ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

การเดินทางของพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
พุทธศาสนาสมัยลพบุรี
พุทธศาสนาสมัยลานนา
พุทธศาสนาลังกาวงศ์สู่ลานนา
พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทกับพุทธศาสนา
พุทธศาสนาสมัยอยุธยา
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
พุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม

1. ด้านการศึกษา ไทยได้รับพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาและฎีกาครบบริบูรณ์จากลังกา การออกเสียงภาษามคธของพระสงฆ์ไทยก็ถูกต้องชัดเจนตามแบบลังกา ส่วนคัมภีร์เหล่านั้นแต่เดิมตกหล่นสูญหายไปมาก แม้จะมีอยู่แล้วครั้งชนชาติมอญสมัยทวาราวดี แต่ภายหลังมาครบในสมัยสุโขทัยเมื่อได้รับจากลังกา ซึ่งเป็นภาษาบาลีอักษรสิงหล แล้วมาถ่ายทอดเป็นอักษรขอมที่ไม่ใช่อักษรไทยก็เพราะเหตุ 2 ประการ คือพระไตรปิฎกฉบับเดิมเป็นอักษรขอมสมัยลพบุรี และอักษรไทยสมัยนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะถ่ายทอดภาษาบาลีได้ คณะสงฆ์จึงเรียนพระพุทธพจน์ในอักษรขอมมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์

 

2. การปกครอง อิทธิพลลังกาวงศ์ทำให้มีสมณศักดิ์ขึ้น ซึ่งไม่เคยมีในอินเดีย แต่มามีในลังกา ทำให้ไทยรับอิทธิพลลังกามาด้วย ในชั้นเดิมมี 2 ตำแหน่ง คือสวามี และมหาสวามี ส่วนชื่อสมณศักดิ์ แตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติของพระเถระ ไทยได้ปรับปรุงสมณศักดิ์เสียใหม่เป็นครั้งแรก มี 5 ตำแหน่ง คือ 1. ครูบา 2. เถระ 3. มหาเถระ 4. สังฆราช 5. สงฆ์ปรินายกสิทธิ์

3. อิทธิพลของพุทธศาสนา สมัยนั้นทำให้คนชั้นสูงและราษฎรสามัญสนใจในการรักษาศีล ขยันขันแข็งในการทำมาหากิน โอบอ้อมอารี มีภราดรภาพต่อกัน ในสุโขทัยไม่มีทาสเลย ระบบทาสพึงมีในสมัยอยุธยา

4. ด้านศิลปะ ไทยได้พระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา ซึ่งเป็นแม่แบบของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีความสวยงามมากและได้รับการยกย่องด้านความสวยงามมาจนถึงปัจจุบัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย