ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดย คำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2522/55/1พ/20 เมษายน 2522]
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2486
(2) พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486
(3) พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2491
(4) พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2497
(5) พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499
(6) พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2502
(7) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 176 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วใน พระราชบัญญัตินี้หรือที่มีข้อความขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2486 เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตาม พระราชบัญญัตินี้ และเป็นนิติบุคคล
มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ "มหาวิทยาลัย" หมายความว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "สภามหาวิทยาลัย" หมายความว่า สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้
หมวด 1
บททั่วไป
_______
มาตรา 8 มหาวิทยาลัยอาจแบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานอธิการบดี
(2) บัณฑิตวิทยาลัย
(3) คณะ
(4) วิทยาลัย
(5) แผนกอิสระ มหาวิทยาลัยอาจให้มีสถาบันเพื่อทำการวิจัย ศูนย์เพื่อส่งเสริมวิชาการ
และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นเพื่อให้บริการทางวิชาการเป็นส่วนราชการใน
มหาวิทยาลัยอีกก็ได้
สำนักงานอธิการบดีอาจแบ่งส่วนราชการเป็นกอง และแผนกหรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น คณะและวิทยาลัย อาจแบ่งส่วนราชการเป็นภาควิชา กอง สำนักงาน เลขานุการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น บัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน ศูนย์และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น อาจแบ่งส่วนราชการเป็นกอง สำนักงานเลขานุการ หรือส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่น แผนกอิสระอาจแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานเลขานุการหรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น กอง และสำนักงานเลขานุการ อาจแบ่งส่วนราชการเป็นแผนก หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
มาตรา 9 การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกบัณฑิตวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย แผนกอิสระ สถาบัน ศูนย์และหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การแบ่งส่วนราชการเป็นภาควิชา กอง สำนักงานเลขานุการ และแผนก หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้ทำเป็นประกาศทบวง มหาวิทยาลัย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 10 ภายใต้วัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 มหาวิทยาลัย จะรับสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถานวิจัยอื่นเข้าสมทบในมหาวิทยาลัยก็ได้ และมีอำนาจให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรชั้นใดชั้นหนึ่งแก่ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาชั้นสูงนั้นได้
การรับเข้าสมทบหรือการยกเลิกการสมทบซึ่งสถานศึกษาชั้นสูง หรือสถานวิจัยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา การควบคุมสถานศึกษาชั้นสูงหรือสถานวิจัย ซึ่งเข้าสมทบใน มหาวิทยาลัยให้กำหนดเป็นข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 11 นอกจากเงินที่กำหนดไว้ในงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยอาจมีรายได้ดังนี้
(1) เงินผลประโยชน์และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
(2) ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ให้แก่มหาวิทยาลัย
รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง
ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
มาตรา 12 บรรดารายได้และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย จะต้อง จัดการเพื่อประโยชน์ภายในขอบวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยดังระบุไว้ใน มาตรา 7 หรือตามวัตถุประสงค์ซึ่งผู้อุทิศทรัพย์สินให้แก่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้
| หน้าถัดไป »