ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป »
จังหวัดหนองคาย
ข้อมูล » ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม-ที่พัก
ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี จังหวัดหนองคาย
วันสงกรานต์
เป็นงานประจำปี จัดขึ้นที่วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวงชั้น 3)
มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระใสแห่รอบเมือง
เพื่อประชาชนได้สรงน้ำมีการทำบุญตักบาตรวันสงกรานต์
เฉลิมฉลองหลวงพ่อพระใสที่วัดโพธิ์ชัยมีงานรื่นเริงการละเล่นพื้นเมือง
การกีฬาท้องถิ่น และมหรสพครบครัน 5 วัน 5 คืน เริ่มจัดขึ้นในวันที่ 13
เมษายนของทุกปี
งานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ
ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง
เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทอง ฝีมือของช่างฝ่ายเหนือและช่างล้านช้าง
เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงาม นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย
เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก
สร้างเมื่อพุทธศักราช 2105 ผู้สร้างคือ พระไชยเชษฐา กษัตริย์นครเวียง
หล่อโดยใช้ทองคำ ทองเหลือง และเงินผสมกัน รวมน้ำหนักได้ 1 ตื้อ (ตื้อ เป็น
มาตราโบราณของอีสาน) ใช้เวลาในการสร้าง 7 ปี 7 เดือน
ทางจังหวัดได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 4
งานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
จัดประมาณเดือนมีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์ปราบฮ่อ
ภายในงานจะมีการแสดง และการละเล่น มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก
งานบุญบั้งไฟ
เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้ปฏิบัติกันมานาน
เกี่ยวกับการบูชาเทวดาขอฟ้าขอฝน ตามความเชื่อและโบราณกาล เป็นงานใหญ่โตมาก
มีการจัดประกวดบั้งไฟประเภทตกแต่งสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ ประกวดขบวนแห่
และการจุดขึ้นสูงสุด จัดทำในวันเพ็ญเดือน 7 ของทุกปี
จังหวัดหนองคายได้จัดเป็นการแสดงแสงสีเสียงตำนานบั้งไฟพญานาค
เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) แล้วมี
เรื่องราวไม่ถูกใจกับพญาแถน (พระอินทร์) จึงสาบให้แผ่นดินแห้งแล้งจนพญาคันคาก
แนะนำให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟถวายจนฝนตกลงมาในที่สุด
งานแห่เทียนเข้าพรรษา
เป็นงานประเพณีท้องถิ่นที่จัดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษา
ประชาชนตามคุ้มต่าง ๆ ได้จัดทำต้นเทียนขี้ผึ้งล้วน ทำลวดลายสวยงามประดับดอกไม้
มีการประกวดลวดลายสวยงามของต้นเทียนขบวนแห่มีรางวัล จัดให้มีในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน
8 ของทุกปี
งานแข่งเรือ
เป็นงานประเพณีของท้องถิ่นที่จัดขึ้นก่อนวันออกพรรษา
จัดให้มีการแข่งเรือยาวในลำน้ำโขง โดยประชาชนในคุ้มต่าง ๆ ได้จัดเรือแข่งจากอำเภอ
และบางปีก็มีเรือจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มาร่วมการแข่งขันด้วย
เป็นการแสดงถึงความสามัคคีไมตรีที่มีต่อกันมานานโดย จัดให้มีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ
เดือน 11 ของทุกปี
งานแห่ปราสาทผึ้ง
เป็นประเพณีขององถิ่นเก่าแก่
ซึ่งทางจังหวัดได้จัดให้มีขึ้นควบคู่กันกับงานแข่งเรือ
มีการจัดทำปราสาทผึ้งประกวด และนำลงเรือยนต์ล่องไปตามลำน้ำโขง
กลางคืนมีการไหลเรือไฟ ประดับดวงไฟมากมาย
และดูทิวทัศน์แสงไฟกระทบพื้นน้ำยามกลางคืนสวยงามมาก
เพื่อนมัสการพระธาตุกลางแม่น้ำโขง
(วัดและองค์มหาเจดีย์ได้พังลงน้ำโขงไปนานแล้ว)
อยู่หน้าวัดสิริมหากัจจาย อำเภอเมืองหนองคาย จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 11
จัดพร้อมกันกับงานแข่งเรือประจำปี
งานวันออกพรรษา
จัดเป็นงานต่อจากวันแห่ปราสาทผึ้ง และแข่งเรือ
เป็นวันทำบุญประจำของท้องถิ่น มีการตักบาตรเทโวภายในเขตอำเภอเมือง
ประชาชนท้องถิ่นถือเป็นวันสำคัญยิ่ง ไม่ว่าจะไปประกอบ
อาชีพอยู่ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ
เมื่อถึงกำหนดวันทำบุญออกพรรษาแล้ว
คนส่วนมากจะเดินทางกลับบ้านเพื่อทำบุญอุทิศกุศล
แก่บรรพบุรุษตามประเพณีนิยมที่ได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาแต่โบราณกาล
บั้งไฟพญานาค
แม้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติตามลำน้ำโขงมานานหลายปีแล้ว
ตามคำร่ำลือของชาว บ้าน
แต่บั้งไฟพญานาคเพิ่งจะได้รับส่งเสริมเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว
ของจังหวัดหนองคายไม่กี่ปีมานี้เอง
บั้งไฟพญานาคเป็นลูกไฟที่พุ่งขึ้นมาจากใต้แม่น้ำโขง
พุ่งลอยขึ้นสู่อากาศ ประมาณ 20 - 30 เมตร แล้วก็หายไป
ลูกไฟไม่จำกัดบริเวณที่เกิดและเกิดไม่ค่อยซ้ำที่บริเวณนั้น
ขนาดของลูกไฟก็มีหลายขนาด ขนาดโตเท่าผลส้ม ขนาดกลางเท่าไข่ไก่
ขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ เวลาที่เกิดขึ้นไม่แน่นอน แต่ต้องมืดค่ำแล้ว
บางทีเกิดตั้งแต่หัวค่ำ ประมาณ 6 โมงเย็น บางปีเริ่มเกิด 2 - 3 ทุ่ม
และจะเกิดไปอีกประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง จึงจะค่อย ๆ หมดลง
จำนวนลูกไฟที่เกิดขึ้นบริเวณหนึ่ง ๆ มีจำนวนไม่แน่นอน
สถานที่เกิดนั้นจะอยู่ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย
กิ่งอำเภอรัตนวาปีและอำเภอปากคาดบางส่วน
บั้งไฟพญานาคจะเกิดขึ้นในคืนวันเพ็ญ เดือน 11 หรือแรม 1 ค่ำ เดือน 11
ของทุกปี และในปี 2547 จังหวัดหนองคายได้จัดงานลอยเรือไฟบูชาพญานาค ณ
บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ใกล้วัดธาตุ อ. เมือง จ.หนองคาย
โดยจะจัดเป็นประเพณีทุกๆ ปี
ฮีตสิบสอง
ประชาชนชาวจังหวัดหนองคาย ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี
เหมือนคนไทยทั่วไปในภาคอีสาน คือ ยึดถือฮีดสิบสอง
เป็นแนวทางการดำรงชีวิตซึ่งทำให้แดนอีสานอยู่กันด้วยความผาสุข
ร่มเย็นตลอดมา โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปีฮีดสิบสอง ดังนี้
- เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม
- เดือนยี่บุญคูณลาน
- เดือนสาม บุญข้าวจี่
- เดือนสี่บุญพระเวส
- เดือนห้าบุญสรงน้ำ หรือบุญตรุษสงกรานต์
- เดือนหกบุญบั้งไฟ
- เดือนเจ็ดบุญชำฮะ
- เดือนแปดบุญเข้าพรรษา
- เดือนเก้าบุญข้าวประดับดิน
- เดือนสิบบุญข้าวสาก
- เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษา
- เดือนสิบสองบุญกฐิน
จังหวัด » กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ บึงกาฬ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี