ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

การเดินทางของพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
พุทธศาสนาสมัยลพบุรี
พุทธศาสนาสมัยลานนา
พุทธศาสนาลังกาวงศ์สู่ลานนา
พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทกับพุทธศาสนา
พุทธศาสนาสมัยอยุธยา
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
พุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

พุทธศาสนาสมัยอยุธยา

ยุคที่ 1 กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมา 417 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1893–2310 ต่อมาย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ ทรงนับถือพุทธศาสนาทั้งหมด ทรงอุปถัมภ์บำรุงวัดวาอารามอย่างจริงจัง วัดและพระสงฆ์เป็นที่รวมใจของชาวอยุธยา วัดเป็นสโมสร โรงพยาบาล เป็นศาล เป็นที่ผักผ่อนหย่อนใจ เป็นโรงเรียน ที่ศึกษาศิลปศาสตร์สาขาต่างๆ เป็นแหล่งวัฒนธรรมต่างๆ มากมาย

สมัยพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระนครศรีอยุธยา อีก 3 ปีต่อมาทรงสร้างวัดคือวัดพุทไธสวรรย์ ที่ตำบลเวียงเหล็ก เป็นอารามแห่งแรกของอยุธยา สร้างพุทธเจดีย์ที่สำคัญของวัดคือ พระปรางค์ใหญ่พระวิหาร พระพุทธรูปตามระเบียงคดซึ่งทำด้วยศิลา และกุฏิพระพุทธโฆสาจารย์ ซึ่งเป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ มีตำแหน่งสังฆราชฝ่ายซ้าย

วัดพุทไธสวรรย์ เป็นวัดที่ประสิทธิประสาทวิชาการพิชัยสงครามตลอดสมัยอยุธยา ต่อมา พ.ศ. 1900 ทรงสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง เรียกว่า “วัดพญาไท” คือวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน สร้างถวายคณะสงฆ์ที่ไปเรียนมาจากลังกาในสำนักของพระวันรัตน์ คณะสงฆ์นี้ได้นามว่า คณะป่าแก้ว และวัดที่อยู่ก็เรียกว่า วัดป่าแก้ว พอใจในการปฏิบัติวิปัสสนาธุระ สมเด็จพระวันรัตน์ มีตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายขวา ในสมัยนั้นเรียกพระสงฆ์ว่าเจ้าไท วัดนี้จึงเรียกว่า “วัดพญาไท” ซึ่งหมายถึงพระสังฆราชนั่นเอง

ต่อมาสมัยขุนหลวงพระงั่ว(สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ทรงสร้างวัดมหาธาตุเป็นวัดประจำพระนคร สมัยนั้นมีธรรมเนียมที่ว่าเมืองราชธานีต้องมีวัดสำคัญประจำพระนคร 3 วัด คือวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐาน ส่วนวัดมหาธาตุนั้นต้องมีพระบรมธาตุเป็นหลักสำคัญของวัด และในสมัยอยุธยานั้นวัดมหาธาตุเป็นวัดสำคัญ คือเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชมาทุกสมัย

พระราเมศวรเสด็จจากลพบุรี ปลงพระชนม์เจ้าทองลั่น หรือทองจันทร์ ราชโอรสของพระบรมราชาธิราชที่ 1 แล้วขึ้นครองราชเมื่อ พ.ศ. 1931 ครองอยู่ 7 ปี ก็สิ้นพระชนม์ ทรงสร้างวัดพระราม วัดภูเขาทอง ซึ่งเป็นวัดใหญ่ทั้ง 2 วัด วัดพระรามนั้นทรงสร้างถวายพระเพลิงพระชนก คือพระรามาธิบดีที่ 1 ตั้งอยู่ที่ริมบึงชีขัน ส่วนวัดภูเขาทองสร้างนอกพระนคร และกษัตริย์ที่สร้างวักราชบูรณะคือ เจ้าสามพระยา(พระบรมราชาธิราชที่ 2 ) ประมาณ พ.ศ. 1967–1991 วัดราชบูรณะนั้นทรงสร้างถวายพระเพลิงพระเชษฐาทั้ง 2 พระองค์ คือเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา

ยุคที่ 2 เป็นสมัยพระโอรสของพระบรมไตรโลกนาถ (พระรามาเมศวร) คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ขึ้นครองราชระหว่าง พ.ศ. 1991–2031 เป็นเวลา 40 ปี นับว่ายาวนานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยา ยุคนี้นิยมสร้างสถูปแบบลอมฟางหรือแบบลังกา พระพุทธรูปซึ่งเคยเป็นอิทธิพลของขอมลพบุรี มาถึงยุคนี้อิทธิพลของสุโขทัยเข้ามาแทนที่ ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ 1ทรงมีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงสุโขทัย 2ทรงคุ้นเคยกับศิลปแบบสุโขทัยมาก ในยุคนี้พุทธศาสนาเจริญถึงขีดสุด คือทรงสร้างวัดพระศรีสรรเพชรญ์ มีฐานะเป็นพุทธวาสไม่มีพระสงฆ์อยู่ ทรงนิพนธ์มหาชาติคำหลวงไว้ให้พระสงฆ์เทศในงานต่างๆ ซึ่งประเพณีการเทศน์มหาชาตินั้นมีมาแต่สุโขทัยแล้ว แต่ยังไม่มีคำเทศฉบับหลวง พึงมีครั้งแรกสมัยพระบรมไตรโลกนาถนี้ พระองค์มีความเลื่อมใสพระสำนักพระวันรัตน์ วัดป่าแก้ว จึงเสด็จออกผนวชเอาอย่างกษัตริย์สุโขทัย พร้อมกับข้าราชบริพารทั้งหมด 2388 รูป เป็นการบวชที่มโหฬารมาก ทรงผนวชอยู่ 8 เดือน 15 วันจึงลาผนวชเพื่อครองราชต่อไป ทรงได้ช้างเผือกมานับเป็นช้างเผือกเชือกแรกของพระเจ้าแผ่นดินสมัยอยุธยา พระรามาธิบดีที่ 2 ทรงประสูติที่พิษณุโลก และเสด็จมาครองราชที่อยุธยา ทรงสร้างพุทธเจดีย์ตามอย่างสมัยสุโขทัย สร้างพระพุทธรูปยืนต่างๆ ด้วยโลหะ หนักกว่า 5 หมื่นกว่าชั่ง หล่อแล้วแผ่ทองคำหนัก 200กว่าชั่ง สูง 8 วา พระอุระกว้าง 11 ศอก พระพักตร์ยาว 4 ศอก ใช้เวลาหล่อและแต่งถึง 3 ปี ทรงถวายพระนามว่า “พระศรีสรรเพชรญ์” เป็นพระทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเมื่อกรุงแตกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 พม่าเอาไฟสุมลอกทองไปหมด หลังจากสมัยของพระองค์แล้ว พุทธศาสนาอยู่ในฐานะทรงตัว ไม่เจริญขึ้น ด้วยเพราะการสงครามและเรื่องเศรษฐกิจเป็นสาเหตุสำคัญ

สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ พ.ศ. 2091 ถึงแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงทำแต่สงคราม ซึ่งเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2133–2148 ทรงรบกับพม่าบ้าง เขมรบ้างถึง 17 ครั้งทรงกอบกู้บ้านเมือง ได้สร้างเจดีย์ใหญ่เป็นที่ระลึกในชัยชนะครั้งนั้นที่วัดเจ้าพญาไท สร้างแบบลังกาสูงเส้นเศษ

สมัยพระเอกาทศรถ เสวยราชสมบัติ ได้ทรงสร้างวัดวรเชษฐารามขึ้น เพื่ออนัสรณ์ถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นอกจามนี้ยังได้สร้างพระพุทธรูปสนองพระองค์พระนเรศวร เพราะในเวลานั้นยังไม่นิยมการปั้นหรือการหล่อพระบรมรูปไว้สักการะบูชา จึงต้องสร้างพระพุทธรูปแทนพระองค์ไว้ให้คนสักการะบูชา

สมัยพระเจ้าทรงธรรม พ.ศ. 2163–2171 พระองค์เป็นผู้รู้พระไตรปิฎก ทรงสนใจในการพระศาสนา และการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างยิ่ง เสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง 3 หลัง บอกบาลีแก่พระภิกษุสามเณรทุกวัน มีพระภิกษุสมาเณรจามวัดต่างๆ ผลัดกันมาเรียน ในรัชกาลนี้ มีพระสงฆ์พวกหนึ่งมาจากลังกา ทูลว่าไทยมีรอยพระพุทธบาทแน่นอนอยู่ที่สุวรรณบรรพต พระองค์ทรงให้สืบค้นหาที่ จังหวัดสระบุรี จึงพบตรัสสั่งให้ช่างสถาปนาเป็นมณฑปสวมพระพุทธบาท และสร้างพระอุโบสถพระวิหาร กุฏิต้องใช้เวลาหลายปี จึงตรัสให้สร้างตำหนักตะวันออก ชื่อตำหนักท่าเจ้าสนุก ที่พระพุทธบาทนั้นทรงพระราชทานชายฉกรรจ์ให้เป็นข้าพระ จึงเกิดประเพณีเทศกาลไหว้พระพุทธบาทขึ้นในกลางเดือน 3 และเดือน 4 ทุกปี เรื่องรอยพระพุทธบาทนี้ เป็นของเกิดในอินเดียก่อน เริ่มสร้างกันตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชมีสมัยที่เก่ากว่าพระพุทธรูป พระพุทธบาทที่สร้างกันนั้นมีหลายแบบในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเรื่อยมา และเป็นเครื่องหมายบอกว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับตลอดมา ในประเทศไทยรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดนั้นเป็นสมัยทวาราวดี พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงที่ราบสูงนครราชสีมา ทำติดต่อกันเรื่อยมา สมัยสุโขทัยได้ไปพิมพ์รอยพระพุทธบาทมาจากลังกาแล้วสร้างไว้ในที่ต่างๆ ตามที่เห็นสมควร

สมัยพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199–2231 ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททอง มีความเลื่อมใสพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงถูกเชื้อเชิญจากราชทูตฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่นับถือคริสต์ให้เปลี่ยนศาสนา ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่ก็หาทรงหวั่นไหวไม่ ทรงตอบปฏิเสธแบบละมุ่นละม่อม และขณะนั้นพระองค์กำลังโปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองคำสูง 4 ศอกเศษอยู่องค์หนึ่ง สูง 1 ศอกบ้าง สูง 2 ศอกบ้าง ถวายพระนามว่า “พระบรมไตรโลกนาถ” และพระบรมไตรภพนาถ พระองค์ ทรงได้ประกาศออกเป็นราชกฤษฎีกา ว่า “บุคคลใดจะนับถือศาสนาใดก็ได้ โดยไม่ทรงบังคับในการที่ประชาชนของพระองค์จะนับถือในเรื่องของศาสนา ในสมัยนั้นพระองค์ยังทรงสร้างวัดแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ได้แก่

1.วัดเซนต์เปาโร (อยู่ จ. ลพบุรี)
2. วัดเซนต์โยเซฟ (อยู่ จ.อยุธยา)

พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงสนพระทัยศึกษาคัมภีร์ไบเบิล ของศาสนาคริสต์ และ คัมภีร์อัลกูรอ่าน ของศาสนาอิสลาม และมีความรู้เป็นอย่างดี ในขณะนั้นศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคธอลิก ซึ่งตั้งอยู่ที่ นครวาติ กัน ประเทศอิตาลี ได้วางรากฐานอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการเผยศาสนาคริสต์ โดยเน้นที่ ไทย-ลาว –กัมพูชา ญวน-มาลายู ฯลฯ การกระทำของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชครังนั้น ก็ด้วยเหตุที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเป็นพระสหายต่างชาติที่สนิทของสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้ทรงสนับสนุนศาสนาคริสต์ในไทย โดยในขณะนั้น มีบุคคลสำคัญที่เป็นหลักในการตั้งคริสต์จักรในไทย คือ “นายเยรากี” ขณะนั้นเป็นชนชาวกรีก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “นายฟอนคอล” ครั้งสุดท้ายเข้ารับราชการรับใช้สมเด็จพระนารายณ์ พระองค์จึงให้บรรดาศักดิ์เป็นที่ “พระยาวิชาเยนทร์” และต่อมาพระยาวิชาเยนทร์ได้เข้ากับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมีแผนจะยึดประเทศไทย 4 แผน คือ

1. ต้องการทำลายอิทธิพลของพุทธศาสนาลงให้ได้ เพราะเมื่อพุทธศาสนาเสื่อมลง คริตส์จึงสามารถมีบทบาทขึ้นมาได้อ่างเต็มที่ได้นั่นเอง
2. กษัตริย์ไททุกพระองค์ทรงนับถือพุทธศาสนา โดยวิธีการเกลี้ยกล่อมพระนารายณ์และข้าราชการชั้นสูงซึ่งเป็นชั้นระดับผู้นำของไทยให้เข้ารีต ก็จะเป็นการทำลายพุทธศาสนาโดยง่าย (โดยข้อ 2 นี้มีบทบาทสำคัญต่อพุทธศาสนามากที่สุด พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่งทูตนำพระราชสาสน์ของพระองค์เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์)
3. ส่งทหารเข้ายึดประเทศไทยเลย

 

ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ทรงตอบคำถามพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ดังนี้

1. จะให้พระองค์เปลี่ยนพุทธศาสนาที่นับถือมาถึง 2229 ปีไม่ใช่ง่ายเลย ตอบว่า โปรดให้พระราชบุตรของเราเข้ารีตให้หมดก่อน แล้วเราจะเข้าเป็นคนสุดท้าย
2. พระเจ้าเป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจ ทำไมไม่บันดาล ให้ศาสนาในโลกมีศาสนาเดียว ถ้าพระเจ้าเป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจจริง ๆ ทำไมไม่ดลใจให้เราเลื่อมใส
3. ขอฝากชะตากรุงศรีอยุธยา อยู่ในความเมตตาของพระเจ้าด้วย และขอพระเจ้าหลุยส์ผู้เป็นสุดที่รัก อย่าได้เสียพระทัยไปเลย

ต่อมาพุทธศาสนากับคริสต์ได้แตกกัน พระปิยะพระราชโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ต้องการขึ้นครองราชย์ ส่วนหลวงสรศักดิ์ได้พระเทพราชาเป็นพวกและหวังจะให้พระเทพราชาขึ้นครองราชย์ พระนารายณ์ทรงทราบความจริงว่า หลวงสรศักดิ์นั้นยังมีความต้องการจะเปลี่ยนพุทธศาสนามาเป็นศาสนาคริตส์ พระองค์จึงทรงสร้างวังชื่อว่า “วังพระนารายณ์” ที่ลพบุรี โดยประกาศเป็นเขตวิสุงคามสีมา คือเป็นวัด ทำให้หลวงสรศักดิ์ไม่กล้าเข้ายึด ซึ่งเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์ ภายหลังปัญหาต่าง ๆ คลี่คลาย พระเทพราชาได้เป็นกษัตริย์ต่อมา และพระเจ้าเสือเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2

สมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์ พ.ศ. 2275–2310 ครองราชสมบัติเป็นเวลา 26 ปี ( เป็นโอรสของพระเจ้าเสือ) พระองค์มีอายุยืน 70 ปี สมัยนี้มีการบูรณะอารามใหญ่น้อยทั้งในพระนครและหัวเมืองต่างๆ เช่น

1. วัดพระศรีสรรเพชญ์
2. วัดพระราม
3. เจดีย์ภูเขาทอง ( เริ่มสร้างแต่สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ-มาเสร็จสมบูรณ์ในราชวงศ์พลูหลวงในรัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ )

ทางหัวเมือง คือ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพระราชนิยมเรื่องการบรรพชาอุปสมบท ราษฎรหรือข้าราชการ ถ้ายังไม่ผ่านการบรรพชาอุปสมบทมาก่อน ก็จะไม่ทรงชุบเลี้ยงหรือเลื่อนยศให้ กวีในทางศาสนาคือ

1. พระมหานาค วัดท่าทราย ได้แต่งเรื่องปุณโณวาทคำฉันท์
2. เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์หรือกรมขุนเสนาพิทักษ์ เป็นพระโอรสของพระเจ้าบรมโกษฐ์ ทรงนิพนธ์ พระมาลัยคำหลวงนันโทปนันทสูตร เป็นต้น

พระราชกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ คือการทรงอุปถัมภ์ให้มีการตั้งสมณวงศ์ในลังกา ที่เรียกว่า สยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์มาจนกระทั่งทุกวันนี้ สาเหตุเนื่องจากประเทศลังกาเกิดสงคราม ถูกกดขี่จากโปตุเกส ห้ามนับถือพุทธศาสนา จึงทำให้สมณวงศ์ในลังกาสูญสิ้นไป หรือแต่ สามเณรสรณังกร ซึ่งตอนนั้นมีอายุมาก ได้พยายามฟื้นฟูสมณวงศ์ ช่วงนั้นเป็นสมัยของพระเจ้ากิติสิริราชสิงหะ กษัตริย์ลังกา และทราบจากพ่อค้าทีไปติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาว่า มีภิกษุสงฆ์มาก พุทธศาสนามีความเจริญมาก ราชทูตของลังกาได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยาปีเศษ ตื่นเต้นกับวัดวาอาราม โบสถ์เจดีย์วิหารว่า มองไปทางไหนก็เห็นแต่ทองทั้งนั้น

ครั้งแรก ไทยได้ส่งคณะ พระอุบาลีเถระและอริยมุนี 2 รูป ซึ่งเป็นหัวหน้าไปลังกา เดินทางอยู่ 1 เดือน 21 วันจึงถึงลังกา ได้จำพรรษาที่วัดบุปผาราม ณ ประเทศลังกา และทำการอุปสมบทสามเณรสรณังกรเป็นภิกษุรูปแรก ซึ่งมีอายุถึง 54 ปีแล้ว เป็นปลายสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ใช้เวลา 4 ปี สามารถบวชได้ 6,000 รูป พระอุบาลีเถระได้มรณภาพที่ลังกาในอีก 2-3 ปีต่อมา

พระเจ้ากิตติสิริราชสิงหะ พระองค์ทรงมอบเครื่องบรรณาการแก่พระเจ้าบรมโกษฐ์ คือ

1. พระไตรปิฎก
2. พระพุทธรูปทองคำ

ครั้งที่ 2 ไทยได้ส่ง พระภิกษุ คือ พระวิสุทธาจารย์ พระวรญาณมุนี และพระจำนวน 20 รูป เณร 20 รูป รวมเป็น 42 รูปไปลังกา ในครั้งนี้ไทยได้อัญเชิญพระทันตธาตุ จากลังกามาด้วย ( พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า)

สรุป พระพุทธศาสนากับกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ต้น เฉพาะกษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ดังนี้

1. พุทธศาสนาเป็นแบบลังกาวงศ์ กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ
2. ศิลป์และวรรณคดี เช่น ศิลป์ลพบุรี นิยมสร้างเป็นทรงพระปรางค์ข้าวโพด และยังมีศิลป์แบบขอม ศิลป์แบบลพบุรีส่วนด้านวรรณคดี ได้แก่ มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีที่สำคัญ (ต่อมามีชื่อเสียงสมัยพระบรมไตรโลกนารถ รัชกาลที่ 1 )

3. การปกครองคณะสงฆ์ แบ่งเป็น 2 คณะ (โดยเอาแบบมาจากกรุงสุโขทัย) คือ

- คามวาสี
- อรัญญวาสี

4. การศึกษา มีการศึกษาพระไตรปิฎก แบ่งเป็น คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ และการศึกษาส่วนใหญ่ก็ทำกันในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งจอมทอง มณเฑียรธรรม เป็นต้น.

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย