สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้>>
มะเร็ง
มะเร็งต่อมธัยรอยด์
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งตับ
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งลำไส้
มะเร็งเต้านม
มะเร็งปอด
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สถานวิทยามะเร็งศิริราช
คนทั่วไปมักจะคุ้นกับคำว่าระบบประสาท, ระบบเลือด, ระบบทางเดินอาหาร
ส่วนคำว่า น้ำเหลือง มีพบที่แผลเน่าหรือคนตายไปแล้ว
ร่างกายมนุษย์จะมีทั้งน้ำเลือดและน้ำเหลืองควบคู่กันไปด้วยกัน
เลือดทำหน้าที่เลี้ยงเซลล์ให้ได้อาหาร, ออกซิเจน น้ำเหลืองทำหน้าที่ป้องกันโรค
ระบบน้ำเหลืองมี 2 ส่วน คือ ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักจะอยู่เป็นกลุ่ม ๆ
ตามคอ, รักแร้, ขาหนีบ ปกติจะมีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วและคลำไม่พบ
ระหว่างต่อมน้ำเหลือง จะมีหลอดน้ำเหลืองเป็นเส้นเล็ก ๆ เล็กกว่าหลอดเลือด
โยงถึงกันเป็นตาข่ายทั่วร่างกาย ระบบน้ำเหลือง
ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ร่างกายติดเชื้อโรคหรือทำหน้าที่ควบคุม ระบบภูมิคุ้มกัน
ของร่างกาย โดยจะดักและกรองเชื้อโรค และแยกออกไปจากร่างกาย
ถ้ามีเชื้อโรคเต็มต่อมน้ำเหลืองจะอักเสบ บวมโต คลำพบได้ มักไม่เกิน 2 ชม.
และมักจะเจ็บ บางครั้ง เรียกว่า ต่อมลูกหนูโต
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโรคฮอดจกินส์
และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ใช่ชนิดโรคฮอดจกินส์ นายแพทย์โธมัส ฮอดจกินส์
ผู้พบโรคนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2375 การแบ่งชนิดว่าเป็นชนิดใด
ต้องอาศัยดูเซลล์ทางพยาธิวิทยา โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์ มะเร็งทั้ง 2 ชนิดนี้
จะมีการดำเนินโรค, ความรุนแรง และมีการรักษาแตกต่างกัน,
แบ่งเป็นเกรดต่ำถึงเกรดสูงตามความรุนแรง ชาวไทยจะพบได้บ่อยเป็นอันดับที่ 8-9
หรือประมาณร้อยละ 4-5 ของมะเร็งทั้งหมด
สาเหตุและเหตุส่งเสริม
มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้มากกว่าปกติ เช่น
มีการติดเชื้อไวรัสชนิด อี.บี.
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องโดยธรรมชาติ
ผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ผู้ที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
อาจเกิดได้บ่อยในบางครอบครัว หรือมนุษย์บางเผ่า
อาการและอาการแสดง
เมื่อโรคยังเป็นน้อย
จะคลำต่อมน้ำเหลืองได้ขนาดเล็ก ๆ ไม่เจ็บ (ลูกหนูโต)
มักจะคลำพบบริเวณคอ, รักแร้, ขาหนีบ
ก้อนไม่เจ็บ
ก้อนจะค่อย ๆ โตเป็นกลุ่ม จะมีขนาดใหญ่
อาจเท่าผลส้มโอก็ได้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา เมื่อโรคเป็นมาก จะกระจายไปทั่วร่างกาย
มีไข้, เหงื่อออกเวลากลางคืน และน้ำหนักตัวลด
อาจมีปวดท้อง, คลื่นไส้อาเจียน และติดเชื้อได้ง่าย
อาการเหล่านี้อาจจะไม่ใช่มะเร็งก็ได้ อาจจากการติดเชื้อ, ไข้หวัด ฯลฯ
แต่ถ้าอาการเหล่านี้ไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์
การวินิจฉัย
1. แพทย์จะซักถามประวัติการเจ็บป่วย ลักษณะการโตของต่อมน้ำเหลือง
2. ตรวจร่างกายโดยการคลำต่อมน้ำเหลืองทั้งตัว
3. ตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่โตไปตรวจทางพยาธิวิทยา จะเป็นการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน
และบอกชนิดได้ด้วย
4. เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้แล้ว ต้องมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ
เพื่อทราบระยะของโรค (นอกเหนือไปจากการถ่ายเอ็กซเรย์ปอด, ตรวจเลือด, ปัสสาวะ,
อุจจาระ) ได้แก่
การตรวจโดยคอมพิวเตอร์ (ซี.ที.)เพื่อดูต่อมน้ำเหลืองในช่องอก,
ช่องท้อง
การสแกนกระดูก, ตับ, ม้าม
บางรายอาจต้องผ่าตัดเปิดช่องท้องลงไปดู
ระยะโรค
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งเป็น 4 ระยะ เหมือนมะเร็งอวัยวะอื่น ๆ
ต้องทราบว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตที่ใดบ้าง? อยู่เหนือหรือใต้กระบังลม
(กระบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อบาง ๆ กั้นแบ่งระหว่างช่องอกและช่องอกและช่องท้อง
อยู่ใต้ปอดและหัวใจ และเคลื่อนไหวตามการหายใจ)
ระยะที่ 1 : โรคอยู่ในต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียว หรือหลายต่อม
แต่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น เฉพาะที่คอ, รักแร้ ฯลฯ
ระยะที่ 2 : โรคเป็นมากกว่า 1 ต่อม หรือ 1 กลุ่ม
แต่ยังอยู่ข้างเดียวกันของกระบังลมทั้งคู่ เป็นต้น
ระยะที่ 3 : พบโรคทั้งเหนือและใต้กระบังลม เช่น มีโรคที่รักแร้ และขาหนีบ
เป็นต้น
ระยะที่ 4 : โรคกระจายออกนอกระบบน้ำเหลือง เช่น มีโรคที่ผิวหนัง, ตับ, ม้าม,
ปอด, กระดูก เป็นต้น
โรคแต่ละระยะยังแบ่งเป็น ระยะ A และระยะ B
ระยะ A ผู้ป่วยไม่มีอาการของการกระจายของโรค คือ ไม่มีไข้,
ไม่มีเหงื่อออกเวลากลางคืน หรือไม่มีน้ำหนักตัวลดลง
ระยะ B จะมีอาการเหล่านี้ โรคระยะนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างเต็มที่
เพราะโรคกระจายไปไกลแล้ว
การรักษา
การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีหลายวิธี
แพทย์จะใช้วิธีใดนั้นต้องพิจารณาถึง
เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดใด ?
มีเกรดความรุนแรงแค่ไหน ? โรคโตช้าหรือเร็ว ?
โรคเป็นระยะใด ?
อายุและสุขภาพของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ?
- บางชนิดมีเกรดต่ำ โตช้า ไม่ค่อยทำให้เกิดอาการ แพทย์อาจจะยังไม่รักษา
แต่จะเฝ้าดูอาการไปก่อน ยังไม่รักษาจนกว่าจะเกิดอาการขึ้นก็ได้
- บางชนิดมีเกรดปานกลางหรือเกรดสูง มักจะใช้ยารักษามะเร็งร่วมกับการฉายรังสี
บางครั้งจำเป็นจะต้องผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งก้อนใหญ่ออกไปก่อน
การรักษาพอจะสรุปวิธีการรักษาได้ดังนี้
การผ่าตัด ส่วนใหญ่เพื่อตัดเอาก้อนมะเร็งไปตรวจทางพยาธิวิทยาเท่านั้น
หรือเพื่อตัดเอาก้อนที่โตมากออกไปก่อนการใช้วิธีอื่นรักษา ไม่ถือเป็นการรักษาหลัก
การใช้ยารักษามะเร็ง หรือ เคมีบำบัด เป็นการรักษาหลักของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เพราะโรคมักจะลุกลามไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะไขกระดูก มักจะใช้ยา 3-4 ชนิดร่วมกัน
ให้ทุก ๆ 3-4 สัปดาห์ บางชนิดใช้กิน บางชนิดใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
การฉายรังสี เป็นการรักษาเฉพาะที่ที่ได้ผลดีมาก
แต่เหมาะสำหรับโรคที่ยังเป็นน้อย เช่น โรคระยะที่ 1 หรือในกรณีที่ให้เคมีบำบัด
ก้อนยุบไม่หมด จึงฉายรังสีด้วย และก้อนมักจะยุบหมด
ชีวะบำบัด
เป็นการรักษาวิธีใหม่ที่ใช้สารจากธรรมชาติมากระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น
เช่น การใช้สารโมโนโคลนั่ลแอนติบอดี้ย์ ซึ่งในประเทศไทยมีจำหน่ายแล้ว
มีชื่อทางการค้าว่า แมพเธอร์รา ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ใช่ฮอดจกินส์
และมีเกรดต่ำ และอีกชนิดหนึ่งคาดว่าจะมีจำหน่ายเร็ว ๆ นี้คือเบ็กซ่า หรือ
อองโคลิมฟ์ องค์การอาหารและยะของสหรัฐเพิ่งประกาศรับรองว่า อินเตอเฟอรอน
ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ผลดี เมื่อปี พ.ศ. 2540 นี้เอง
ยาตัวนี้มีจำหน่ายในประเทศไทยหลายปีมาแล้ว
ผลข้างเคียงการรักษา
อย่าลืมว่าการรักษาโรคทุกชนิด ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม
มักจะมีผลข้างเคียงทั้งนั้น แต่เพื่อให้โรคหายและรอดชีวิต
ตัวผู้ป่วยและญาติจึงไม่ควรวิตกในเรื่องนี้
เพราะผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น และจะไม่เป็นอันตราย
ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ระหว่างได้รับเคมีบำบัด อาจมีคลื่นไส้ เบื่ออาหาร เจ็บปาก ผมร่วง
และการติดเชื้อ ระหว่างฉายรังสีอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ
อาการเหล่านี้ในผู้ป่วยแต่ละคนจะต่างกัน บางคนอาจมีอาการมาก
บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อย บางคนอาจไม่มีอาการเลยก็ได้
การรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
กินตะไคร้ไกลมะเร็ง
ข้อควรรู้เกี่ยวกับมะเร็ง
คีโมกับมะเร็งและการดำรงชีวิต
ทับทิมบำรุงหัวใจ ยับยั้งมะเร็ง
วิธีพิชิตโรคมะเร็ง
สมุนไพรต้านมะเร็ง
แสงแดดช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
อาการของมะเร็งที่ควรใส่ใจ