ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดยะลา
งานมหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซี่ยน
เทศบาลเมืองยะลาร่วมกับชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา
จัดให้มีการแข่งขันนกเขาชวาเสียงชิงแชมป์อาเซี่ยนเป็นงานประจำปีของจังหวัด ณ
สวนขวัญเมือง วันอาทิตย์แรกของ เดือนมีนาคม
ในงานจะมีขบวนแห่โดยกลุ่มผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงของ ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์
อินโดนีเซีย บรูไน และชมรมผู้เลี้ยงนกเขาชวา เสียงของทุกจังหวัดในประเทศไทย
งานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง
บริเวณเทศบาลเมืองยะลา จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ในงานมีขบวนแห่ศาล
เจ้าพ่อหลักเมืองจำลอง การออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของส่วนราชการ
นิทรรศการและมหรสพการแสดงพื้นบ้าน
เทศกาลฟื้นฟูประเพณีของดีเมืองยะลา
บริเวณเทศบาลเมืองยะลา ในเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนสิงหาคม
จะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประกวดรำซีละ
ประกวดสตรีแต่งกาย ชุดบานง ประกวดศรีบุหงาศิริ ประกวดรำรองเง็ง
ประกวดขับร้องเพลงอันนาซีตภาษามลายู และภาษาไทย มีนิทรรศการของดีเมืองยะลา
ปัญจะสีลัต
ศิลปการแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองของจังหวัดยะลา
มีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบกับภาคอื่น ๆ
เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดยะลา
ซีละ
เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชาวไทยมุสลิม คล้ายมวยไทยแสดงกันเป็นคู่ ๆ
ผู้แสดงเป็น ชายล้วนแต่งกายด้วยเสื้อคอกลมแขนสั้น นุ่งกางเกงขายาว
นุ่งผ้าซอแกะสั้นเหนือเข่าทับข้างนอก โพกศีรษะ การแสดงเริ่มด้วยการประโคมดนตรี
จากนั้นผู้แสดงไหว้ครูพร้อมกัน เสร็จจากการต่อสู้จะร่ายรำตามแบบซีละ
เพื่ออวดฝีมือและหาจังหวะเข้าทำร้ายคู่ต่อสู้
สู้กันจนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดพิชิตคู่ต่อสู้ได้เป็นอันจบการแสดง
เมื่อจบการแสดงแล้วคู่ต่อสู้จะซลามัดซึ่งกันและกัน
การแสดงซีละอาจจะต่อสู้กันด้วยมือเปล่า หรือต่อสู้กันด้วยกริชที่เรียกว่า
ซีละบูวอฮ์
การเต้นร็องเง็ง
การแสดงพื้นบ้านพื้นเมืองที่นิยมเล่นกันมาในท้องถิ่นภาคใต้
เป็นศิลปะการแสดงหมู่ประกอบด้วยผู้เต้นชายหญิงเป็นคู่กัน
ความงามประการหนึ่งของการเต้นร็องเง็งคือ ความพร้อมเพรียงในการเต้น
และการก้าวหน้าถอยหลังของท่าเต้น การแต่งกายในการแสดงร็องเง็ง
นิยมใช้ผ้ายกสอดดิ้นเงินดิ้นทองแพรวพราว ตัดเป็นเสื้อ กางเกง แลหมวกของฝ่ายชาย
และตัดเป็นเสื้อผ้านุ่งของฝ่ายหญิง เหมือนกันเป็นคณะหรือคู่ละ
สีตามความเห็นงานของผู้จัดแสดง สวมรองเท้าตามสมัยนิยมทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงร็องเง็ง คือไวโอลิน รำมะนา และฆ้อง
จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี