ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

การเดินทางของพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
พุทธศาสนาสมัยลพบุรี
พุทธศาสนาสมัยลานนา
พุทธศาสนาลังกาวงศ์สู่ลานนา
พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทกับพุทธศาสนา
พุทธศาสนาสมัยอยุธยา
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
พุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ

คนอินเดียส่วนมากมาตั้งหลักแหล่งในบริเวณสุวรรณภูมิ มาจากตอนใต้และมีครอบครัวกันใหม่อีกครั้งในแผ่นดินผืนใหม่นี้ และเชื่อกันว่าในบริเวณตอนใต้ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา (พวกละว้า-มอญ เป็นชนพื้นเมืองดั่งเดิม) ได้มาตั้งอยู่ก่อนแล้ว และนับถือนิกายเถรวาท ส่วนใหญ่มาทางทะเล ในสมัยพระเจ้าอโศกครองราชย์ได้ 8 ปีแล้วได้ยาตราทัพลงไปปราบแคว้นกาลิงคะนั้น และทีรอดตายถูกจับเป็นเชลย 150,000 คน ส่วนใหญ่ลงเรือหนีมายังสุวรรณภูมิและเลยไปเกาะชวาก็มี เส้นทางสำคัญมี 3 สายคือ

1. ทางบก ผ่านมาทางเบงกอล (บังคลาเทศ) อัสสัม ข้ามเทือกเขาปาดไก่ เข้าสู่ตอนเหนือพม่ามาประเทศไทย
2. ทางเรือ ข้ามอ่าวเบงคอลมาขึ้นที่อ่าวเมาะตะมะ หรือมาขึ้นที่ท่ามะริด ทวาย ตะนาวศรี แล้วเดินบกสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างบริเวณ นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง ราชบุรี
3. ทางเรือ ข้ามมหาสมุทรอินเดียเข้าช่องแคบมะละกา ขึ้นบกที่แหลมมลายู หรืออ้อมแหลมไปยังกัมพูชา และจัมปา จีน

 

สำหรับเส้นทางทั้ง 2 สายนั้นมีเส้นทางแยกไปอีกคือ ขึ้นที่ตักโกละบ้าง ที่ตรังบ้าง ตรงมายังสุวรรณภูมิก็มี บางรายไปอ่าวบ้านดอนต่อไปยังฟูนันก็มี บางรายออกจากจังหวัดตรังไปยังนครศรีธรรมราช สรุปว่ามีชาวอินเดียมาตั้งหลักแหล่งเริ่มตั้งแต่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ลงไปจนสุดแหลมมลายู ส่วนเส้นทางสายที่สามเป็นที่นิยมกันมากมาแต่ครั้งโบราณแล้ว ชาวอินเดียที่ไปตั้งอาณานิคมอยู่ทางตะวันออก เช่น ชวา มลายู และจาม เป็นต้น ไม่นิยมเดินทางบก เพราะมีอันตรายขนส่งสินค้าลำบากเมื่อทำการค้า อีกทั้งชาวอินเดียมีความรู้ทางทะเลและฤดูมรสุมจึงสามารถเดินเรือได้เป็นอย่างดี ในย่านเหล่านี้เมื่อพระเถระทั้งสองได้แก่ พระโสนะ พระอุตตระ โดยพระเจ้าอโศกส่งมาประกาศพุทธศาสนา จึงเป็นไปด้วยความสะดวก เพราะมีคนอินเดียมาตั้งหลักแหล่งอยู่กันมาก และใช้ภาษาเดียวกัน หรือมีล่ามชาวอินเดียช่วยเหลืออีกทีหนึ่ง

ส่วนใหญ่คงใช้ทางน้ำ แม้ท่านฟาเหียน (ภิกษุชาวจีน) ได้ออกเดินทางจากเมืองเชียงอัน ผ่านตอนกลางประเทศจีนลงสู่แคชเมียร์ คันธาระ เที่ยวศึกษาอยู่ในอินเดียแล้วเลยไปลังกา จากลังกาก็กลับเมืองจีน โดยผ่านอ่างเบงคอลไปยังหมู่เกาะชวาแล้วจึงเดินทางต่อไปเมืองจีน (ใช้เวลา 15 ปี) ต่อมาท่านอี้จิงก็อาศัยการเดินทางเรือเส้นทางนี้เช่นเดียวกัน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย