ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม

การเดินทางของพุทธศาสนาสู่ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในประเทศไทย
เส้นทางติดต่อระหว่างอินเดียกับสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ
พุทธศาสนาสมัยฟูนัน
พุทธศาสนาสมัยทวาราวดี
พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัย
พุทธศาสนาสมัยลพบุรี
พุทธศาสนาสมัยลานนา
พุทธศาสนาลังกาวงศ์สู่ลานนา
พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย
การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทกับพุทธศาสนา
พุทธศาสนาสมัยอยุธยา
พุทธศาสนาสมัยธนบุรี
พุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์

พุทธศาสนาสมัยสุโขทัย

สมัยสุโขทัยมีทั้งนิกาย 2 นิกายคือ เถรวาท และมหายาน ส่วนใหญ่นับถือเถรวาท มีกษัตริย์คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือโรจนราช เป็นกษัตริย์ปกครองทรงเลื่อมใสนิกายเถรวาท ในยุคนี้มีวัดที่สำคัญคือ วัดมหาธาตุ เจดีย์ที่สำคัญเป็นแบบพุ่มข้าวบิณฑ์เจดีย์ทรงแบบนี้มีเฉพาะที่อาณาจักรสุโขทัยเท่านั้น คือ มีในจังหวัดสุโขทัย กำแพงเพชร ตาก ยังมีเมืองที่สำคัญอยู่ทางเหนือ ห่างประมาณ 60 กิโลเมตร คือ ศรีสัชนาลัย โบราณสถานคล้ายคลึงกับสุโขทัย เช่น วัดเจดีย์ 7 แถว เป็นสถูปแบบพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นเมืองอุปราชของสุโขทัย ในด้านศาสนาวัฒนธรรมและศิลปกรรมสมัยนี้ซึ่งมีความแตกต่างจามสมัยขอมปกครองคือ

1. สมัยนี้เลิกนับถือนิกายมหายาน ส่วนใหญ่นับถือเถรวาทแบบลังกาวงศ์ สมมัยขอมปกครองนั้นมหายานรุ่งเรืองมาก

2. ระบบการปกครองของขอม พระเจ้าแผ่นดินเป็นแบบเทพาวตาร คือ เทพเจ้าอวตารลงมา(แบบลัทธิพราหมณ์) พระเจ้าแผ่นดินจึงเหินห่างประชาชน ส่วนสมัยสุโขทัยนั้นใช้ระบอบพ่อปกครองลูก กษัตริย์จึงใกล้ชิดประชาชนมาก กษัตริย์ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิสูตรต่อประชาชน ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการปกครองมาก

3. ศิลาจารึกของขอม เริ่มด้วยการสดุดีพระเจ้าแล้วพูดถึงเกียรติคุณของกษัตริย์ ลงท้ายด้วยการสาปแช่ง ส่วนจารึกของไทยสมัยสุโขทัยจะพูดถึงเหตุการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจและสังคม ไม่มีการสาปแช่งสังคม อันเป็นผลมาจากการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยสมมัยสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียง 50 ปีเท่านั้น คนทั้งหลายเบื่อการปกครองแบบขอมที่ผลักภาระอันหนักให้แก่ประชาชน ด้วยการเก็บภาษีอย่างแรง และเกณฑ์คนไปสร้างปราสาทหินอันมหึมาเพื่ออวดศักดาของผู้ปกครอง คนทั้งหลายจึงพอใจอ้อนน้อมต่อสุโขทัยซึ่งปกครองโดยธรรม

 

พุทธศิลป์

1. เจดีย์แบบพุ่มข้าวบิณฑ์และแบบจอมแห ซึ่งเป็นแบบของไทยแท้ๆ เช่น เจดีย์วัดช้างล้อมเมืองศรีสัชนาลัย เป็นศิลปแบบสุโขทัย

2. พระพุทธรูปหล่อเป็นองค์ใหญ่ไว้มาก เช่น พระศรีศากยมุนีซึ่งอยู่ในวิหารวัดสุทัศเทพวราราม กรุงเทพฯ หน้าตักกว้าง 3 วาเศษ มีพระยืนสูง 18 ศอก เรียกพระอัฏฐารสที่วัดมหาธาตุสุโขทัย และบนเขาตะพานหิน นอกเมืองสุโขทัย และวัดสระเกศ กรุงเทพฯ เดิมอยู่ที่เมืองพิษณุโลก รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดอัญเชิญมาไว้ที่วัดสระเกศ เป็นพระพุทธรูปทองคำทั้งองค์

3. คณะสงฆ์ในสมัยนี้ สุโขทัยตอนต้นแบ่งเป็น 2 พวกคือ คณะสงฆ์มอญจากอาณาจักรทวาราวดี และคณะสงฆ์ที่สืบเนื่องมาจากสมัยลพบุรี มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้นิมนต์พระลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมายังสุโขทัย และกลายเป็นคณะใหญ่ได้รับความเลื่อมใสมาก ทั้งผู้สูงศักดิ์และราษฎรสามัญ พระลังกาวงศ์นี้นิยมอยู่ป่า พ่อขุนรามคำแหงจึงสร้างวัดถวายให้อยู่ในป่า เรียกคณะอรัญวาสี ส่วนพระในเมืองเรียกคามวาสี เช่น วัดป่ามะม่วง วัดสะพานหิน วัดเขาพระบาทน้อย เป็นต้น

ต่อมาพ่อขุนรามคำแหง ได้ส่งภิกษุสงฆ์ชาวไทยไปศึกษาเล่าเรียนในลังกา เมื่อบวชใหม่ที่ลังกาแล้วกลับมาก็ตั้งหลักอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช และชวนภิกษุชาวลังกามาอยู่ด้วย ช่วยกันสร้างพระมหาธาตุที่นครศรีธรรมราช เมื่อลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเจริญ จึงทำให้ลัทธิมหายานเสื่อมสูญไป หรือไว้แต่ลัทธิเถรวาทต่อแต่นั้นมา ส่วนการบรรพชาอุปสมบท พระคณะสงฆ์เดิม นิยมว่าคำอุปสมบทเป็นภาษาสันสฤต ส่วนพระสงฆ์คณะใหม่ที่สืบเนื่องมาจากลังกาวงศ์นิยมว่าภาษาบาลีหรือมคธ แต่ทั้ง 2 คณะเป็นเถรวาทด้วยกัน มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงทั้ง 2 ฝ่ายจึงประนีประนอมเข้าด้วยกัน โดยการขอบรรพชาอุปสมบทก็ให้รับไตรสรณคมน์ 2 ครั้ง ว่าเป็นภาษามคธครั้งหนึ่งและสันสกฤตครั้งหนึ่ง คือ “พุทธํ สรณํ คจฉามิ” เป็นภาษาบาลี “พุทธมฺ สรณมฺ คจฺฉามิ” เป็นภาษาสันสกฤต สันสกฤตนั้นมาเลิกรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี่เอง และคงว่าภาษาบาลีอย่างเดียว

อีกอย่างหนึ่ง วัดหลวงตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มักทำใบสีมา 2 แผ่นซ้อนกัน ถ้าเป็นวัดราษฎ์ทำใบสีมาใบเดียว สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิฐานว่า “เดิมคงใช้สีมาแผ่นเดียวกันหมด เมื่อพระสงฆ์ลังกาวงศ์เข้ามายังไทย ตั้งข้อรังเกียจสีมาที่พระไทยผูกไว้ ไม่ยอมทำสังฆกรรมร่วม พระเจ้าแผ่นดินจึงให้พระลังกาวงศ์ผูกสีมาบรรดาวัดหลวงซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็น 2 ใบซ้อนกัน

พระสงฆ์ตอนนั้นแตกเป็น 2 พวก คือพวกที่พอใจในการศึกษาพระปริยัติธรรม เล่าเรียนพระไตรปิฎกมักอาศัยในเมือง เรียก “คามวาสี” ธุระที่ทำส่วนใหญ่เป็นการศึกษาคัมภีร์ (คันถะ) เรียกว่า พระพวกคันถธุระ อีกพวกหนึ่ง พอใจในการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนามักอาศัยอยู่ในเสนาสนะป่าอันสงบสงัด เรียก “อรัญวาสี” ธุระที่ทำส่วนใหญ่เป็นสมถะและวิปัสสนา และทั้ง 2 พวกนี้ก็เป็นเถรวาท พระสงฆ์แบบลังกาวงศ์ที่ตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัยนั้นได้เกิดผลสะท้อนในทางการศึกษาเป็นอย่างมากมาย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย