ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ประเทศจีน
เมืองทรงเสน่ห์
- เมืองเซี่ยงไฮ้
- เมืองกวางโจว
- เมืองเซินเจิ้น
- เมืองซูโจว
- เมืองชิงเต่า
- ฮ่องกง
เมืองทรงเสน่ห์
เมืองชิงเต่า
ชิงเต่า ตั้งอยู่ในมณฑลซันตง ซึ่งเป็นมณฑล ชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศจีน และเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำหวงเหอที่ไหลลงสู่ทะเลป๋อไห่ พื้นที่บนแผ่นดินมีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลเหอเป่ย เหอหนัน อันฮุย เจียงซู โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 10,654 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7 ล้านคน ในจำนวนนี้ อาศัยอยู่ในเขตเมืองประมาณ 2,270,000 คน และมีความหลากหลายทางชนชาติประกอบด้วย 54 เชื้อชาติ โดยกลุ่มเชื้อสายฮั่นมีมากที่สุดถึง 90.17 ล้านคน คิดเป็นอัตราส่วน 99.32% ประชากรชนชาติอื่นๆรวม 620,000 คน ประกอบด้วย ชนชาติมุสลิม แมนจู จ้วง เกาหลีเหนือ แม้ว ทิเบต ไป๋เป็นต้น
เมืองชิงเต่าอยู่ในอ้อมกอดของทะเลและภูเขา มีทัศนียภาพสวยงามและภูมิอากาศสดชื่น ประกอบกับประวัติศาสตร์ของการตกเป็นเมืองขึ้นของเยอรมนีในอดีต ซึ่งสภาพเมืองชิงเต่ามีกลิ่นไอของความเป็นยุโรปอยู่มากด้วยความที่บรรยากาศ สภาพแวดล้อม ตึกรามบ้านช่อง มีสไตล์ยุโรปกว่า 90% ทำให้เมืองนี้ดูแตกต่างจากเมืองอื่นๆของจีน ชิงเต่าจึงกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 มีทั้งอ่าวทะเลและชายหาดอันโรแมนติก ภูเขาเหลาซานที่บันทึกอยู่ในเทพนิยาย มีเมืองที่ทันสมัยและคึกคัก ตึกลามบ้านช่องสไตล์ยุโรป สถานที่บันเทิงและศูนย์จัดงานนิทรรศการ ทั้งหมดนี้ประกอบกันเป็นมนต์เสน่ห์อันน่าใฝ่ฝันของเมืองชิงเต่า ในเมืองชิงเต่ามีสถาปัตยกรรมสไตล์แตกต่างกันของ 20 กว่าประเทศ เช่น ทำเนียบผู้ว่าชิงเต่าจาก เยอรมนี โบสถ์ของศาสนาคาทอลิก คฤหาสน์แบบยุโรป ซึ่งสิ่งก่อสร้างแต่ละที่มีตำนานและที่มาของตัวเอง มีภาพยนตร์ทั้งจีนและต่างประเทศหลายเรื่องเคยใช้เมืองชิงเต่าเป็นสถานที่ถ่ายทำ หมู่บ้าน Holiday สือเหล่าเหรินซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับชาติมีคฤหาสน์ริมทะเล อ่าวอับน้ำตามชายหาด สวนรูปบ้าน พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำใต้ทะเล เมืองเบียร์นานาชาติ สนามกอล์ฟ ศูนย์จัดนิทรรศการต่างๆ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม สนามกีฬาและคลับเรือสำราญและเรือใบเป็นต้น นับเป็นสถานบันเทิงที่ทันสมัยและครบบวงจร นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นของชิงเต่าแล้ว ชาวชิงเต่ายังนิยมเล่นกีฬาอย่างมาก รับสมญานามว่า "เมืองกรีฑา" และ "เมืองฟุตบอล" ของจีน และในฐานะที่เป็นเมืองจัดการแข่งขันเรือใบของงานกีฬาโอลิมปิค 2008 เมืองชิงเต่าวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อปรับปรุงภาวะนิเวศให้ดียิ่งขึ้น โครงการพัฒนาของชิงเต่าสอดรับกับแนวความคิด "โอลิมปิคสีเขียว โอลิมปิคแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและโอลิมปิกมนุษยชาติ" พยายามจัดงานให้มีเอกรักษ์ พร้อมกันนั้น ชิงเต่าก็จะอาศัยภูมิประเทศที่มี "ภูเขา ทะเลและเมือง" เป็นแบบองค์เดียวกัน มนุษย์และธรรมชาติอยู่รวมกันอย่างกลมกลืน สร้างฐานกีฬาเหนือทะเลที่อยู่ระดับแนวหน้าของโลก และพัฒนาให้เมืองชิงเต่าเป็น "เมืองหลวงแห่งเรือใบ" ต่อไป ชิงเต่า ญี่ปุ่น และเกาหลี มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างชาติท่องเที่ยว ซึ่งตกลงในขั้นต้นที่จะสร้างเรือสำราญวิ่งระหว่างกัน เพราะทั้ง ชิงเต่า โซล โตเกียว อยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ทำให้การท่องเที่ยวไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น บินไปมาแค่ 1 ชม.เท่านั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใดนักท่องเที่ยวจากเกาหลีและญี่ปุ่นถึงเข้ามาเที่ยวในชิงเต่ามากที่สุด
สถานที่ท่องเที่ยวภูเขาเหลาซาน
เขตทัศนียมภาพภูเขาเหลาซานตั้งอยู่ริมชายหาดทะเลหวงไห่
ยอดเขาหลักสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,133 เมตร
เป็นยอดเขาสูงสุดในบรรดาภูเขาที่กระจายตามชายหาดของจีน
สร้างชื่อเสียงโด่งดังในฐานะที่เป็น"ภูเขาเทวดากลางทะเล" และ
"ภูเขาเลื่องชื่อของศาสนาเต๋า" คณะรัฐมนตรีจีนให้อนุรักษ์ไว้อย่างดี
ภูมิอากาศของเขตเขานี้ดีเป็นพิเศษ หน้าหนาวอบอุ่น หน้าร้อนเย็นสบาย
อารามของศาสนาเต๋าหลายแห่งอยู่กลางป่าสนอันเก่าแก่ มีประวัติอันยาวนานเกือบ 2000 ปี
เคยเป็นสถานที่เผยแพร่ศาสนาเต๋าที่สำคัญของจีน
หินเขาที่นี่มีรูปร่างสวยและแปลกตามีชีวิตชีวา เหมือนรูปคนและรูปสัตว์
คล้ายบรรยากาศบนสวรรค์ เป็นที่ประทับของเทพยาดา
เหลาซานมีผลิตภัณฑ์จากภูเขาอันอุดมสมบูรณ์ นอกจากต้นไม้โบราณและดอกไม้ลือชื่อแล้ว
ยังมีน้ำพุที่เย็นฉ่ำ มีแร่ธาตุหลายชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
เป็นน้ำดื่มและน้ำที่ใช้ผลิตเบียร์คุณภาพชั้นดี ส่วนหยกทะเลบริเวณรอบนอกภูเขา
เหลาซานก็เป็นที่นิยมกันมากจากช่างฝีมือทั้งจีนและต่างประเทศ
ผู้ที่สนใจและอยากศึกษาศาสนาเต๋า ต้องไม่พลาดไปปีนภูเขาเหลาซานด้วยตนเอง
ตั้งอยู่ในเมืองชิงเต่า มณฑลซันตงทางตะวันออก เป็นเบียร์ยี่ห้อเก่าแก่บนแผ่นดินใหญ่จวบจนวันนี้ก็มีอายุมากกว่า 100 ปีแล้ว จุดเริ่มต้นของโรงเบียร์แห่งนี้ ต้องนับย้อนไปเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ปี 1903 โรงงานผลิตเบียร์นี้ก่อตั้งขึ้นด้วยการทุ่มเงิน 400,000 มาร์คของพ่อค้าชาวเมืองเบียร์ร่วมกับพ่อค้าชาวอังกฤษ ใช้ชื่อเริ่มต้นว่า บริษัทเบียร์เจอมานิสเชส (Germanisches) แห่งเมืองชิงเต่า จำกัด และใช้เทคโนโลยีการหมักบ่มและวัตถุดิบจากประเทศเยอรมัน กิจการของพวกเขาดำเนินไปได้ 13 ปี ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 โรงงานผลิตเบียร์แห่งนี้จึงถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของทหารญี่ปุ่นอีก 29 ปี และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงงานผลิตเบียร์ไดนิปปอน คอร์เปอเรชั่น หลังจากนั้นเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม โรงงานแห่งหนึ่งก็ตกอยู่ในมือของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งสถานการณ์ทางการเมืองได้ทำให้กิจการดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่นนัก การกลับมามีชีวิตใหม่ของโรงเบียร์ชิงเต่า เริ่มต้นตั้งแต่ 2 มิถุนายนปี 1949 เมื่อทหารกองทัพปลดปล่อยแห่งพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยชนะเหนือพรรคก๊กมินตั๋งในเมืองชิงเต่า และยึดโรงเบียร์แห่งนี้เป็นวิสาหกิจของรัฐอย่างเต็มตัว ซึ่งมีกิจการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 1959 ศักยภาพทางการผลิตก็เริ่มทะลุ 10,000 ตัน ถัดมาในปี 1963 ได้รับยกย่องให้เป็นเบียร์แห่งชาติยี่ห้อเดียวของจีน และเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมนี้บนแผ่นดินใหญ่เรื่อยมาจนทุกวันนี้ในปี 1993 โรงงานผลิตเบียร์แห่งนี้ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อต้องปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเบียร์ชิงเต่าจำกัด และเข้าสู่ตลาดทุนเป็นครั้งแรก ด้วยการปรากฏตัวทั้งในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และฮ่องกง และเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก(WTO) เบียร์ชิงเต่าก็ได้ใช้โอกาสนี้เป็นพันธมิตรกับอันเฮาเซอร์ บุช ผู้ผลิตเบียร์ บัดไวเซอร์ จากสหรัฐฯ
ตึกหินหลากสี
ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทางเส้นทางแปดสาย เป็นรูปแบบอาคารแบบเยอรมัน
ที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมของโรมันและแบบโกธิค และเคยเป็นที่พักของพรานป่าชาวเยอรมัน
ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นโรงแรมไปแล้ว
ตั้งอยู่ที่หลางยาในเมืองเจียวหนาน เมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดและเป็นฐานที่ตั้งทางทหารในสมัยโบราณ เมืองเก่าหลางยาได้ถูกทำลายไประหว่างแผ่นดินไหว เมื่อสิ้นสุดยุคสมัยอื่น แต่ซากต่างๆทางประวัติศาสตร์ ที่หลงเหลืออยู่ เป็นภาพที่น่าประทับใจ
เส้นทางแปดสาย
ตั้งอยู่ในตัวเมืองซึ่งตั้งชื่อตามเส้นทางที่มีชื่อเสียงทั้งแปด
ทั้งหมดเป็นต้นไม้และพืชพรรณที่สวยงาม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ ต้นเชอรี่
เดือนเมษายนและ พฤษภาคมของทุกปี
นักท่องเที่ยวสามารถชื่นชมต้นเชอรี่ที่ออกดอกบานสะพรั่ง บริเวณทั้งหมดมีบ้านพักกว่า
200 หลัง ที่สร้างหลากหลายแบบอย่างสวยงาม
ข้อมูลทั่วไป
ชนเผ่า
เมืองโบราณทั้งเจ็ดของจีน
เมืองทรงเสน่ห์
ท่องเที่ยวเมืองจีนน
พิเชฎฐ์ ชัยยัง
การศึกษาอิสระ ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู สำนักบัณฑิต
สถาบันราชภัฏเชียงราย มกราคม 2553