ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดตรัง
ตราสัญญาลักษณ์ ประจำจังหวัด
รูปสะพานกระโจมไฟ รูปต้นไม้ และรูปภูเขา รูปสะพานกระโจมไฟ หมายถึง
จังหวัดตรังเป็นเมืองท่า ทำการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมาแต่โบราณ ลูกคลื่น
คือความหมายของคำว่า ตรัง ในภาษาของชาวมัชฌิชประเทศ
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
คำขวัญ : เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ศรีตรัง
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ศรีตรัง
ลักษณะนิสัยใจคอ ผู้คน : ยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารีย์มีน้ำใจ เป็นมิตร และรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์วิถีชีวิต : แบบพอเพียง พึ่งพาอาศัยกัน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน
คติพจน์ : "สามัคคีคือพลัง"
เพลงมาร์ชตรัง
(สร้อย)
เมืองตรังเมืองทองของไทย ถิ่นใต้เคยได้ชื่อมา
อุดมสมบูรณ์นานา สมเป็นเมืองท่าเมืองทองของไทย
ผู้คนหญิงชายชาวเมือง รุ่งเรืองงามศิวิไล
สมเป็นเมืองท่าเมืองทองของไทย เพลินใจเพลินตาน่าชมเมืองตรัง
ชาวตรังใจกว้างสร้างแต่ความดี ทุกคนล้วนมีสามัคคีทั่วหน้า
ศรีตรังเด่นงามตา เป็นศรีสง่าแก่เมืองตรัง (สร้อย)
ชาวตรังตั้งหน้าพัฒนาบ้านเมือง หวังให้รุ่งเรืองสมเป็นเมืองก้าวหน้า
ตัวอย่างมีพระยารัษฎา เจ้าแห่งการพัฒนาสร้างเมืองตรัง
(สร้อย)
ชาวตรังตั้งจิตพิชิตศัตรูพาล แม้นใครรุกรานจะประหารให้สิ้น
เลือดชะโลมทาแผ่นดิน ปราบเสี้ยนหนามให้สิ้นแผ่นดินตรัง
(สร้อย)
ตรังเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจากตรังไม่ได้เป็นเมืองรบทัพจับศึก จึงไม่ค่อยมีชื่อในประวัติศาสตร์เท่าใดนัก ทั้งที่จริงตรังเป็นชุมชนมานานแล้ว มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
เมืองตรังเป็นที่ตั้งของเมืองศูนย์กลางการค้าฝั่งทะเลตะวันตก
ชื่อเมือง ตะโกลา แต่อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ตะโกลาอยู่บริเวณเมืองตะกั่วป่า
ในจังหวัดพังงา
จังหวัดตรัง
อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ 828 กิโลเมตร
เป็นเมืองท่าทางฝั่งตะวันตกของประเทศไทยด้านมหาสมุทรอินเดียมาแต่โบราณ มีเนื้อที่
4917 ตารางกิโลเมตร
- ทิศเหนือ จดนครศรีธรรมราช
- ทิศใต้ จดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
- ทิศตะวันออก จดพัทลุง
- ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรอินเดีย และจังหวัดกระบี่
จังหวัด » กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี