ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน
หน้า 2
หมวด 1
คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก
_______
มาตรา 9 ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ สองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้ง ไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่ง แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
มาตรา 10 ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (1) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (2) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วย กฎหมายให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือ ความผิดลหุโทษ (3) เป็นบุคคลล้มละลาย (4) เป็นกรรมการพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
มาตรา 11 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 9 กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) รัฐมนตรีให้ออก (4) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 10
มาตรา 12 ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการ ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานและรองประธานไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
มาตรา 13 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่ง มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 14 คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจและ หน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดนโยบายการขนส่งทางบกระยะสั้นและระยะยาวเสนอ ต่อคณะรัฐมนตรี (2) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาและดำเนินการสถานีขนส่ง เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (3) กำหนดมาตรการและแผนพัฒนาการขนส่งทางบกเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี (4) กำหนดมาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวก ในการขนส่งทางบก เพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (5) กำหนดการห้ามรับจดทะเบียนรถเป็นครั้งคราวตามความ จำเป็นโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้คณะกรรมการปฏิบัติ (6) ประสานงานที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในด้านการขนส่งทางบก ตลอดจนประสานงานด้านการขนส่งทางบกกับการขนส่งทางน้ำและการขนส่ง ทางอากาศ (7) ให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขนส่งทางบก
มาตรา 15 คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกมีอำนาจแต่งตั้ง อนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา 12 และมาตรา 13 มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุ กรรมการโดยอนุโลม
หมวด 2
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
________
มาตรา 17 ให้มีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด ทุกจังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน กรรมการ อัยการจังหวัด ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเป็นกรรมการ และผู้ซึ่ง รัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินห้าคน โดยมีนายกเทศมนตรีในจังหวัดนั้นรวมอยู่ด้วย หนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้ขนส่งจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดแต่งตั้งผู้ช่วย เลขานุการคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
มาตรา 18 ให้นำมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 และมาตรา 13 มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดโดยอนุโลม
มาตรา 19 ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจ และหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดลักษณะของการขนส่งประจำทางและการขนส่ง ไม่ประจำทาง
(2) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถ สำหรับการขนส่งประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและ ระหว่างประเทศ
(3) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการ ขนส่งไม่ประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างจังหวัดและระหว่าง ประเทศ
(4) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่ง และจำนวนรถ สำหรับการขนส่ง โดยรถขนาดเล็ก
(5) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการรับจัดการขนส่ง
(6) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง
(7) กำหนดอัตราค่าบริการในการดำเนินการของสถานีขนส่ง
(8) กำหนดสถานที่ จัดให้มีหรือจัดตั้ง และระเบียบเกี่ยวกับสถานี ขนส่ง
(9) กำหนดชนิดหรือสภาพรถที่มิให้รับจดทะเบียน
(10) กำหนดประเภทหรือชนิดของรถที่ต้องเข้าหยุดหรือจอดเพื่อการ รับส่งผู้โดยสารหรือขนถ่ายสินค้า ณ สถานีขนส่ง
(11) กำหนดที่หยุดหรือจอดรถเพื่อรับส่งผู้โดยสาร
(12) วางมาตรการในการกำหนด อนุญาต เพิกถอนการอนุญาตและ การควบคุมกิจการขนส่งทางบก
(13) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบก การกำหนดตาม (2) (3) (4) (8) (9) และ (10) ให้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 20 ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด มีอำนาจและหน้าที่ภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับ การขนส่งประจำทาง
(2) กำหนดจำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับการขนส่ง ไม่ประจำทาง
(3) กำหนดเส้นทาง จำนวนผู้ประกอบการขนส่งและจำนวนรถสำหรับ การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
(4) กำหนดอัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง
(5) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และตามมติ คณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางบกและคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ทางบกกลาง การกำหนดตาม (1) และ (4) เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบกกลางแล้วจึงจะใช้บังคับได้ และการกำหนดตาม (1) (2) และ (3) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 21 คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจ แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ ให้นำมาตรา 12 และมาตรา 13 มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะ อนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา 22 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการ การขนส่งทางบก เพื่อประโยชน์ในการนี้จะสั่งให้คณะกรรมการชี้แจงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานหรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ซึ่งขัดต่อนโยบาย ของรัฐบาลหรือมติของคณะรัฐมนตรี ตลอดจนมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานได้