ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา จังหวัดยะลา
จังหวัดยะลา เป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางด้านโบราณคดีแห่งหนึ่ง จากตำนานพื้นเมืองปัตตานีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมืองปัตตานีโบราณนั้นมีการโยกย้ายถึงสี่ครั้ง ครั้งแรกเมืองนี้ได้เริ่มก่อตัวขึ้นที่บ้านปาโย หรือบ้านบาโย ซึ่งปัจจุบันได้แก่บริเวณท้องที่ตำบลหน้าถ้ำ ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา บนฝั่งแม่น้ำปัตตานี แม่น้ำปัตตานีตอนที่อยู่ในเขตจังหวัดยะลาก็เรียกกันว่าแม่น้ำยะลาก็มีแม่น้ำท่าสาปก็มี ในเขตนี้พบซากโบราณสถาน และศิลปะโบราณวัตถุจำนวนมาก มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 - 17 เป็นส่วนใหญ่
ตามชายฝั่งแม่น้ำปัตตานีมีร่องรอยว่า เคยมีชุมชนโบราณตั้งเรียงรายกันอยู่หลายแห่ง เฉพาะที่เป็นแหล่งใหญ่แสดงให้เห็นว่าเคยเป็นเมืองมาก่อนนั้น มีอยู่สองแห่งคือบริเวณบ้านเนียง - สนามบิน - วัดคูหาภิมุข และเขากำปั่นในเขตจังหวัดยะลา แห่งหนึ่ง และบริเวณอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีอีกแห่งหนึ่ง สำหรับบริเวณบ้านเนียง - วัดคูหาภิมุข นั้นได้พบภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ภายในถ้ำในเขตวัดคูหาภิมุข และได้พบเศษชิ้นของวัตถุในบริเวณบ้านสนามบิน แสดงว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเมืองขนาดใหญ่มาตั้งแต่สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18)
บริเวณบ้านสนามบิน เดิมเรียกว่า ทุ่งกาโล เป็นป่าละเมาะ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2472 ชาวบ้านได้ถางป่าและขุดหลุมพบพระพุทธรูป ต่อมาในปี พ.ศ.2500 ทางราชการได้ขุดไถทุ่งกาโล เพื่อปรับพื้นที่สร้างสนามบิน มีผู้พบพระอวโลกิเตศวรสี่กรเนื้อสำริด และพบพระพุทธรูปอีกหลายองค์ รวมทั้งซากอิฐกำแพงเมือง
บริเวณเขาในเขตตำบลหน้าถ้ำ มีภูเขาวัดถ้ำและภูเขากำปั่น เป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำใหญ่น้อยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภูเขาวัดถ้ำมีถ้ำสำคัญคือ ถ้ำแจ้ง หรือถ้ำพระนอน มีโบราณวัตถุอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระพุทธไสยาสน์ และถ้ำศิลป ซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังสมัยศรีวิชัย
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของเมืองยะลา แต่เดิมเป็นท้องที่บริเวณหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ในสมัยพระบรมราชาธิราช (พ.ศ.1913-1931 พระองค์ได้ธิดาของมุขมนตรีแห่งปัตตานีคนหนึ่งเป็นสนม ในฐานะที่เป็นเมืองประเทศราช ปัตตานีมีหน้าที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายทุกกสามปี ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ.2199 - 2231) ลาลูแบร์ อัครราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งมาที่กรุงศรีอยุธยา ยืนยันว่าปัตตานีต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง อย่างละต้นเข้ามาถวายพระมหากษัตริย์ไทยทุกสามปี
|| อ่านต่อ >>>
จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี