สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้>>
มะเร็ง
มะเร็งต่อมธัยรอยด์
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งตับ
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งลำไส้
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสร้างเซลล์เม็ดเลือดผิดปกติในไขกระดูก
พบว่าเซลล์เม็ดเลือด จะเจริญเติบโตนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการตับและม้ามโตร่วมด้วย
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือด
มะเร็งสามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ ลิมโฟไซม์ (lymphocyte)
และไมอีลอยด์ (myeloid) และ แบ่งการดำเนินของโรคเป็น 2 ชนิดเช่นกัน คือ
ชนิดเฉียบพลัน (acute) โรคเกิดเร็ว หรือดำเนินเร็ว โดยที่มีเซลล์ตัวอ่อน (blast
cell) จำนวนมาก ส่วนชนิดเรื้อรัง (chronic) โรคจะดำเนินช้า เซลล์ตัวอ่อนไม่มาก
ซึ่งสามารถแบ่งย่อย อย่างละเอียดออกได้เป็นดังนี้คือ
1. Acute lymphocytic leukemia [ALL] เซลล์ส่วนใหญ่เป็น lymphocyte
มักพบในเด็ก
2. Acute myeloid leukemia [AML] พบมากในเด็กและผู้ใหญ่
3. Chronic
lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในอายุมากกว่า 55 ปี
4. Chronic myeloid leukemia [CML] พบในผู้ใหญ่
-
ในภาวะปกติ การสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ เป็นไปอย่างสมดุล ทำให้มีการปล่อยผลิตผล (mature cells) คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง (red cells หรือ erythrocytes) เซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งสามชนิด (neutrophils, eosinophils และ basophils) และเกร็ดเลือด (platelets) เข้าสู่กระแสเลือด (peripheral blood) ในปริมาณที่เหมาะสม และสามารถเร่งการผลิตได้เป็นระยะ ๆ
-
เมื่อใดที่เกิดความผิดพลาดในเซลล์เม็ดเลือดเซลล์ใดเซลล์หนึ่ง ที่ทำให้อัตราการแบ่งตัวของเซลล์นั้นสูงขึ้น หรือการแบ่งตัวไม่ สามารถหยุดลงได้ หรือเมื่อมีการสะดุดของระบบพัฒนา (differentiation) ก็จะเกิดการเสียสมดุลของการผลิตเซลล์เม็ดเลือด เซลล์ที่แบ่งตัวไม่ยอมหยุดจะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าเซลล์ชนิดอื่นในไขกระดูก ถ้าการพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิด ต่างๆ แบบ สะดุดหยุดลง เซลล์ตัวอ่อนก็จะมีปริมาณคั่งอยู่มาก เพราะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ตัวแก่ไม่ได้ ดังนั้น จะเกิดการเพิ่มจำนวน ของเซลล์ตัวอ่อนชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นอันมากนี้ จึงเรียกว่าเป็น มะเร็งของเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia)
-
มะเร็งมักเกิดขึ้นในเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภท lymphoid cells และ myeloid cells เป็นส่วนใหญ่ จึงมีชื่อเรียกว่า มะเร็งเม็ดเลือดขาว ในระยะหลังก็พบว่าเซลล์ที่สร้างเม็ดเลือดแดงก็เป็นมะเร็งได้ แต่เนื่องจากเซลล์ที่ตรวจพบนั้นยังไม่มีการสร้าง hemoglobin จึงเรียกรวมว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งเช่นกัน นอกจากนี้พบว่าเซลล์ที่สร้างเกล็ดเลือดก็เป็นมะเร็งได้เช่นกัน ปัจจุบันคำว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาว (acute leukemia) จึงใช้รวมเรียก มะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดทุกชนิด
-
ยังมีมะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดบางประการที่ทำให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดทั้งตัวอ่อน (blast cells) และตัวแก่ (mature cells) เป็นจำนวนมาก โดยที่สัดส่วนของ blast cells ในไขกระดูกมิได้มากผิดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเหล่านี้เรียกว่า มะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia ) ซึ่งได้แก่ chronic myelogenous leukemia (CML) และ chronic lymphocytic leukemia (CLL) เป็นต้น เพื่อให้แตกต่างจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia)
การวินิจฉัยและจำแนกชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
-
การวินิจฉัยสามารถทำได้ไม่ยาก โดยแพทย์จะตรวจร่างกายพบ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองโต และทำการเจาะเลือดตรวจเพื่อตรวจนับจำนวน และดูลักษณะของเม็ดโลหิตขาว ตรวจดูความเข้มข้นของเลือด รวมทั้งเกร็ดเลือด ก็อาจสามารถให้การวินิจฉัยได้ถูกต้อง ซึ่งหากสงสัย อาจจะต้องทำการเจาะไขกระดูก หรือเจาะไขสันหลัง เพื่อตรวจเซลล์มะเร็งในน้ำไขสันหลัง พร้อมวางแผนทำการรักษาต่อไป
-
ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเมื่อได้รับการตรวจไขกระดูกแล้ว พบเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนมะเร็ง(abnormal blast cells) มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเซลล์ที่มีนิวเคลียสทั้งหมดในไขกระดูก อย่างไรก็ดีโดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการซีด มีไข้เลือดออก หรือปวดกระดุก เมื่อตรวจไขกระดูกเป็นครั้งแรก มักพบว่าเป็นเซลล์มะเร็งเกือบทั้งหมด พบว่ามีเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดแดง หรือเม็ดเลือดขาวปกติอยู่น้อย การวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจึงมักจะตรงไปตรงมา แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ทำ bone marrowaspirationแล้วไม่ได้ไขกระดูก อาจจำเป็นต้องตรวจไขกระดูก โดยวิธี bone marrow biopsy เป็นต้น
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สรุปสาเหตุที่อาจทำให้เกิดมะเร็ง ..คือ
-
สารเคมีที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของยีน และข้อมูลพันธุกรรมภายในเซลล์ (Chemical carcinogens)
-
รังสี (Ionizing radiation) ทำให้สารพันธุกรรม คือ ดีเอ็นเอ (DNA) เกิดการแตกหัก จึงอาจทำให้เกิดข้อมูลผิดพลาดในระหว่างการซ่อมแซมเส้นดีเอ็นเอ
-
ความผิดพลาดในการสร้างโครโมโซม (Chromosomal aberration) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการแบ่งตัวของ เซลล์เม็ดเลือดขาวตามปกติ
-
ไวรัสบางชนิด (Viruses ) ทำให้เกิดการสอดแทรกของยีนของไวรัสไปในระหว่างยีนต่างๆ ของเซลล์เม็ดเลือดขาวจึงทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมผิดปกติไป
สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของยีน
โครโมโซม คือข้อมูลพันธุกรรมของเซลล์ให้ผิดปกติ
นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็ง
ซึ่งก็คือเซลล์ที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมการแบ่งตัว
จึงเกิดการเพิ่มจำนวนไม่ยอมหยุด และเกิดมีอาการของโรคมะเร็งในที่สุด
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด
-
การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก เช่นระเบิดปรมาณู
-
การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน
-
ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down' syndrome
-
ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีเช่น benzene
อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือด
อาการต่าง ๆ เกิดจากเม็ดเลือดเสียหน้าที่เช่น
เม็ดเลือดขาวเสียหน้าที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อง่าย มีไข้
เซลล์มะเร็งมีมากจะทำให้เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือดมีน้อย
ทำให้เกิดอาการซีดและเลือดออกง่าย นอกจากนี้ยังเกิดอาการต่าง ๆ
ตามที่เซลล์มะเร็งไปอยู่ เช่น ปวดศีรษะ ... สรุปอาการที่พบบ่อยๆ มีดังนี้
-
ไข้หนาวสั่น บางครั้งเหมือนหวัด
-
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
-
มีการติดเชื้อบ่อย
-
บวมและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม
-
เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง ไรฟัน ตา
-
ปวดกระดูก
อาการแสดงในระยะแรก มักไม่ค่อยชัดเจน
อาจจะเป็นเพียงมีไข้เรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ มีประวัติเลือดกำเดาออกบ่อย
ๆเลือดออกตามไรฟัน มีจ้ำเลือดตามตัวหรือฟกช้ำง่าย
อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณชายโครงทั้งสองข้าง คือ ตับ และม้ามที่โตถ้าเป็นมากขึ้น
จะมีอาการเซื่องซึมลง เบื่ออาหาร ซีด มีจุดเลือดออกตามตัว ในระยะที่เป็นมาก
จะมีก้อนโตขึ้น ตามตำแหน่งต่าง ๆ เช่น คอ ขาหนีบ หรือรักแร้ เป็นต้น
ซึ่งเกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่โต ในกรณีที่กระจายเข้าสู่สมอง
จะมีอาการซึมลงในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาจถึงขั้นไม่รู้สติ และเสียชีวิตได้
ข้อควรปฏิบัติ
หากมีอาการไข้เรื้อรัง และมีอาการซีด
โดยเฉพาะในรายที่มีจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือจ้ำเลือดตามลำตัว ควรไปพบแพทย์
เพื่อรับการตรวจร่างกาย และตรวจเลือดอย่างละเอียด ผู้ที่มีประวัติได้รับยาเคมีบำบัด
หรือได้รับรังสีเกินขนาด ควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด
แนวทางการรักษา
แนวทางการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย และมะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน
โดยหลักการการรักษา คือระยะแรกจะควบคุมโรคให้สงบ (remission)
หลังจากนั้นจะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (relapse) ซึ่งผู้ป่วยหลายราย
สามารถหายขาดได้...
วิธีการรักษา
1. เคมีบำบัด (Chemotherapy) สามารถให้ได้ทั้งการฉีดและการกิน
มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าทางไขสันหลัง
2. รังสีรักษา (Radiotherapy) สามารถให้ได้ 2 กรณี คือ
ให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่น ม้าม อัณฑะ หรืออาจ ให้ฉายรังสีทั้งตัว
เพื่อเตรียมการปลูกถ่ายไขกระดูก
3. การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow
transplantation) โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสี เพื่อทำ ลายเซลล์
หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล
จนกระทั่งร่างกาย สามารถสร้างเม็ดเลือดได้
4. การสร้างภูมิคุ้มกัน (Biological therapy) โดยการใช้ interferon
กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
5. การรักษาอื่นๆ ที่จำเป็น..
เนื่องจากการรักษามะเร็งเม็ดเลือดมีโรคแทรกซ้อนมาก ดังนั้นการรักษาอื่น ๆ
ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อง่าย
ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนมาก โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการระบาดของโรค
ถ้าได้รับการติดเชื้อที่รุนแรง จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
ภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และพบบ่อย
หากเป็นมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าซีดมาก ควรได้รับการเติมเลือด
(tranfussions) ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจช่องปากก่อนการรักษาด้วย
ผลข้างเคียงของการรักษา
-
เคมีบำบัด (Chemotherapy) หลักการให้เคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วซึ่งเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็ว ดังนั้นจึงถูกทำลายมากแต่ขณะเดียวกันการให้เคมีบำบัดก็ทำลายเซลล์ปกติดังนั้นอาการข้างเคียงจึงเกิดจาก การที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
-
รังสีรักษา (Radiotherapy) บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้โลชั่น ก่อนปรึกษาแพทย์
-
การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation) ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
กินตะไคร้ไกลมะเร็ง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับมะเร็ง
คีโมกับมะเร็งและการดำรงชีวิต
ทับทิมบำรุงหัวใจ ยับยั้งมะเร็ง
วิธีพิชิตโรคมะเร็ง
สมุนไพรต้านมะเร็ง
แสงแดดช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
อาการของมะเร็งที่ควรใส่ใจ