ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ทุกขสัจ-ทุกขทุกข์
วิธีกำหนดรู้ทุกขสัจจะ
และยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็หัดปฏิบัติทำความกำหนดรู้ในทุกขสัจจะสภาพที่จริงคือทุกข์
วิธีพิจารณาทำความกำหนดรู้ในทุกขสัจจะข้อนี้ ได้ตรัสแสดงไว้โดยสรุปเป็น 3 ลักษณะ
คือพิจารณากำหนดให้รู้จัก ทุกขทุกขะ ทุกข์โดยความเป็นทุกข์ สังขารทุกขะ
ทุกข์โดยความเป็นสังขาร วิปรินามทุกขะ ทุกข์โดยความแปรปรวนเปลี่ยนแปลง
ข้อแรกพิจารณากำหนดรู้ทุกขทุกขะ คือทุกข์โดยความเป็นทุกข์ต่างๆ
ดังเช่นที่ได้ตรัสอธิบายไว้ในข้อทุกข์อริยสัจจ์ว่า ความเกิดเป็นทุกข์
ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความโศกคือความแห้งใจ
ความปริเทวะรัญจวนคร่ำครวญใจ ทุกขะความไม่สบายกาย โทมนัสสะความไม่สบายใจ
อุปายาสะความคับแค้นใจ เป็นทุกข์แต่ละอย่าง
ความประจวบกับด้วยสัตว์และสังขารทั้งหลายซึ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์
ปรารถนาไม่ได้สมหวังเป็นทุกข์
กล่าวโดยย่อขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง 5 เป็นทุกข์ ดั่งนี้
คือพิจารณากำหนดให้รู้จักทุกข์แต่ละข้อดังที่กล่าวมานี้
และการพิจารณานั้นก็พิจารณาที่ตนเองนี้เอง เพราะทุกข้อมีอยู่ที่ตนเองทั้งนั้น
ความเกิด ความแก่ ความตาย ก็อยู่ที่ตนเอง ความโศกเป็นต้น ก็อยู่ที่ตนเอง
ความประจวบความพลัดพรากก็อยู่ที่ตนเอง ปรารถนาไม่ได้สมหวังก็อยู่ที่ตนเอง
โดยย่อขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง 5 ประการก็อยู่ที่ตนเอง
จึงอาจกำหนดพิจารณาให้รู้เห็นได้
แม้ตามสัญญาคือความจำหมาย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้
ก็พิจารณาไปตามที่พระองค์ได้ทรงชี้บอก ชาติเป็นทุกข์อย่างไร ชราเป็นทุกข์อย่างไร
มรณะเป็นทุกข์อย่างไร เพราะทุกคนต่างก็มีชาติคือความเกิดมา
และก็มีความแก่มาโดยลำดับ แล้วก็จะต้องมีมรณะคือความตายในที่สุดเหมือนกันหมด
และจะต้องพบกับความโศกเป็นต้น ต้องพบกับความประจวบและความพลัดพราก
จะต้องพบกับความปรารถนาไม่สมหวัง และทุกคนก็มีขันธ์ 5 คือรูปขันธ์กองรูป
เวทนาขันธ์กองเวทนา สัญญาขันธ์กองสัญญา สังขารขันธ์กองสังขารคือความคิดปรุง
หรือปรุงคิดต่างๆ วิญญาณขันธ์กองวิญญาณคือความรู้ที่เป็นการเห็นการได้ยินเป็นต้น
ทางอายตนะนี้ด้วยกัน
พระญาณ 3
พุทธศาสนาสอนให้พ้นทุกข์
ความสุขในชั้นกรรม
วิธีกำหนดรู้ทุกขสัจจะ
ข้อว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์โดยย่อ