกาศให้ลดธงชาติครึ่งเสา
การชักธงชาติและวันพระราชทานธงชาติไทย
การประดับธงชาติ
โอกาสและวันพิธีสำคัญ
การทำความเคารพธงชาติ การดูแลรักษาธงชาติ
การพับธงชาติ
การทำลายธงชาติ
ธงชาติไทยในโลกสากล