ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2522
เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบัน

หน้า 3

หมวด 3
การประกอบการขนส่ง
_______

มาตรา 23 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่ง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือการขนส่งส่วนบุคคล เว้นแต่ จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง การขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัท มหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดนั้นต้อง จดทะเบียนตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักรไทย และ

(1) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด ต้องมีสัญชาติไทย

(2) ในกรณีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัด ความรับผิดทั้งหมดต้องมีสัญชาติไทย และทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่า ร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติ ไทย

(3) ในกรณีที่เป็นบริษัทจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด ต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและมีสัญชาติไทย หรือต้องเป็นของ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด หรือต้องเป็น ของกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ หรือองค์การของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของ รัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่มีข้อบังคับ อนุญาตให้มีการออกหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ

(4) ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการบริษัทจำนวนไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย และทุนของบริษัทมหาชนจำกัดนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดต้องเป็นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และมีสัญชาติไทย ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดเป็นห้างหุ้นส่วน สามัญจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ถือหุ้น ดังกล่าวจะต้องมีลักษณะตาม (1) (2) (3) หรือ (4) แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางมีอำนาจยกเว้น คุณสมบัติตามความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษเป็นการเฉพาะรายได้

มาตรา 25 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบการขนส่งระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางโดยอนุมัติของคณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบกกลางและผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวต้องปฏิบัติตาม บทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่ออนุสัญญาหรือ ข้อตกลงระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่ง การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำมาตรา 28 มาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 34 และ มาตรา 36 มาใช้บังคับแก่การประกอบการขนส่งระหว่างประเทศโดยอนุโลม

มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศมาใช้ ประกอบการขนส่งในประเทศไทย เว้นแต่เพื่อการขนส่งระหว่างประเทศและ ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนกลางแล้ว ผู้ประจำรถตามมาตรา 92 ซึ่งประจำในรถตามวรรคหนึ่งต้องปฏิบัติ ตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหรือตามข้อตกลงที่มีอยู่ระหว่าง รัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ

มาตรา 27 ใบอนุญาตประกอบการขนส่งมีสี่ประเภท คือ (1) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (2) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง (3) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก (4) ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ไม่ประจำทางหรือใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ให้ใช้เป็น ใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลได้

ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งใช้รถผิดประเภทตามที่ ระบุไว้ข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียนเป็น ครั้งคราว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก กลางกำหนด

มาตรา 28 ใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้มีอายุเจ็ดปี นับแต่วันออกใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ใบอนุญาตประกอบการ ขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้มีอายุ ห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอ เสียก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ แต่การขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทางและใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จะต้องยื่นคำขอ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวัน การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 29* บทบัญญัติมาตรา 23 มิให้ใช้บังคับแก่การขนส่งส่วน บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา วัด มูลนิธิที่ได้รับอำนาจแล้ว สภากาชาดไทย สถานพยาบาล รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เป็นผู้ประกอบ การขนส่ง แต่ผู้ประกอบการขนส่งต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติอื่นแห่งพระราชบัญญัตินี้ เสมือนดังเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลทุกประการ *[มาตรา 29 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523]

มาตรา 30 ให้นายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการ ขนส่งในกรุงเทพมหานคร การขนส่งระหว่างจังหวัด และการขนส่งระหว่าง ประเทศ และให้นายทะเบียนประจำจังหวัดเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบการ ขนส่งในจังหวัดของตน ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจะต้องได้รับอนุมัติ จากคณะกรรมการ

มาตรา 31 ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาต เกี่ยวกับ (1) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ ในการประกอบการขนส่ง (2) สิทธิในรถที่ใช้ประกอบการขนส่งของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบ การขนส่ง (3) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบ การขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (4) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (5) จำนวนผู้ประจำรถ (6) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (7) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (8) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (9) ที่ที่รถจะต้องหยุดในระหว่างเส้นทาง (10) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (11) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (12) เวลาทำงานประจำวันในการประกอบการขนส่ง (13) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ

(14) การประกอบกิจการอื่นนอกจากการประกอบการขนส่งประจำทาง (15) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางต้องจัดให้มีประกาศ เงื่อนไขตาม (6) (7) (8) (9) และ (11) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด

มาตรา 32 ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาต เกี่ยวกับ (1) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (2) ลักษณะ ชนิดและขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบ การขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (3) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุกและวิธีการบรรทุก (4) จำนวนผู้ประจำรถ (5) ท้องที่ที่ทำการขนส่ง (6) มาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่ง (7) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (8) สถานที่หยุดและจอดเพื่อขนถ่ายคน สัตว์ หรือสิ่งของ (9) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษารถ (10) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางต้องจัดให้มีการ ประกาศเงื่อนไขตาม (7) และ (8) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด

มาตรา 33 ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถ ขนาดเล็ก ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของคณะกรรมการกำหนดเงื่อนไขไว้ ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (1) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่งตามเส้นทางที่ใช้ ในการประกอบการขนส่ง (2) ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถและเครื่องหมายของ ผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (3) จำนวนที่นั่ง เกณฑ์น้ำหนักบรรทุก และวิธีการบรรทุก (4) เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ (5) เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง (6) อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (7) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กต้องจัดให้มี ประกาศเงื่อนไขตาม (5) และ (6) ณ ที่ซึ่งอธิบดีกำหนด

มาตรา 34* ในการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ให้นายทะเบียนกำหนดเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ทางบกกลางกำหนดไว้ในใบอนุญาตเกี่ยวกับ (1) จำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง (2) ลักษณะ ชนิด และขนาดของรถและเครื่องหมายของผู้ประกอบ การขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน (3) สถานที่เก็บ ซ่อม และบำรุงรักษา (4) จำนวนผู้ประจำรถ (5) เงื่อนไขอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 34 (1) (2) (3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2523 มาตรา 34 (4) และ (5) เพิ่มเติมโดยพระราช บัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 35 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามประเภทที่กำหนด ในกฎกระทรวง ต้องจัดให้มีสมุดประจำรถ ประวัติผู้ประจำรถ และหรือใบกำกับ สินค้าที่ทำการขนส่งและต้องทำรายงานเกี่ยวกับการขนส่งและอุบัติเหตุที่เกิดจาก การขนส่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 36* ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องจัดให้มีอุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัย ในการขนส่ง ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 36 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 37 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางจัดให้ มีที่พักผู้โดยสารตามระยะทางโดยมีลักษณะ ขนาด จำนวน และจุดที่ตั้งของที่พัก ผู้โดยสารตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการ

มาตรา 39 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบ การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ใช้หรือยอมให้บุคคลอื่นใช้รถที่ได้รับอนุญาตทำการขนส่งนอกเส้นทาง หรือ นอกท้องที่ที่ได้รับอนุญาตแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจาก นายทะเบียน หรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมาย ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด

มาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทาง กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการ ขนส่งประจำทางหรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทางได้รับอนุญาต

มาตรา 41 ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นที่จะแก้ไข สถานการณ์เพื่อให้การขนส่งได้รับความสะดวกหรือให้มีรถเพียงพอแก่การขนส่ง นายทะเบียนมีอำนาจที่จะสั่งเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินรถ เวลา และ จำนวนเที่ยวของการเดินรถ หรือให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้ใด ส่งรถที่ตนได้รับอนุญาตไปช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวตามควรแก่กรณีแล้วให้ รายงานคณะกรรมการโดยเร็ว

มาตรา 42 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องแสดงใบอนุญาต ประกอบการขนส่ง หรือใบแทนใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผย ณ ที่ตั้งสำนักงานของ ผู้ได้รับใบอนุญาต

มาตรา 43 ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบการขนส่งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งยื่นคำขอรับ ใบแทนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการ สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว

มาตรา 44 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นหนังสือ ให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันเลิกประกอบการ ขนส่ง

มาตรา 45 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบการขนส่งต้องแจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็น หนังสือให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันเลิกประกอบ การขนส่ง

มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง (1) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 24 (2) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขในมาตรา 31 มาตรา 32 มาตรา 33 หรือมาตรา 34 หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยของผู้โดยสารตามมาตรา 36 หรือไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยการชดใช้ค่าเสียหายที่ เกิดจากการขนส่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งนั้น ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง หรือ เป็นที่เห็นได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่สามารถจะดำเนินการ ตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดนั้น หรือการดำเนินการนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิด ภยันตรายหรือเสื่อมประโยชน์ต่อประชาชน ให้นายทะเบียนโดยอนุมัติของ คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งได้ แต่ถ้าเป็นการ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่จะพิจารณาอนุมัติ

มาตรา 47 ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถูกสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา 48 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งถูกสั่งเพิกถอน ใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย