ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
หน้า 2
หมวด 2
การดำเนินงาน
_______
(1) นายกสภามหาวิทยาลัยซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
(2) อุปนายกสภามหาวิทยาลัยซึ่งได้แก่อธิการบดีโดยตำแหน่ง
(3) กรรมการสภามหาวิทยาลัยจำนวนเจ็ดคนซึ่งเลือกตั้งจากผู้ ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี
คณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการศูนย์
และหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น
(4) ประธานสภาคณาจารย์โดยตำแหน่ง และกรรมการสภา
มหาวิทยาลัยอีกจำนวนหกคนซึ่งเลือกตั้งจากคณาจารย์ประจำผู้ได้ทำการสอน
ในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และ
(5) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสิบสี่คนซึ่งจะ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยโดย คำแนะนำของนายกสภามหาวิทยาลัย
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการ สภามหาวิทยาลัยตาม (3) และ (4)
มาตรา 14 การเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัย ตาม มาตรา 13 (3) ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ วิทยาลัย หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการศูนย์ และ หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น เป็นผู้เลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 13 (4) ซึ่งมิใช่กรรมการโดย ตำแหน่ง ให้คณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นผู้เลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้รับเลือกตั้ง ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนดเป็นข้อบังคับของ มหาวิทยาลัย
มาตรา 15 ให้รองอธิการบดีเป็นเลขานุการสภามหาวิทยาลัย ในกรณีที่มีรองอธิการบดีหลายคน ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งรองอธิการบดี คนหนึ่งเป็นเลขานุการสภามหาวิทยาลัยโดยคำแนะนำของอธิการบดี
มาตรา 16 นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย มีวาระอยู่ในตำแหน่งสองปี และจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งหรือ อาจได้รับเลือกตั้งใหม่อีกก็ได้ นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยพ้นจากตำแหน่ง ก่อนวาระเมื่อตายหรือลาออก กรรมการสภามหาวิทยาลัยตามมาตรา 13 (3) (4) และ (5) พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในประเภทนั้น ๆ ในกรณีที่นายกสภามหาวิทยาลัยหรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยซึ่ง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งหรือได้รับเลือกตั้ง พ้นจากตำแหน่งก่อน วาระและได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งหรือมีการเลือกตั้งให้ดำรง ตำแหน่งแทนแล้ว ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งและผู้ได้รับเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับ วาระที่เหลือของกรรมการสภามหาวิทยาลัยซึ่งได้แต่งตั้งและเลือกตั้งไว้แล้ว ในกรณีที่นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายกสภา มหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิกับยังมิได้เลือกตั้ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยอื่นขึ้นใหม่ ให้นายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งมีการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยอื่นขึ้นใหม่
มาตรา 17 สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการ ทั่วไปของมหาวิทยาลัย และโดยเฉพาะมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(1) วางนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของชาติ
(2) วางระเบียบและออกข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และอาจมอบให้ส่วนราชการใดในมหาวิทยาลัยเป็นผู้วางระเบียบและออก ข้อบังคับสำหรับส่วนราชการนั้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ก็ได้
(3) พิจารณาการจัดตั้ง รวม และยุบเลิกบัณฑิตวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย แผนกอิสระ สถาบัน ศูนย์ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และ ภาควิชา
(4) พิจารณาการรับเข้าสมทบหรือการยกเลิกการสมทบซึ่ง สถานศึกษาชั้นสูงหรือสถานวิจัย (5) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้อง กับมาตรฐานที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด
(6) อนุมัติให้ปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และ ประกาศนียบัตร
(7) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย รองผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าแผนกอิสระ รองหัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน รองผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการศูนย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ หัวหน้าหรือรองหัวหน้าหน่วยงาน ที่เรียกชื่ออย่างอื่น หัวหน้าภาควิชา ศาสตราจารย์กิตติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ
(8) ดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง และพิจารณาถอดถอนอธิการบดี ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์พิเศษ
(9) พิจารณาอนุมัติงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยตาม มาตรา 11
(10) วางระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงาน การเงิน และทรัพย์สิน ของมหาวิทยาลัย
(11) แต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา 20 ให้รักษาการในตำแหน่ง อธิการบดี ในกรณีที่ตำแหน่งอธิการบดีว่างลง
(12) พิจารณาและให้ความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของ มหาวิทยาลัยตามที่อธิการบดีเสนอ
(13) มีหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ มาตรา 18 การประชุมของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 19 ให้มีอธิการบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและ รับผิดชอบงานทั้งปวงของมหาวิทยาลัย และอาจมีรองอธิการบดีหรือผู้ช่วย อธิการบดี หรือมีทั้งรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อช่วยกิจการที่อธิการบดีจะมอบหมายก็ได้
มาตรา 20 อธิการบดีนั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย จากผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ได้ปริญญาเอกหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาน ศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(2) ได้ปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และได้ทำการสอนวิชา ในมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรองมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว รวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของ มหาวิทยาลัย อธิการบดีมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และจะทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกัน ไม่ได้ รองอธิการบดี ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับอธิการบดี และเป็น ข้าราชการพลเรือนของมหาวิทยาลัย โดยให้อธิการบดีเป็นผู้เสนอการแต่งตั้ง และถอดถอนรองอธิการบดีต่อสภามหาวิทยาลัย ผู้ช่วยอธิการบดีต้องมีคุณสมบัติได้ปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และเป็นข้าราชการพลเรือนของมหาวิทยาลัยโดยให้อธิการบดีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน เมื่ออธิการบดีพ้นจากตำแหน่ง ให้รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี พ้นจากตำแหน่งด้วย
มาตรา 21 อธิการบดีมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(1) ควบคุมดูแลกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ นโยบาย
ระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
(2) ควบคุมการเงิน การพัสดุ สถานที่และทรัพย์สินอื่นของ
มหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ระเบียบ และข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย
(3) เป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยในกิจการทั่วไป
(4) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการด้านต่าง ๆ ของ
มหาวิทยาลัยเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
(5) หน้าที่อื่นตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หรือตามที่
สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
มาตรา 22 ให้มีสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และข้อแนะนำต่ออธิการบดีและหน้าที่อื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยหรืออธิการบดี มอบหมาย ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเลือกตั้ง ขึ้นจากคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย จำนวนสมาชิก หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้ง และการดำเนินงาน ของสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยให้กำหนดเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 23 ในคณะ ให้มีคณบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและ รับผิดชอบงานของคณะและอาจมีรองคณบดีคนหนึ่งหรือหลายคนเพื่อช่วย กิจการที่คณบดีจะมอบหมายก็ได้ ในแผนกอิสระ ให้มีหัวหน้าแผนกอิสระคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและ รับผิดชอบงานของแผนกอิสระ และอาจมีรองหัวหน้าแผนกอิสระคนหนึ่ง หรือ หลายคนเพื่อช่วยกิจการที่หัวหน้าแผนกอิสระจะมอบหมายก็ได้ คณบดีและหัวหน้าแผนกอิสระนั้นให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจาก คณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยผู้ซึ่งได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และได้ ทำการสอนในมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี คณบดีและหัวหน้าแผนกอิสระมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจ ได้รับแต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ รองคณบดีหรือรองหัวหน้าแผนกอิสระต้องมีคุณสมบัติตามวรรคสาม และ ให้คณบดีหรือหัวหน้าแผนกอิสระเป็นผู้เสนอการแต่งตั้งและถอดถอนรองคณบดี หรือ รองหัวหน้าแผนกอิสระต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อคณบดีหรือหัวหน้าแผนกอิสระพ้นจากตำแหน่ง ให้รองคณบดีหรือ รองหัวหน้าแผนกอิสระพ้นจากตำแหน่งด้วย
มาตรา 24 ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชาในคณะหรือวิทยาลัย ให้มีหัวหน้าภาควิชาเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของภาควิชาหัวหน้าภาควิชานั้น ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งจากคณาจารย์ ประจำของมหาวิทยาลัยผู้ซึ่งได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเทียบเท่าจาก มหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และได้ทำการ สอนในมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรองมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสามปี หัวหน้าภาควิชามีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้ง ใหม่อีกก็ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
มาตรา 25 ในคณะ ให้มีคณะกรรมการประจำคณะ ประกอบด้วย
(1) คณบดีเป็นประธานกรรมการ
(2) รองคณบดี ถ้ามี เป็นกรรมการ
(3) หัวหน้าภาควิชาในคณะ ถ้ามี เป็นกรรมการ
(4) ในกรณีที่ไม่มีการแบ่งภาควิชา ให้มีกรรมการซึ่งคณาจารย์
ประจำในคณะเลือกตั้งขึ้นจากคณาจารย์ประจำในคณะนั้น มีจำนวนตามที่
กำหนดในข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่มีการแบ่งภาควิชา
ให้มีกรรมการซึ่งคณาจารย์ประจำ ในคณะเลือกตั้งขึ้นจากคณาจารย์ประจำในคณะนั้น
มีจำนวนเท่ากับกึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการใน (1) (2) และ (3) รวมกัน
แต่จะเป็นคณาจารย์ ประจำในภาควิชาเดียวกันเกินหนึ่งคนไม่ได้
ถ้ากรรมการที่เลือกตั้งมีจำนวน ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง ให้เพิ่มจำนวนกรรมการขึ้นอีกหนึ่งคน
กรรมการตาม (4) ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งสองปี และอาจได้รับ เลือกตั้งใหม่อีกก็ได้
ให้คณบดีเป็นผู้แต่งตั้งหรือถอดถอนเลขานุการคณะกรรมการประจำ คณะ เมื่อคณบดีพ้นจากตำแหน่งให้เลขานุการคณะกรรมการประจำคณะพ้นจาก ตำแหน่งด้วย
มาตรา 26 ในแผนกอิสระ ให้มีคณะกรรมการประจำแผนกอิสระ ประกอบด้วย (1) หัวหน้าแผนกอิสระเป็นประธานกรรมการ (2) รองหัวหน้าแผนกอิสระ ถ้ามี เป็นกรรมการ (3) กรรมการซึ่งคณาจารย์ประจำในแผนกอิสระเลือกตั้งขึ้น จากคณาจารย์ประจำในแผนกอิสระนั้น มีจำนวนตามที่กำหนดในข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย กรรมการตาม (3) ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งสองปี และอาจ ได้รับเลือกตั้งใหม่อีกก็ได้ ให้หัวหน้าแผนกอิสระเป็นผู้แต่งตั้งหรือถอดถอนเลขานุการ คณะกรรมการประจำแผนกอิสระ เมื่อหัวหน้าแผนกอิสระพ้นจากตำแหน่งให้ เลขานุการคณะกรรมการประจำแผนกอิสระพ้นจากตำแหน่งด้วย
มาตรา 27 คณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการประจำ แผนกอิสระมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(1) วางนโยบายและแผนงานของคณะหรือแผนกอิสระให้ สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย
(2) วางระเบียบและออกข้อบังคับภายในคณะหรือแผนกอิสระ ตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย ทั้งนี้ โดยไม่ขัดต่อระเบียบและข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย
(3) วางหลักสูตรและรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรสำหรับคณะ หรือแผนกอิสระเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
(4) วางระเบียบและออกข้อบังคับเกี่ยวกับการศึกษาของคณะ หรือแผนกอิสระเพื่อเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
(5) เสนอการแต่งตั้งและถอดถอนศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ พิเศษ ศาสตราจารย์กิตติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ในคณะหรือในแผนกอิสระ ต่อมหาวิทยาลัย
(6) จัดการสอบไล่สำหรับคณะหรือแผนกอิสระ
(7) รับปรึกษาและให้ความเห็นแก่คณบดีหรือหัวหน้าแผนกอิสระ
มาตรา 28 ในบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีคณบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา และรับผิดชอบงานของบัณฑิตวิทยาลัย และอาจมีรองคณบดีคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อช่วยกิจการที่คณบดีจะมอบหมายก็ได้ คุณสมบัติ วิธีการแต่งตั้ง และวาระการดำรงตำแหน่งของคณบดี และรองคณบดีให้นำมาตรา 23 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 29 ในบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีคณะกรรมการประจำบัณฑิต วิทยาลัยคณะหนึ่งมีอำนาจและหน้าที่บริหารงานของบัณฑิตวิทยาลัย และอาจ ให้มีคณะกรรมการอื่นที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติงานต่าง ๆ ของบัณฑิตวิทยาลัยตามที่ สภามหาวิทยาลัยเห็นสมควรอีกได้ การกำหนดองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ประจำบัณฑิตวิทยาลัยรวมทั้งวาระการดำรงตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ส่วนองค์ ประกอบและอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอื่น ตลอดจนวาระการดำรง ตำแหน่งของประธานกรรมการและกรรมการ ให้ทำเป็นประกาศทบวง มหาวิทยาลัยและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 30 ในวิทยาลัย สถาบัน ศูนย์หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อ อย่างอื่น ให้มีผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและ รับผิดชอบงานของวิทยาลัย สถาบัน ศูนย์หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และอาจมีรองผู้อำนวยการหรือรองหัวหน้าหน่วยงานคนหนึ่งหรือหลายคน เพื่อช่วยกิจการที่ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานจะมอบหมายก็ได้ ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานนั้น ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง จากคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย ผู้ซึ่งได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือ เทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และได้ทำการสอนในมหาวิทยาลัยหรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัย รับรองมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกก็ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกัน ไม่ได้ รองผู้อำนวยการหรือรองหัวหน้าหน่วยงานต้องมีคุณสมบัติตาม วรรคสอง และให้ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้เสนอแต่งตั้งและ ถอดถอนรองผู้อำนวยการหรือรองหัวหน้าหน่วยงานต่อสภามหาวิทยาลัย
เมื่อผู้อำนวยการหรือหัวหน้าหน่วยงานพ้นจากตำแหน่ง ให้รอง ผู้อำนวยการหรือรองหัวหน้าหน่วยงานพ้นจากตำแหน่งด้วย
มาตรา 31 ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการ ศูนย์ หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และหัวหน้าภาควิชาต้องสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มเวลา และจะดำรงตำแหน่งหรือรักษาราชการแทน หรือ รักษาการในตำแหน่งดังกล่าวมากกว่าหนึ่งตำแหน่งในขณะเดียวกันเกิน หกเดือนไม่ได้
มาตรา 32 วิธีการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกสภา มหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการ ศูนย์ หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นและหัวหน้าภาควิชา ให้กำหนด เป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 33 การดำเนินงานของคณะกรรมการประจำบัณฑิต วิทยาลัย คณะกรรมการประจำคณะหรือคณะกรรมการประจำแผนกอิสระ ให้กำหนดเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 34 คณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยมีตำแหน่งทาง วิชาการ ดังนี้
(1) ศาสตราจารย์
(2) รองศาสตราจารย์
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(4) อาจารย์
มาตรา 35 ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ต้องมีคุณวุฒิ ความสามารถทางการสอน และผลงานวิชาการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย อาจารย์ต้องได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรองหรือมีความชำนาญพิเศษ ในสาขาวิชาที่มีการสอนในมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์นั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดย คำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย
มาตรา 36 อาจารย์พิเศษนั้น อธิการบดีจะแต่งตั้งขึ้นประจำปี การศึกษา ตามคำแนะนำของคณบดี หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการหรือ หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นจากผู้มีคุณวุฒิเหมาะสม และมิได้เป็น คณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย อธิการบดีอาจเสนอแต่งตั้งอาจารย์พิเศษเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเศษ หรือรองศาสตราจารย์พิเศษก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดเป็นข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย
มาตรา 37 ศาสตราจารย์พิเศษนั้นจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์พิเศษในวิชาที่ผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญ เป็นพิเศษ โดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ให้ กำหนดเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 38 ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และ ความชำนาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณในวิชาที่ศาสตราจารย์ ผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศก็ได้ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ให้กำหนดเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย